นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผยว่า ตามที่ กปน. ได้มีการเฝ้าระวังและประสานงานกับกรมชลประทานเพื่อติดตามข้อมูลปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลัก (ด้านคลองประปาฝั่งตะวันออก) ในการนำน้ำดิบมาผลิตน้ำประปาของ กปน. มาอย่างต่อเนื่อง โดยปกติแล้ว ปริมาณน้ำใช้การได้ของทั้ง 2 เขื่อน ควรจะอยู่ที่ 13,800 ล้าน ลบ.ม. หรือ 60% จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่จากการติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ มีอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างวิกฤติมาโดยตลอด ซึ่ง ณ ปัจจุบันพบว่าทั้ง 2 เขื่อนมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันต่ำกว่าเกณฑ์การเฝ้าระวังภัยแล้งของ กปน. เหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา หากเกิดปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม
อย่างไรก็ตาม กปน. ได้เตรียมประสานงานกับกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น โดยนำบทเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มาเตรียมแผนป้องกันด้วยการบริหารจัดการ และในวันนี้ จึงเดินทางมาเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อติดตามและดูสภาพการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมทั้งหารือกับกรมชลประทาน ที่สำนักชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมร่วมกัน 3 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันแก้ไขวิกฤตน้ำแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าให้ผ่านพ้นไปให้ได้
อย่างไรก็ตาม จะให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา (อุปโภค-บริโภค) สำหรับ กปน. และการประปาส่วนภูมิภาค รวมทั้งเพื่อรักษาระบบนิเวศ (ผลักดันน้ำเค็ม) และเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ ได้ประกาศมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่งดทำนาปรังไปแล้ว ด้วยการสร้างงาน ฝึกอบรมอาชีพ เพื่อให้มีรายได้ชดเชยกับการงดทำนาดังกล่าว
ผู้ว่าการ กปน. ได้กล่าวอีกว่า การบริหารจัดการน้ำในภาวะหน้าแล้ง เป็นสิ่งที่ท้าทายทุกหน่วยงานด้านน้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ของเขื่อนมีน้อย ประกอบกับมีความต้องการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาค่อนข้างสูง ทำให้ปลายน้ำซึ่งต้องการปริมาณน้ำในการช่วยผลักดันน้ำเค็มและผลิตน้ำประปาอยู่ในภาวะเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า จะบริหารจัดการให้ดีที่สุด เพื่อผลิตน้ำประปาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ให้บริการทั้ง 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ แต่หากเกิดวิกฤตจริง ๆ ก็อาจจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำไหลอ่อนลง ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า กปน. จึงขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วน ช่วยกันใช้น้ำประปาอย่างประหยัด รู้คุณค่า และใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้เราทุกคนไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม กปน. ได้เตรียมประสานงานกับกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น โดยนำบทเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มาเตรียมแผนป้องกันด้วยการบริหารจัดการ และในวันนี้ จึงเดินทางมาเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อติดตามและดูสภาพการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมทั้งหารือกับกรมชลประทาน ที่สำนักชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมร่วมกัน 3 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันแก้ไขวิกฤตน้ำแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าให้ผ่านพ้นไปให้ได้
อย่างไรก็ตาม จะให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา (อุปโภค-บริโภค) สำหรับ กปน. และการประปาส่วนภูมิภาค รวมทั้งเพื่อรักษาระบบนิเวศ (ผลักดันน้ำเค็ม) และเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ ได้ประกาศมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่งดทำนาปรังไปแล้ว ด้วยการสร้างงาน ฝึกอบรมอาชีพ เพื่อให้มีรายได้ชดเชยกับการงดทำนาดังกล่าว
ผู้ว่าการ กปน. ได้กล่าวอีกว่า การบริหารจัดการน้ำในภาวะหน้าแล้ง เป็นสิ่งที่ท้าทายทุกหน่วยงานด้านน้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ของเขื่อนมีน้อย ประกอบกับมีความต้องการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาค่อนข้างสูง ทำให้ปลายน้ำซึ่งต้องการปริมาณน้ำในการช่วยผลักดันน้ำเค็มและผลิตน้ำประปาอยู่ในภาวะเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า จะบริหารจัดการให้ดีที่สุด เพื่อผลิตน้ำประปาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ให้บริการทั้ง 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ แต่หากเกิดวิกฤตจริง ๆ ก็อาจจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำไหลอ่อนลง ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า กปน. จึงขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วน ช่วยกันใช้น้ำประปาอย่างประหยัด รู้คุณค่า และใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้เราทุกคนไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต