นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมขนส่งทางบกได้ประสานให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่นำรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์รับจ้างมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารแบบรถแท็กซี่ ภายหลังจากได้ออกประกาศเตือนให้ผู้บริการรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ (อูเบอร์แท็กซี่) ที่นำรถยนต์ป้ายเขียว และรถยนต์ส่วนบุคคลป้ายดำ มาให้บริการและคิดค่าโดยสารไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ฐานใช้รถยนต์ผิดประเภท และยังผิดฐานไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด ตลอดจนผู้ขับรถประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่มีใบขับขี่สาธารณะ และไม่เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ประวัติผู้ขับรถสาธารณะ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มณฑลทหารบกที่ 11 และกรมการขนส่งทางบก ได้ร่วมกันตรวจสอบการให้บริการแท็กซี่ที่ผิดกฎหมายไปแล้ว และหากตรวจพบมีโทษเปรียบเทียบปรับสูงสุด ได้แก่ ความผิดฐานใช้รถผิดประเภท โทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด โทษปรับสูงสุด 1,000 บาท และไม่มีใบขับขี่รถสาธารณะ ปรับสูงสุด 1,000 บาท และยังให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาในทางเดียวกัน
ขณะเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถแท็กซี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาจูงใจต่างๆ เพราะหากคำนวณค่าโดยสารแล้วพบว่ามีการแฝงค่าใช้จ่ายต่อระยะทางและเวลา รวมทั้งการประกันค่าโดยสารขั้นต่ำ ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่สูงกว่ารถแท็กซี่มิเตอร์ทั่วไป ที่สำคัญผู้โดยสารยังอาจไม่ได้รับความปลอดภัยด้วย เนื่องจากรถเหล่านี้ไม่มีฐานข้อมูลในการตรวจสอบรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก หากประชาชนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มณฑลทหารบกที่ 11 และกรมการขนส่งทางบก ได้ร่วมกันตรวจสอบการให้บริการแท็กซี่ที่ผิดกฎหมายไปแล้ว และหากตรวจพบมีโทษเปรียบเทียบปรับสูงสุด ได้แก่ ความผิดฐานใช้รถผิดประเภท โทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด โทษปรับสูงสุด 1,000 บาท และไม่มีใบขับขี่รถสาธารณะ ปรับสูงสุด 1,000 บาท และยังให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาในทางเดียวกัน
ขณะเดียวกัน กรมการขนส่งทางบกจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถแท็กซี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาจูงใจต่างๆ เพราะหากคำนวณค่าโดยสารแล้วพบว่ามีการแฝงค่าใช้จ่ายต่อระยะทางและเวลา รวมทั้งการประกันค่าโดยสารขั้นต่ำ ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่สูงกว่ารถแท็กซี่มิเตอร์ทั่วไป ที่สำคัญผู้โดยสารยังอาจไม่ได้รับความปลอดภัยด้วย เนื่องจากรถเหล่านี้ไม่มีฐานข้อมูลในการตรวจสอบรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก หากประชาชนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง