นายเชาวรินทร์ กิ่งแก้ว รองผู้ว่าการ (ผลิตและส่งน้ำ) การประปานครหลวง (กปน.) ในฐานะประธานกรรมการศูนย์อำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ แจ้งว่า กปน.เกรงว่าภัยแล้งปีหน้า อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาได้ ดังนั้น เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ในวันนี้ (29 ต.ค.) กปน.จึงได้เปิดศูนย์ฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพหรือปริมาณการผลิต จะสามารถแก้ไขหรือแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบโดยทันที โดยศูนย์ฯ หลักตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการ โรงงานผลิตน้ำบางเขน กปน. สำนักงานใหญ่ ส่วนศูนย์ฯ สำรอง 1 ตั้งอยู่ที่อาคารระบบส่งและสูบจ่ายน้ำ โรงงานผลิตน้ำสามเสน 2 ถนนพระราม 6 และศูนย์ฯ สำรอง 2 ตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการ โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี
ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ให้ความสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา หรือการอุปโภค-บริโภค เป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม กปน.ได้เฝ้าระวังและติดตามข้อมูล ทั้งด้านปริมาณน้ำในแต่ละเขื่อน และอุทกวิทยา (น้ำขึ้นน้ำลง) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ อาทิ การสูบน้ำสำรองเก็บไว้ในคลองประปาให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถหยุดการสูบน้ำดิบเข้าคลองประปา ในช่วงที่ค่าความเค็มสูง และรอจนกว่าลิ่มความเค็มลดต่ำลง จึงจะทำการสูบน้ำดิบตามปกติ แต่หากเกิดวิกฤตจริงๆ กปน.อาจต้องลดกำลังการผลิตและลดการจ่ายน้ำในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำไหลอ่อนลงบ้าง ผู้ใช้น้ำจึงควรสำรองน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคประมาณ 1 วัน หรือสำหรับดื่มประมาณ 60 ลิตร
สำหรับภาคอุตสาหกรรม กปน.จะมีการประสานงานแจ้งเตือนล่วงหน้า เพื่อให้ปรับสภาพน้ำก่อนนำไปใช้งาน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการผลิต ดังนั้น กปน.จึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ช่วยกันใช้น้ำประปาอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพื่อให้เราทุกคนผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้ และไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ให้ความสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา หรือการอุปโภค-บริโภค เป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม กปน.ได้เฝ้าระวังและติดตามข้อมูล ทั้งด้านปริมาณน้ำในแต่ละเขื่อน และอุทกวิทยา (น้ำขึ้นน้ำลง) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ อาทิ การสูบน้ำสำรองเก็บไว้ในคลองประปาให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถหยุดการสูบน้ำดิบเข้าคลองประปา ในช่วงที่ค่าความเค็มสูง และรอจนกว่าลิ่มความเค็มลดต่ำลง จึงจะทำการสูบน้ำดิบตามปกติ แต่หากเกิดวิกฤตจริงๆ กปน.อาจต้องลดกำลังการผลิตและลดการจ่ายน้ำในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำไหลอ่อนลงบ้าง ผู้ใช้น้ำจึงควรสำรองน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคประมาณ 1 วัน หรือสำหรับดื่มประมาณ 60 ลิตร
สำหรับภาคอุตสาหกรรม กปน.จะมีการประสานงานแจ้งเตือนล่วงหน้า เพื่อให้ปรับสภาพน้ำก่อนนำไปใช้งาน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการผลิต ดังนั้น กปน.จึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ช่วยกันใช้น้ำประปาอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพื่อให้เราทุกคนผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้ และไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต