พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ คืนความสุข ให้คนในชาติ ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์นี้ กระทรวงคมนาคมได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ 8ปี ต่อ คณะรัฐมนตรี ซึ่งแบ่งเป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งหมด 5 ด้าน ส่วนจะทำเมื่อไร อย่างไร ก็ว่ากันอีกครั้ง โดยทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง จะมีการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ที่จะแยกเป็นโครงการระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวม 903 กม. คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2561 และโครงการระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560อีก 8เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวม 1,626กม.
นอกจากนี้ จะพัฒนาทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1.435เมตร อีก 3 เส้นทาง ที่เน้นการขนส่งเชื่อมโยงไปยังเขตอุตสาหกรรมและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา - มาบตาพุด, กรุงเทพฯ - ระยอง และ นครราชสีมา - หนองคาย คิดเป็นระยะทาง 705 กม. นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในพื้นที่ โดยระยะแรก จะเร่งรัดก่อสร้างใน 4 สาย ได้แก่ สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ จะรีบดำเนินการให้เสร็จก่อนปี 2560 สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต จะเร่งให้แล้วเสร็จในปี 2562 และสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ให้เสร็จในปี 2563 อีกทั้งจะเร่งกระบวนการประกวดราคา และศึกษารายละเอียดอีก 7 เส้นทางเพิ่มเติม โดยจะพยายามเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2564เพื่อช่วยให้การเดินทางของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตปริมณฑลให้สะดวกมากขึ้น
2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร โดยจะพัฒนาให้เชื่อมโยงไปทุกภูมิภาค และเชื่อมต่อไปยังจุดผ่านแดนต่างๆ ทั้งนี้ จะเร่งให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2560
3.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ การพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ให้รองรับเรือได้มากขึ้น และจะพัฒนาให้เป็น "ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ" โดยจะเริ่มดำเนินการในปีหน้าและจะให้แล้วเสร็จในปี 2560 นอกจากนี้ รัฐบาลจะเร่งดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ โดยจะพัฒนาตลิ่งและร่องน้ำในเขตแม่น้ำป่าสัก ให้สามารถขนส่งสินค้าทางเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การพัฒนาการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางอากาศ จะพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิให้มีพื้นที่ Terminal ลานจอดเครื่องบิน และอุโมงค์เชื่อมต่อ ทางวิ่งสำรองและอาคารจอดรถที่พักผู้โดยสารเพิ่มเติม ซึ่งจะดำเนินการในปี 2558 นี้ รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ โดยการสร้างหลุมจอดเครื่องบินเพิ่มอีก 15 หลุม ซึ่งจะให้แล้วเสร็จในปีหน้า และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมที่มีแผนจะเริ่มดำเนินการในปีหน้าเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ จะพัฒนาทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1.435เมตร อีก 3 เส้นทาง ที่เน้นการขนส่งเชื่อมโยงไปยังเขตอุตสาหกรรมและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา - มาบตาพุด, กรุงเทพฯ - ระยอง และ นครราชสีมา - หนองคาย คิดเป็นระยะทาง 705 กม. นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในพื้นที่ โดยระยะแรก จะเร่งรัดก่อสร้างใน 4 สาย ได้แก่ สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ จะรีบดำเนินการให้เสร็จก่อนปี 2560 สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต จะเร่งให้แล้วเสร็จในปี 2562 และสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ให้เสร็จในปี 2563 อีกทั้งจะเร่งกระบวนการประกวดราคา และศึกษารายละเอียดอีก 7 เส้นทางเพิ่มเติม โดยจะพยายามเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2564เพื่อช่วยให้การเดินทางของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตปริมณฑลให้สะดวกมากขึ้น
2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร โดยจะพัฒนาให้เชื่อมโยงไปทุกภูมิภาค และเชื่อมต่อไปยังจุดผ่านแดนต่างๆ ทั้งนี้ จะเร่งให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2560
3.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ การพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ให้รองรับเรือได้มากขึ้น และจะพัฒนาให้เป็น "ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ" โดยจะเริ่มดำเนินการในปีหน้าและจะให้แล้วเสร็จในปี 2560 นอกจากนี้ รัฐบาลจะเร่งดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ โดยจะพัฒนาตลิ่งและร่องน้ำในเขตแม่น้ำป่าสัก ให้สามารถขนส่งสินค้าทางเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การพัฒนาการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางอากาศ จะพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิให้มีพื้นที่ Terminal ลานจอดเครื่องบิน และอุโมงค์เชื่อมต่อ ทางวิ่งสำรองและอาคารจอดรถที่พักผู้โดยสารเพิ่มเติม ซึ่งจะดำเนินการในปี 2558 นี้ รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ โดยการสร้างหลุมจอดเครื่องบินเพิ่มอีก 15 หลุม ซึ่งจะให้แล้วเสร็จในปีหน้า และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมที่มีแผนจะเริ่มดำเนินการในปีหน้าเช่นเดียวกัน