ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณาอนุญาต และแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนน โดยมีนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท รักษาราชการรองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสรุปปัญหาที่เกิดจากจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งจัดทำแผนมาสเตอร์แพลนอย่างเร่งด่วน เพื่อเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ เพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง โดยจากการสำรวจพบว่าทั่วประเทศไทยมีจุดตัดรถไฟประมาณ 2,500 แห่ง พบว่าจุดตัดทางรถไฟในไทยยังมีความปลอดภัยที่ไม่สมบูรณ์
สำหรับจุดตัดที่อยู่ในความดูแลของของกรมทางหลวงชนบท 152 แห่ง โดยดำเนินการเป็นทางข้าม 10 แห่ง ยกระดับ 26 แห่ง สะพาน 23 แห่ง ทางลอด 3 แห่ง ในส่วนของกรมทางหลวง 83 แห่ง โดยดำเนินการเป็นสะพาน 74 แห่ง ทางลอด 1 แห่ง และจุดกลับรถเกือกม้า 1 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงาน มีแนวคิดที่จะทำสะพานข้ามทางรถไฟโดยพิจารณาจากจุดที่มีปริมาณรถผ่านเป็นจำนวนมากก่อนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนจุดตัดที่เป็นเส้นทางลัดผ่าน ปัจจุบันมีประมาณ 584 แห่ง ที่ยังไม่มีเครื่องกั้นสัญญาณไฟแจ้งเตือนที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ในส่วนของจุดตัดที่เป็นเส้นทางที่จะก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ในอนาคต จากการสำรวจพบว่ามีกว่า 100 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมา สนข.มีแผนการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟที่เป็นเส้นทางลัด เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานและความปลอดภัยต่อผู้สัญจร
นายสฤษฏ์พงษ์ บริบูรณ์สุข ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือสนข.กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องปรับปรุงพื้นที่จุดตัดผ่านระหว่างทางรถไฟกับถนนให้มีความปลอดภัยมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งอาณัติสัญญาณ ลูกระนาดหรือเครื่องกั้น เนื่องจากในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นประมาณ 100 ครั้งต่อปีและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
โดยภายหลังจากการหารือได้ข้อสรุปมา 2 ประเด็นได้แก่ 1) ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมทางหลวง(ทล.)และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) จัดทำแผนในการแก้ปัญหาจุดตัดผ่านระหว่างทางรถไฟและถนนที่มีอยู่ประมาณ 2,500 จุดทั่วประเทศ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งในจำนวนมีจุดตัดผ่านที่มีปัญหากว่า 500 จุด และนำมาเสนอให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งทาง ทล.และ ทช.ได้มีการจัดทำแผนแล้ว แต่ยังเหลือในส่วนของ ร.ฟ.ท.ที่ยังต้องทำการศึกษาและจัดทำแผนงาน โดยคาดว่า ภายในสัปดาห์หน้า ร.ฟ.ท.จะนำมาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณาขออนุญาตและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟและถนน พร้อมกับทาง ทล. ที่ต้องจัดทำแผนงานเพิ่มเติมตามมติที่ประชุม
2) กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาขออนุญาตและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟและถนนให้พิจารณาโครงการแก้ไขปัญหาจุดตัดระหว่างทางรถไฟและถนนที่อยู่นอกเหนืออำนาจการตัดสินใจของร.ฟ.ท. ซึ่งขณะนี้มี 5 จังหวัดได้ทำการร้องขอให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แก่ ลำปาง ราชบุรี สมุทรสาคร พิษณุโลกและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในประชุมได้มอบหมายให้ทางร.ฟ.ท.กลับไปศึกษาและนำกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาในอีก 1 เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ เพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง โดยจากการสำรวจพบว่าทั่วประเทศไทยมีจุดตัดรถไฟประมาณ 2,500 แห่ง พบว่าจุดตัดทางรถไฟในไทยยังมีความปลอดภัยที่ไม่สมบูรณ์
สำหรับจุดตัดที่อยู่ในความดูแลของของกรมทางหลวงชนบท 152 แห่ง โดยดำเนินการเป็นทางข้าม 10 แห่ง ยกระดับ 26 แห่ง สะพาน 23 แห่ง ทางลอด 3 แห่ง ในส่วนของกรมทางหลวง 83 แห่ง โดยดำเนินการเป็นสะพาน 74 แห่ง ทางลอด 1 แห่ง และจุดกลับรถเกือกม้า 1 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงาน มีแนวคิดที่จะทำสะพานข้ามทางรถไฟโดยพิจารณาจากจุดที่มีปริมาณรถผ่านเป็นจำนวนมากก่อนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนจุดตัดที่เป็นเส้นทางลัดผ่าน ปัจจุบันมีประมาณ 584 แห่ง ที่ยังไม่มีเครื่องกั้นสัญญาณไฟแจ้งเตือนที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ในส่วนของจุดตัดที่เป็นเส้นทางที่จะก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ในอนาคต จากการสำรวจพบว่ามีกว่า 100 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมา สนข.มีแผนการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟที่เป็นเส้นทางลัด เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานและความปลอดภัยต่อผู้สัญจร
นายสฤษฏ์พงษ์ บริบูรณ์สุข ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือสนข.กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องปรับปรุงพื้นที่จุดตัดผ่านระหว่างทางรถไฟกับถนนให้มีความปลอดภัยมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งอาณัติสัญญาณ ลูกระนาดหรือเครื่องกั้น เนื่องจากในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นประมาณ 100 ครั้งต่อปีและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
โดยภายหลังจากการหารือได้ข้อสรุปมา 2 ประเด็นได้แก่ 1) ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมทางหลวง(ทล.)และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) จัดทำแผนในการแก้ปัญหาจุดตัดผ่านระหว่างทางรถไฟและถนนที่มีอยู่ประมาณ 2,500 จุดทั่วประเทศ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งในจำนวนมีจุดตัดผ่านที่มีปัญหากว่า 500 จุด และนำมาเสนอให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งทาง ทล.และ ทช.ได้มีการจัดทำแผนแล้ว แต่ยังเหลือในส่วนของ ร.ฟ.ท.ที่ยังต้องทำการศึกษาและจัดทำแผนงาน โดยคาดว่า ภายในสัปดาห์หน้า ร.ฟ.ท.จะนำมาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณาขออนุญาตและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟและถนน พร้อมกับทาง ทล. ที่ต้องจัดทำแผนงานเพิ่มเติมตามมติที่ประชุม
2) กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาขออนุญาตและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟและถนนให้พิจารณาโครงการแก้ไขปัญหาจุดตัดระหว่างทางรถไฟและถนนที่อยู่นอกเหนืออำนาจการตัดสินใจของร.ฟ.ท. ซึ่งขณะนี้มี 5 จังหวัดได้ทำการร้องขอให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แก่ ลำปาง ราชบุรี สมุทรสาคร พิษณุโลกและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในประชุมได้มอบหมายให้ทางร.ฟ.ท.กลับไปศึกษาและนำกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาในอีก 1 เดือนข้างหน้า