ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบ เห็นชอบ และอนุมัติ ตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการยางขององค์การสวนยาง
2. เห็นชอบการดำเนินงานตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง
3. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการตลอดระยะเวลาโครงการรวม จำนวน 10,806.46 ล้านบาท และ อนุมัติงบกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,229.46 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับดำเนินการในปีแรก ทั้งนี้การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามภาระที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินกรอบวงเงินที่กำหนด
อนึ่ง กนย. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 ได้รับทราบแนวทางบริหารจัดการยางพาราของ อ.ส.ย. และเห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหายางพารา จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของ ก.เกษตรฯ จำนวน 3 โครงการและโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 1 โครงการ โดยให้มีการปรับปรุงรายละเอียดโครงการตามมติที่ประชุม ดังนี้
1. แนวทางการบริหารจัดการยางของ อ.ส.ย. แนวทางบริหารจัดการยางในระยะต่อไปเพื่อให้ อ.ส.ย. สามารถปิดบัญชีโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางได้ตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ 1 ตุลาคม 2557 คือ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จึงควรบริหารจัดการสต๊อกยาง โดยมีหลักการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.1 หลักการปรับสต๊อกที่อยู่นิ่ง (Dead Stock) เป็นสต๊อกเคลื่อนที่ (Moving Stock) มีการซื้อขายหมุนเวียน โดยบริหารจัดการสต๊อกยางเดิม จำนวน 2.1 แสนตัน ควบคู่กับการซื้อและระบายยางใหม่ตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา
1.2 วิธีการใช้การระบายสต๊อกเดิมควบคู่ไปกับการซื้อยางใหม่ ทั้งนี้ ต้องเป็นการระบายยางออกนองประเทศเพื่อไม่ให้เพิ่มปริมาณ Supply ยางในตลาด เว้นแต่เป็นการนำมาใช้ในประเทศเพื่อกิจการของส่วนรวมโดยการระบายสต๊อกเดิมให้ขายในราคาไม่ต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม (ยางแผ่นรมควันชั้น 3) ส่วนการซื้อยางใหม่จะซื้อในราคานำตลาดจนเข้าสู่ราคาเป้าหมายที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้ซื้อเมื่อมีคำสั่งซื้อ (order) หรือมีการนำไปใช้ในประเทศเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือทดแทนยางที่นำออกจากสต๊อก ทั้งนี้ การซื้อยางใหม่เข้าเก็บในสต๊อกให้มีปริมาณเท่าหรือใกล้เคียงกับการระบายสต๊อกเดิมในแต่ละครั้ง (shipment)
1.3 การซื้อการระบายยางใหม่และการระบายยางเดิมในสต๊อกให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เป็นผู้ดำเนินการโดยการกำหนดการโดยการกำหนดราคาซื้อขายยางใหม่ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการ อ.ส.ย. แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และ อ.ส.ย. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ
2. สาระสำคัญโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหายางพารา 4 โครงการ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร และ อ.ส.ย. และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้จัดส่งข้อเสนอโครงการที่ได้ปรับปรุงตามมติ กนย. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 โดยมีสาระสำคัญแต่ละโครงการ ดังนี้
2.1 โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดย อ.ส.ย. จะใช้เงินกู้จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อรับซื้อยางในราคาชี้นำตลาดสู่ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท/กิโลกรัม (ยางแผ่นรมควันชั้น 3) โดย ธ.ก.ส. สำรองจ่ายเงินให้กับ อ.ส.ย. เพื่อใช้เป็นมูลภัณฑ์กันชนในการซื้อชายยางพารา วงเงินสินเชื่อ 6,000 ล้านบาท รวมระยะเวลา 18 เดือน โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ในอัตรา FDR+1 ในวงเงินรวมจำนวน 270 (ปี 2558 จำนวน 180 ล้านบาท และปี 2559 จำนวน 90 ล้านบาท ) และกระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันเงินที่ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายทั้งจำนวนพร้อมทั้งให้ ธ.ก.ส. แยกบัญชีออกจากการดำเนินงานปกติ เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ ) (Public Service Account: PSA) ส่วนค่าใช้จ่ายของ อ.ส.ย. ในการบริหารจัดการโครงการอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ของวงเงินกู้ที่ใช้จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 202 ล้านบาท แยกเป็นค่าใช้จ่ายปี 2558 จำนวน 135 ล้านบาท และปี 2559 จำนวน 67.5 ล้านบาท วงเงินที่รัฐรับภาระรวม 472 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายในปีแรกรวมจำนวน 315 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ สำนักงบประมาณ ตั้งงบประมาณชดเชยการขาดทุนกรณีดำเนินโครงการประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากเป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
