อัตราเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นรอบไตรมาสสาม ปีนี้ ซึ่งเปิดเผยออกมาในวันจันทร์ (17 พ.ย.) อยู่ในอาการเข้าสู่ภาวะถดถอย สืบเนื่องจากผลกระทบรุนแรงเกินคาดของมาตรการขึ้นภาษีการขายเมื่อตอนต้นปี ทำให้เล็งกันอย่างกว้างขวางว่า สภาวการณ์เช่นนี้จะกดดันให้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แทบไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากชะลอการขึ้นภาษีรอบใหม่ และประกาศจัดเลือกตั้งก่อนกำหนดขึ้นในกลางเดือนหน้า เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบขณะที่พรรคฝ่ายค้านยังคงอ่อนแอ
ตลอดช่วง 2 ปีที่เข้าบริหารประเทศรอบนี้ นายกรัฐมนตรีอาเบะ เน้นหนักไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่มานานปีของประเทศ และกำลังพยายามแก้ปัญหาหนี้สินภาคสาธารณะพุ่งโด่ง ด้วยการหารายได้ใหม่ๆ จากการขึ้นภาษี
แต่ปรากฏว่า การประกาศขึ้นภาษีการขาย (sales taxes พอจะเทียบเคียงได้กับภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย) ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายฉับพลัน และคะแนนนิยมในตัวอาเบะก็ตกฮวบ ขณะที่เขาต้องใช้ต้นทุนทางการเมือง ทั้งเพื่อพยายามผลักดันให้แดนอาทิตย์อุทัยเริ่มเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ทั้งหลายขึ้นมาใหม่ และเพื่อเพิ่มบทบาททางทหารของญี่ปุ่น
นักวิจารณ์บางคนยังระบุว่า อาเบะล้มเหลวในการทำตามสัญญาที่จะผลักดันการปฏิรูปกฎระเบียบด้านแรงงาน ระบบภาษี และอุตสาหกรรมสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อันยั่งยืนระยะยาวสำหรับเศรษฐกิจ ส่วนพวกบริษัทต่างๆ ก็ไม่แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากตลาดหุ้นและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ นี้ ให้แก่พนักงานด้วยการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ตามข้อมูลเศรษฐกิจที่รัฐบาลญี่ปุ่นเผยแพร่ในวันจันทร์ (17) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ปีนี้ (ก.ค.-ก.ย.2014) หดตัวลงจากไตรมาสก่อน 0.4% หรือคิดเป็นอัตราต่อปีเท่ากับลดลง 1.6% ย่ำแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยของตลาดที่มองว่า จีดีพีจะขยับขึ้น 0.5 % อีกทั้งยิ่งตอกย้ำว่า การขึ้นภาษีเมื่อต้นปีทำให้แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เรียกว่า “อาเบะโนมิกส์” อยู่ในอาการสะดุด
ความตกต่ำถดถอยไตรมาสนี้ กระจายทั่วถึงทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านที่อยู่อาศัย, การใช้จ่ายเงินทุน, การใช้จ่ายของผู้บริโภค, กระทั่งตัวเลขแดนบวกในภาคส่งออกก็ไม่สามารถชดเชยได้
ตลอดช่วง 2 ปีที่เข้าบริหารประเทศรอบนี้ นายกรัฐมนตรีอาเบะ เน้นหนักไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่มานานปีของประเทศ และกำลังพยายามแก้ปัญหาหนี้สินภาคสาธารณะพุ่งโด่ง ด้วยการหารายได้ใหม่ๆ จากการขึ้นภาษี
แต่ปรากฏว่า การประกาศขึ้นภาษีการขาย (sales taxes พอจะเทียบเคียงได้กับภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย) ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายฉับพลัน และคะแนนนิยมในตัวอาเบะก็ตกฮวบ ขณะที่เขาต้องใช้ต้นทุนทางการเมือง ทั้งเพื่อพยายามผลักดันให้แดนอาทิตย์อุทัยเริ่มเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ทั้งหลายขึ้นมาใหม่ และเพื่อเพิ่มบทบาททางทหารของญี่ปุ่น
นักวิจารณ์บางคนยังระบุว่า อาเบะล้มเหลวในการทำตามสัญญาที่จะผลักดันการปฏิรูปกฎระเบียบด้านแรงงาน ระบบภาษี และอุตสาหกรรมสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อันยั่งยืนระยะยาวสำหรับเศรษฐกิจ ส่วนพวกบริษัทต่างๆ ก็ไม่แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากตลาดหุ้นและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ นี้ ให้แก่พนักงานด้วยการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ตามข้อมูลเศรษฐกิจที่รัฐบาลญี่ปุ่นเผยแพร่ในวันจันทร์ (17) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ปีนี้ (ก.ค.-ก.ย.2014) หดตัวลงจากไตรมาสก่อน 0.4% หรือคิดเป็นอัตราต่อปีเท่ากับลดลง 1.6% ย่ำแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยของตลาดที่มองว่า จีดีพีจะขยับขึ้น 0.5 % อีกทั้งยิ่งตอกย้ำว่า การขึ้นภาษีเมื่อต้นปีทำให้แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เรียกว่า “อาเบะโนมิกส์” อยู่ในอาการสะดุด
ความตกต่ำถดถอยไตรมาสนี้ กระจายทั่วถึงทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านที่อยู่อาศัย, การใช้จ่ายเงินทุน, การใช้จ่ายของผู้บริโภค, กระทั่งตัวเลขแดนบวกในภาคส่งออกก็ไม่สามารถชดเชยได้