นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยผลการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 816 ราย จาก 12 จังหวัด ถึงโค้งสุดท้ายเศรษฐกิจการเมืองไทย ในสายตาเอสเอ็มอี พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.1 เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 แย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ และในไตรมาสที่ 4 ยังจะใกล้เคียงกับกับในไตรมาสที่ 3 แสดงให้เห็นว่ายังกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบการร้อยละ 13.2 ระบุว่าจะพบกับการขาดทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ส่วนปีหน้าผู้ประกอบการเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.2 ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะดีขึ้น โดยจะมีอัตราขยายตัวประมาณร้อยละ 3.28
ส่วนแผนการใช้จ่ายในปีหน้า เห็นว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีแนวทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจนทั้งด้านการลงทุน การตลาดและด้านบุคคลากร โดยจะเน้นการทำตลาดโดยใช้อี-มาร์เก็ตติ้ง (E-Marketing) เพื่อการหาลูกค้าทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับการให้บริการลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมในการทำธุรกิจในประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะความพร้อมภาษา พันธมิตรในภูมิภาค แหล่งทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการส่งออกนำเข้า ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว
โดยการประเมินผลการทำงานของรัฐบาล ผู้ประกอบการให้คะแนนรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ 8.2 คะแนน ด้านการเมือง 8.1 คะแนน ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม 7.0 คะแนน โดยสิ่งที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลในระยะเร่งด่วน คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้กำลังซื้อของประชาชนกลับมาโดยเร็ว
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1.5 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงกลางปีว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3 เนื่องจากเม็ดเงินรัฐบาลที่ลงมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังไม่สามารถทำให้ระมัดระวังการจับจ่าย รวมทั้งยอดการส่งออกยังไม่ขยายตัวอย่างที่คาดการณ์ไว้ จากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่วนในปีหน้า หากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบการลงทุนของภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ รวมถึงเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวขึ้น มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทย จะขยายตัวได้ร้อยละ 4 – 5
ส่วนแผนการใช้จ่ายในปีหน้า เห็นว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีแนวทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจนทั้งด้านการลงทุน การตลาดและด้านบุคคลากร โดยจะเน้นการทำตลาดโดยใช้อี-มาร์เก็ตติ้ง (E-Marketing) เพื่อการหาลูกค้าทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับการให้บริการลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมในการทำธุรกิจในประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะความพร้อมภาษา พันธมิตรในภูมิภาค แหล่งทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการส่งออกนำเข้า ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว
โดยการประเมินผลการทำงานของรัฐบาล ผู้ประกอบการให้คะแนนรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ 8.2 คะแนน ด้านการเมือง 8.1 คะแนน ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม 7.0 คะแนน โดยสิ่งที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลในระยะเร่งด่วน คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้กำลังซื้อของประชาชนกลับมาโดยเร็ว
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1.5 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงกลางปีว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3 เนื่องจากเม็ดเงินรัฐบาลที่ลงมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังไม่สามารถทำให้ระมัดระวังการจับจ่าย รวมทั้งยอดการส่งออกยังไม่ขยายตัวอย่างที่คาดการณ์ไว้ จากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่วนในปีหน้า หากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบการลงทุนของภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ รวมถึงเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวขึ้น มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทย จะขยายตัวได้ร้อยละ 4 – 5