2.2 โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ใช้สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. สำหรับจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรซึ่งมีพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ รวมทั้งเอกสารสิทธิ 46 รายการตามหนังสือของกรมป่าไม้ ที่ ทส 1602.5/5527 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เป้าหมาย 850,000 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน วงเงินที่รัฐรับภาระรวม 8,453.99 ล้านบาท แยกเป็น วงเงินจ่ายชดเชยเกษตรกร 8,200 ล้านบาท (ใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส.และธ.ก.ส. คิดต้นทุนในอัตรา FDR+1 และให้ ธ.ก.ส. จัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อชำระคืนต้นเงินจากการดำเนินงานตามโครงการ) และค่าชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส. และค่าบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวน 253.99 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายปีแรก จำนวน 253.99 ล้านบาท
2.3 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม โดยสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริมด้านการเกษตรหรือเกี่ยวเนื่องการเกษตร ตามศักยภาพของตนเองและตามสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มรายได้ วงเงินสินเชื่อเป็นไปตามแผนการผลิตของเกษตรกร ครัวเรือนละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยละ 2 ต่อปี เป้าหมายเกษตรกร 100,000 ครัวเรือน
แหล่งเงินคือ สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี (เกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 2 รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3) ระยะเวลาการชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ หากเกษตรกรไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ในเวลาที่กำหนดให้ ธ.ก.ส สามารถปรับเงื่อนไขการกู้เงิน และการเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของธนาคาร และให้ ธ.ก.ส. แยกบัญชีออกจากการดำเนินงานปกติ เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)
วงเงินที่รัฐรับภาระในการจ่ายชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส. และค่าบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบในระยะเวลา 5 ปี (ปี 2558-2562) รวม 1,579.47 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายปีแรกจำนวน 359.47 ล้านบาท
2.4 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง โดยสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อปี แก่ผู้ประกอบการยางผ่านกลไกธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต และธนาคารอื่น ๆ ที่ กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นสมควร วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท
2. เห็นชอบการดำเนินงานตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง
3. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการตลอดระยะเวลาโครงการรวม จำนวน 10,806.46 ล้านบาท และ อนุมัติงบกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,229.46 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับดำเนินการในปีแรก ทั้งนี้การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามภาระที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินกรอบวงเงินที่กำหนด
อนึ่ง กนย. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 ได้รับทราบแนวทางบริหารจัดการยางพาราของ อ.ส.ย. และเห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหายางพารา จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของ ก.เกษตรฯ จำนวน 3 โครงการและโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 1 โครงการ โดยให้มีการปรับปรุงรายละเอียดโครงการตามมติที่ประชุม ดังนี้
1. แนวทางการบริหารจัดการยางของ อ.ส.ย. แนวทางบริหารจัดการยางในระยะต่อไปเพื่อให้ อ.ส.ย. สามารถปิดบัญชีโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางได้ตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ 1 ตุลาคม 2557 คือ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จึงควรบริหารจัดการสต๊อกยาง โดยมีหลักการ วิธีการ ผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.1 หลักการปรับสต๊อกที่อยู่นิ่ง (Dead Stock) เป็นสต๊อกเคลื่อนที่ (Moving Stock) มีการซื้อขายหมุนเวียน โดยบริหารจัดการสต๊อกยางเดิม จำนวน 2.1 แสนตัน ควบคู่กับการซื้อและระบายยางใหม่ตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา
1.2 วิธีการใช้การระบายสต๊อกเดิมควบคู่ไปกับการซื้อยางใหม่ ทั้งนี้ ต้องเป็นการระบายยางออกนองประเทศเพื่อไม่ให้เพิ่มปริมาณ Supply ยางในตลาด เว้นแต่เป็นการนำมาใช้ในประเทศเพื่อกิจการของส่วนรวมโดยการระบายสต๊อกเดิมให้ขายในราคาไม่ต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม (ยางแผ่นรมควันชั้น 3) ส่วนการซื้อยางใหม่จะซื้อในราคานำตลาดจนเข้าสู่ราคาเป้าหมายที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม โดยให้ซื้อเมื่อมีคำสั่งซื้อ (order) หรือมีการนำไปใช้ในประเทศเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือทดแทนยางที่นำออกจากสต๊อก ทั้งนี้ การซื้อยางใหม่เข้าเก็บในสต๊อกให้มีปริมาณเท่าหรือใกล้เคียงกับการระบายสต๊อกเดิมในแต่ละครั้ง (shipment)
