เวียดนามในเวลาอีกไม่นานต่อจากนี้ จะมีกำลังทางนาวีอันน่าเชื่อถือซึ่งจะสามารถป้องปรามความเคลื่อนไหวของจีนในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้ แสนยานุภาพทางเรือดังกล่าวนี้อยู่ในรูปของกองเรือดำน้ำชั้น “กิโล” จากรัสเซีย ที่พวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่าอาจทำให้ปักกิ่งต้องคิดแล้วคิดอีก ก่อนข่มเหงน้ำใจเพื่อนบ้านที่มีขนาดเล็กกว่าแห่งนี้ในน่านน้ำที่มีข้อพิพาทกันอยู่
เวียดนาม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเจ้าแห่งสงครามจรยุทธ์ เวลานี้ได้รับเรือดำน้ำอันทันสมัยรุ่นนี้มาครอบครองแล้วจำนวน 2 ลำ และจะได้รับลำที่สามในเดือนพฤศจิกายน ภายใต้ข้อตกลงมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์กับมอสโกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ขณะที่อีก 3 ลำสุดท้ายมีกำหนดส่งมอบภายในเวลา 2 ปี
ฮานอยนั้นไม่วางใจปักกิ่งมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะจากการที่ฝ่ายหลังอ้างสิทธิ์เกือบทั่วทั้งทะเลจีนใต้ที่เชื่อกันว่าอุดมด้วยทรัพยากรพลังงาน
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า หลังจากที่กองเรือดำน้ำใหม่เข้าประจำการทั้งหมดแล้ว มีแนวโน้มที่ฮานอยจะใช้วิธีการซึ่งเรียกกันว่า “การปฏิบัติการปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” (area denial operations) ในบริเวณนอกชายฝั่งของประเทศตน และรอบๆ ฐานทัพของตนในหมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้
วิธีการเช่นนี้จะทำให้ปักกิ่งต้องตรึกตรองหลายชั้นขึ้นในการเคลื่อนไหวทางทหารเพื่อขัดขวางการครอบครองหมู่เกาะดังกล่าวของเวียดนาม หรือในกรณีที่เกิดการปะทะกันจากกรณีพิพาทเรื่องแหล่งน้ำมัน ถึงแม้จีนมีกองทัพเรือขนาดใหญ่กว่ามาก ซึ่งรวมถึงเรือดำน้ำ 70 ลำก็ตาม
คอลลิน โก๊ะห์ จาก สถาบันราชารัตนัม สกูล ออฟ อินเตอร์เนชันแนล สตัดดีส์ ในสิงคโปร์ อธิบายว่า การปฏิบัติการปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ในทะเล เป็นวิธีการที่ผู้เล่นซึ่งอ่อนแอกว่ามุ่งสร้างการป้องปรามในทางจิตวิทยา ด้วยการทำให้กองนาวีของคู่แข่งที่เข้มแข็งกว่าไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า เรือดำน้ำของตนอยู่ที่ใดบ้าง
ระหว่างรอรับมอบเรือดำน้ำจนครบทั้ง 6 ลำ ซึ่งถือเป็นการจัดซื้ออาวุธครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศตามแผนขยายกองทัพเรือ เวียดนามไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่เดินหน้าฝึกการใช้เรือดำน้ำที่อ่าวกัมแรงห์ (คัมรานห์) ซึ่งเคยเป็นอดีตฐานทัพอเมริกันในยุคสงครามเวียดนาม
นอกจากนี้ ทหารเวียดนามอีกชุดกำลังฝึกอยู่บนเรือดำน้ำชั้นกิโลลำที่สาม บริเวณนอกชายฝั่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย ก่อนจะทำพิธีรับมอบจากแดนหมีขาวอย่างเป็นทางการ
สำหรับลำที่ 4 นั้นก็ต่อเสร็จแล้ว และบริษัทผู้สร้างกำลังนำออกทดสอบในทะเลบริเวณนอกอู่ต่อเรือแอดมิรัลตี้ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขณะที่ 2 ลำสุดท้ายนั้นกำลังอยู่ระหว่างการต่อ
เวียดนาม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเจ้าแห่งสงครามจรยุทธ์ เวลานี้ได้รับเรือดำน้ำอันทันสมัยรุ่นนี้มาครอบครองแล้วจำนวน 2 ลำ และจะได้รับลำที่สามในเดือนพฤศจิกายน ภายใต้ข้อตกลงมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์กับมอสโกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ขณะที่อีก 3 ลำสุดท้ายมีกำหนดส่งมอบภายในเวลา 2 ปี
ฮานอยนั้นไม่วางใจปักกิ่งมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะจากการที่ฝ่ายหลังอ้างสิทธิ์เกือบทั่วทั้งทะเลจีนใต้ที่เชื่อกันว่าอุดมด้วยทรัพยากรพลังงาน
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า หลังจากที่กองเรือดำน้ำใหม่เข้าประจำการทั้งหมดแล้ว มีแนวโน้มที่ฮานอยจะใช้วิธีการซึ่งเรียกกันว่า “การปฏิบัติการปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” (area denial operations) ในบริเวณนอกชายฝั่งของประเทศตน และรอบๆ ฐานทัพของตนในหมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้
วิธีการเช่นนี้จะทำให้ปักกิ่งต้องตรึกตรองหลายชั้นขึ้นในการเคลื่อนไหวทางทหารเพื่อขัดขวางการครอบครองหมู่เกาะดังกล่าวของเวียดนาม หรือในกรณีที่เกิดการปะทะกันจากกรณีพิพาทเรื่องแหล่งน้ำมัน ถึงแม้จีนมีกองทัพเรือขนาดใหญ่กว่ามาก ซึ่งรวมถึงเรือดำน้ำ 70 ลำก็ตาม
คอลลิน โก๊ะห์ จาก สถาบันราชารัตนัม สกูล ออฟ อินเตอร์เนชันแนล สตัดดีส์ ในสิงคโปร์ อธิบายว่า การปฏิบัติการปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ในทะเล เป็นวิธีการที่ผู้เล่นซึ่งอ่อนแอกว่ามุ่งสร้างการป้องปรามในทางจิตวิทยา ด้วยการทำให้กองนาวีของคู่แข่งที่เข้มแข็งกว่าไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า เรือดำน้ำของตนอยู่ที่ใดบ้าง
ระหว่างรอรับมอบเรือดำน้ำจนครบทั้ง 6 ลำ ซึ่งถือเป็นการจัดซื้ออาวุธครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศตามแผนขยายกองทัพเรือ เวียดนามไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่เดินหน้าฝึกการใช้เรือดำน้ำที่อ่าวกัมแรงห์ (คัมรานห์) ซึ่งเคยเป็นอดีตฐานทัพอเมริกันในยุคสงครามเวียดนาม
นอกจากนี้ ทหารเวียดนามอีกชุดกำลังฝึกอยู่บนเรือดำน้ำชั้นกิโลลำที่สาม บริเวณนอกชายฝั่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย ก่อนจะทำพิธีรับมอบจากแดนหมีขาวอย่างเป็นทางการ
สำหรับลำที่ 4 นั้นก็ต่อเสร็จแล้ว และบริษัทผู้สร้างกำลังนำออกทดสอบในทะเลบริเวณนอกอู่ต่อเรือแอดมิรัลตี้ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขณะที่ 2 ลำสุดท้ายนั้นกำลังอยู่ระหว่างการต่อ