นพ. บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยทั่ว ๆ ไป จะหันมาถือศีลไม่บริโภคเนื้อสัตว์และไม่ปรุงอาหารด้วยผักสุก 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ งดเว้นน้ำนมสด นมข้นแต่จะหันมาบริโภคอาหารประเภทผัก ผลไม้ แทนของสดคาว ในปีนี้ เทศกาลกินเจ 2557 ตรงกับวันที่ 24 กันยายน –2 ตุลาคม 2557 และ รอบที่สอง 24 ตุลาคม 2557 – 1 พฤศจิกายน เนื่องจากว่าในปี 2557 ปฏิทินจีนมีเดือน9 สองครั้ง จึงทำให้ต้องกินเจถึง 2 ครั้ง
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งก่อน และ หลังออกสู่ตลาด โดยเฉพาะผู้บริโภคต้องได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและในช่วงเทศกาลสำคัญอย่างเทศกาลกินเจนี้เรื่องของความปลอดภัยของการรับประทานผัก ผลไม้ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปีที่ผ่านมามักพบปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง อย.จึงขอแนะผู้บริโภคในเรื่องการเลือกซื้อ เลือกใช้ ผักและผลไม้ช่วงเทศกาลกินเจ การเลือกซื้อผักต้องเลือกในสภาพ สด ใหม่ สะอาด ไม่มีลักษณะแข็งหรือกรอบจนเกินไป ไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ไม่มีเชื้อรา ไม่มีสีผิดจากธรรมชาติ ไม่มีเศษดินหรือสิ่งสกปรกเกาะเป็นคราบติดอยู่ และที่สำคัญต้องไม่มีคราบสีขาวของสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่
นอกจากนี้ควรเลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลง ซึ่งอาจแสดงว่าผักนี้ไม่ใช่สารฆ่าแมลง ส่วนการเลือกซื้อผลไม้นั้น ต้องดูที่ผิวสด ใหม่ ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ง เปลือกไม่ช้ำหรือดำ ที่สำคัญหลังจากที่ซื้อผักและผลไม้นั้น ควรทำความสะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือนำไปปรุงอาหาร เพื่อลดสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ หากเลือกซื้อหรือล้างผักผลไม้อย่างไม่ถูกวิธี สารพิษที่ตกค้างอยู่นั้นจะทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติ หรืออาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างเช่น มะเร็ง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้มีมาตรการเฝ้าระวังสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเจ ณ สถานที่จำหน่าย เช่น ตลาด หรือ ห้างสรรพสินค้า เพื่อตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอจำเพาะของเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง และขอเตือนผู้บริโภคที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารเจเพื่อจำหน่าย หากพบการตรวจวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอจำเพาะของเนื้อสัตว์จะเข้าข่ายเป็นอาหารที่มีฉลากเพื่อลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารเจที่ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับไม่เกินตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท ตามมาตรา 59 หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร.1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับกระทำผิดต่อไป
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งก่อน และ หลังออกสู่ตลาด โดยเฉพาะผู้บริโภคต้องได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและในช่วงเทศกาลสำคัญอย่างเทศกาลกินเจนี้เรื่องของความปลอดภัยของการรับประทานผัก ผลไม้ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปีที่ผ่านมามักพบปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง อย.จึงขอแนะผู้บริโภคในเรื่องการเลือกซื้อ เลือกใช้ ผักและผลไม้ช่วงเทศกาลกินเจ การเลือกซื้อผักต้องเลือกในสภาพ สด ใหม่ สะอาด ไม่มีลักษณะแข็งหรือกรอบจนเกินไป ไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ไม่มีเชื้อรา ไม่มีสีผิดจากธรรมชาติ ไม่มีเศษดินหรือสิ่งสกปรกเกาะเป็นคราบติดอยู่ และที่สำคัญต้องไม่มีคราบสีขาวของสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่
นอกจากนี้ควรเลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลง ซึ่งอาจแสดงว่าผักนี้ไม่ใช่สารฆ่าแมลง ส่วนการเลือกซื้อผลไม้นั้น ต้องดูที่ผิวสด ใหม่ ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ง เปลือกไม่ช้ำหรือดำ ที่สำคัญหลังจากที่ซื้อผักและผลไม้นั้น ควรทำความสะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือนำไปปรุงอาหาร เพื่อลดสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ หากเลือกซื้อหรือล้างผักผลไม้อย่างไม่ถูกวิธี สารพิษที่ตกค้างอยู่นั้นจะทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติ หรืออาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างเช่น มะเร็ง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้มีมาตรการเฝ้าระวังสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเจ ณ สถานที่จำหน่าย เช่น ตลาด หรือ ห้างสรรพสินค้า เพื่อตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอจำเพาะของเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง และขอเตือนผู้บริโภคที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารเจเพื่อจำหน่าย หากพบการตรวจวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอจำเพาะของเนื้อสัตว์จะเข้าข่ายเป็นอาหารที่มีฉลากเพื่อลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารเจที่ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับไม่เกินตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท ตามมาตรา 59 หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร.1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับกระทำผิดต่อไป