1.3 การซื้อการระบายยางใหม่และการระบายยางเดิมในสต๊อกให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เป็นผู้ดำเนินการโดยการกำหนดการโดยการกำหนดราคาซื้อขายยางใหม่ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการ อ.ส.ย. แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และ อ.ส.ย. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ
2. สาระสำคัญโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหายางพารา 4 โครงการ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร และ อ.ส.ย. และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้จัดส่งข้อเสนอโครงการที่ได้ปรับปรุงตามมติ กนย. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 โดยมีสาระสำคัญแต่ละโครงการ ดังนี้
2.1 โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดย อ.ส.ย. จะใช้เงินกู้จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อรับซื้อยางในราคาชี้นำตลาดสู่ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท/กิโลกรัม (ยางแผ่นรมควันชั้น 3) โดย ธ.ก.ส. สำรองจ่ายเงินให้กับ อ.ส.ย. เพื่อใช้เป็นมูลภัณฑ์กันชนในการซื้อชายยางพารา วงเงินสินเชื่อ 6,000 ล้านบาท รวมระยะเวลา 18 เดือน โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ในอัตรา FDR+1 ในวงเงินรวมจำนวน 270 (ปี 2558 จำนวน 180 ล้านบาท และปี 2559 จำนวน 90 ล้านบาท ) และกระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันเงินที่ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายทั้งจำนวนพร้อมทั้งให้ ธ.ก.ส. แยกบัญชีออกจากการดำเนินงานปกติ เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ ) (Public Service Account: PSA) ส่วนค่าใช้จ่ายของ อ.ส.ย. ในการบริหารจัดการโครงการอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ของวงเงินกู้ที่ใช้จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 202 ล้านบาท แยกเป็นค่าใช้จ่ายปี 2558 จำนวน 135 ล้านบาท และปี 2559 จำนวน 67.5 ล้านบาท วงเงินที่รัฐรับภาระรวม 472 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายในปีแรกรวมจำนวน 315 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ สำนักงบประมาณ ตั้งงบประมาณชดเชยการขาดทุนกรณีดำเนินโครงการประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากเป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
2.2 โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ใช้สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. สำหรับจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรซึ่งมีพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ รวมทั้งเอกสารสิทธิ 46 รายการตามหนังสือของกรมป่าไม้ ที่ ทส 1602.5/5527 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เป้าหมาย 850,000 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน วงเงินที่รัฐรับภาระรวม 8,453.99 ล้านบาท แยกเป็น วงเงินจ่ายชดเชยเกษตรกร 8,200 ล้านบาท (ใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส.และธ.ก.ส. คิดต้นทุนในอัตรา FDR+1 และให้ ธ.ก.ส. จัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อชำระคืนต้นเงินจากการดำเนินงานตามโครงการ) และค่าชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส. และค่าบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวน 253.99 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายปีแรก จำนวน 253.99 ล้านบาท
2.3 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม โดยสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริมด้านการเกษตรหรือเกี่ยวเนื่องการเกษตร ตามศักยภาพของตนเองและตามสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มรายได้ วงเงินสินเชื่อเป็นไปตามแผนการผลิตของเกษตรกร ครัวเรือนละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยละ 2 ต่อปี เป้าหมายเกษตรกร 100,000 ครัวเรือน
แหล่งเงินคือ สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี (เกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 2 รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3) ระยะเวลาการชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ หากเกษตรกรไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ในเวลาที่กำหนดให้ ธ.ก.ส สามารถปรับเงื่อนไขการกู้เงิน และการเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของธนาคาร และให้ ธ.ก.ส. แยกบัญชีออกจากการดำเนินงานปกติ เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)
วงเงินที่รัฐรับภาระในการจ่ายชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส. และค่าบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบในระยะเวลา 5 ปี (ปี 2558-2562) รวม 1,579.47 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายปีแรกจำนวน 359.47 ล้านบาท
2.4 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง โดยสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อปี แก่ผู้ประกอบการยางผ่านกลไกธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต และธนาคารอื่น ๆ ที่ กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นสมควร วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท