นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในส่วนของการออกพันธบัตร 100 ปีนั้นว่า ในการประชุมร่วมกันผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ (PDMO-Market Dialogue) กว่า 150 คนเมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่กระทรวงการคลังครั้งนี้ ส่วนใหญ่กลุ่มประกันเรียกร้องให้มีการออกเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้สบน.ยังศึกษาอยู่ โดยยังไม่มีการบรรจุในแผนกู้เงิน ปี 2558 แต่ถ้าเป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการให้ออกสามารถทำได้ ในรูปแบบออกมาทดลองในวงเงินหลายพันล้านบาทดอกเบี้ยไม่น่าเกิน 5% แต่จะน้อยกว่าพันธบัตร 50 ปีที่มีแผนจะออกในปีงบ 2558 วงเงิน 8 พัน-1หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ย4.2%
“พันธบัตรออมทรัพย์ คงออกได้ไม่เกิน 6-7% ของแผนระดมทุนของ สบน. คงไม่สามารถออกได้เป็นแสนล้านบาท เพราะมีต้นทุนสูงกว่าพันธบัตรชนิดอื่น เนื่องจากสบน.จะบวกเพิ่มดอกเบี้ยให้เท่ากับภาษีที่ต้องจ่าย 15% คาดว่าช่วงเวลาที่เหมาะจะออกในครั้งแรกของพันธบัตรออมทรัพย์คือเดือนพฤศจิกายน –ธันวาคมปีนี้ และหลังจากนั้นจะออกทุก 4 เดือน โดยจะขอประเมินวงเงินที่จะออกในครั้งแรกอีกครั้งว่าจะเป็นเท่าใด”นายสุวิช กล่าว
นายสุวิช กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลมีความต้องการใช้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 9.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้แบ่งเป็นการกู้เงินของ สบน.โดยเป็นการกู้ระยะสั้นกับสถาบันการเงิน(Term Loan) วงเงินกว่า 5 หมื่นล้านบาท เพื่อไปลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, รถไฟทางคู่ ซึ่งสบน.พิจารณาแล้วว่าจะเป็นการกู้กับสถาบันการเงินแทนการออกพันธบัตร เพราะแผนการใช้เงินยังเป็นแบบทยอยเบิกมาใช้ถ้าออกพันธบัตรจะมีต้นทุนสูงกว่าเพราะกู้มากองไว้ ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 4.5 หมื่นล้านบาทนั้นจะใช้เงินจากงบประมาณ
นอกจากนี้ขณะนี้ สบน.ได้เปิดให้กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจสามารถเข้ามาออกบาทบอนด์ เพื่อใช้ในการระดมทุนเพื่อโครงการลงทุนในประเทศตัวเองได้ โดยล่าสุด รัฐวิสาหกิจของลาว แจ้งขอออกในวงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อไปใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
“พันธบัตรออมทรัพย์ คงออกได้ไม่เกิน 6-7% ของแผนระดมทุนของ สบน. คงไม่สามารถออกได้เป็นแสนล้านบาท เพราะมีต้นทุนสูงกว่าพันธบัตรชนิดอื่น เนื่องจากสบน.จะบวกเพิ่มดอกเบี้ยให้เท่ากับภาษีที่ต้องจ่าย 15% คาดว่าช่วงเวลาที่เหมาะจะออกในครั้งแรกของพันธบัตรออมทรัพย์คือเดือนพฤศจิกายน –ธันวาคมปีนี้ และหลังจากนั้นจะออกทุก 4 เดือน โดยจะขอประเมินวงเงินที่จะออกในครั้งแรกอีกครั้งว่าจะเป็นเท่าใด”นายสุวิช กล่าว
นายสุวิช กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลมีความต้องการใช้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 9.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้แบ่งเป็นการกู้เงินของ สบน.โดยเป็นการกู้ระยะสั้นกับสถาบันการเงิน(Term Loan) วงเงินกว่า 5 หมื่นล้านบาท เพื่อไปลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, รถไฟทางคู่ ซึ่งสบน.พิจารณาแล้วว่าจะเป็นการกู้กับสถาบันการเงินแทนการออกพันธบัตร เพราะแผนการใช้เงินยังเป็นแบบทยอยเบิกมาใช้ถ้าออกพันธบัตรจะมีต้นทุนสูงกว่าเพราะกู้มากองไว้ ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 4.5 หมื่นล้านบาทนั้นจะใช้เงินจากงบประมาณ
นอกจากนี้ขณะนี้ สบน.ได้เปิดให้กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจสามารถเข้ามาออกบาทบอนด์ เพื่อใช้ในการระดมทุนเพื่อโครงการลงทุนในประเทศตัวเองได้ โดยล่าสุด รัฐวิสาหกิจของลาว แจ้งขอออกในวงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อไปใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