นายกรัฐมนตรี ดมิตริ เมดเวเดฟ ของรัสเซียส่งสัญญาณในวันจันทร์ (8 ก.ย.) ว่าอาจสั่งห้ามสายการบินของฝ่ายตะวันตก บินผ่านน่านฟ้าแดนหมีขาว โดยเป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้ “แบบอสมมาตร” หรือก็คือจะเล่นงานเอาคืนแต่ละชาติหนักเบาไม่เท่ากัน ถ้าหากถูกสหภาพยุโรปประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมขึ้นอีก ขณะที่ทางฝ่ายอียูนั้น ยังคงจ่อที่จะอนุมัติบทลงโทษใหม่ๆ ต่อมอสโก โดยเน้นหนักไปที่การจำกัดพวกบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่รัสเซียในการเข้าไประดมเงินทุนในตลาดการเงิน
ในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) มีแนวโน้มสูงที่จะประกาศคว่ำบาตรแดนหมีขาวเพิ่มเติมในจันทร์(8) ซึ่งจะยิ่งบั่นทอนเศรษฐกิจของรัสเซียที่เกือบจะดิ่งสู่ภาวะถดถอยอยู่แล้ว แต่ เมดเวเดฟ ยืนยันในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ “เวโดโมสติ”ว่า มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกไม่อาจทำให้รัสเซียเปลี่ยนจุดยืน มีแต่จะยิ่งทำให้ชาวรัสเซียผนึกกำลังต่อสู้ เช่นเดียวกับที่ “จีน” ทำมาแล้ว
“ผมนึกว่าหุ้นส่วนของเราจะมีวิสัยทัศน์ที่ดีมากกว่านี้ แต่อนิจจา...” เมดเวเดฟ ซึ่งเคยครองเก้าอี้ประธานาธิบดีอยู่ 4 ปี ก่อนจะถอยให้ วลาดิเมียร์ ปูติน กลับมาเถลิงอำนาจเป็นสมัยที่ 3 เมื่อปี 2012 กล่าว
“หากมีการคว่ำบาตรลงโทษที่เกี่ยวกับภาคพลังงาน หรือเป็นการจำกัดภาคการเงินของรัสเซียเพิ่มเติมขึ้นอีก เราก็จะต้องตอบโต้แบบอสมมาตร” เขาบอก พร้อมกับกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกสายการบินของ “บรรดาประเทศเพื่อนมิตร” จะได้รับอนุญาตให้บินผ่านน่านฟ้ารัสเซีย
“น่านฟ้ารัสเซียเปิดรับเครื่องบินโดยสารต่างชาติ เพราะเรายึดถือความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อหุ้นส่วนทุกราย แต่หากพวกเขาตั้งข้อจำกัดกับเรามากนัก เราก็จำเป็นต้องตอบโต้”
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของอียู แถลงในตอนเช้าวันจันทร์ (8) ว่า อียูจะเดินหน้าใช้มาตรการลงโทษใหม่ๆ ต่อรัสเซีย ทั้งนี้ตามกระบวนการแล้ว ถ้าหากภายในเวลา 13.00 น. วันจันทร์ ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตรงกับ 20.00 น.เวลาเมืองไทย) ไม่มีรัฐบาลของรัฐสมาชิกอียูรายใดคัดค้านข้อตกลงในเรื่องนี้ซึ่งบรรดาเอกอัครราชทูตของ 28 ชาติสหภาพยุโรปทำกันออกมาตั้งแต่คืนวันศุกร์ (5) แล้ว ก็จะถือว่ามาตรการลงโทษคว่ำบาตรใหม่นี้ได้รับความเห็นชอบ และจะมีผลบังคับใช้หลังจากตีพิมพ์ในเอกสารทางการของอียูแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะทำกันได้ในเวลาเที่ยงคืน
ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศต่างรายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงการทูตของอียูระบุว่า มาตรการลงโทษครั้งใหม่นี้จะมุ่งเล่นงานบริษัทรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตน้ำมันและด้านการบริหารท่อจัดส่งน้ำมันของรัสเซีย 3 ราย ได้แก่ รอสเนฟต์, ทรานสเนฟต์, และ กาซปรอม เนฟต์ โดยที่บริษัทเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ระดมเงินทุนหรือกู้ยืมในตลาดการเงินยุโรป ทว่าการแซงก์ชั่นคราวนี้ยังคงไม่กระทบกระเทือนภาคก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจกาซปรอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ส่งก๊าซไปจำหน่ายใหยุโรปรายใหญ่ที่สุดด้วย
ในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) มีแนวโน้มสูงที่จะประกาศคว่ำบาตรแดนหมีขาวเพิ่มเติมในจันทร์(8) ซึ่งจะยิ่งบั่นทอนเศรษฐกิจของรัสเซียที่เกือบจะดิ่งสู่ภาวะถดถอยอยู่แล้ว แต่ เมดเวเดฟ ยืนยันในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ “เวโดโมสติ”ว่า มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกไม่อาจทำให้รัสเซียเปลี่ยนจุดยืน มีแต่จะยิ่งทำให้ชาวรัสเซียผนึกกำลังต่อสู้ เช่นเดียวกับที่ “จีน” ทำมาแล้ว
“ผมนึกว่าหุ้นส่วนของเราจะมีวิสัยทัศน์ที่ดีมากกว่านี้ แต่อนิจจา...” เมดเวเดฟ ซึ่งเคยครองเก้าอี้ประธานาธิบดีอยู่ 4 ปี ก่อนจะถอยให้ วลาดิเมียร์ ปูติน กลับมาเถลิงอำนาจเป็นสมัยที่ 3 เมื่อปี 2012 กล่าว
“หากมีการคว่ำบาตรลงโทษที่เกี่ยวกับภาคพลังงาน หรือเป็นการจำกัดภาคการเงินของรัสเซียเพิ่มเติมขึ้นอีก เราก็จะต้องตอบโต้แบบอสมมาตร” เขาบอก พร้อมกับกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกสายการบินของ “บรรดาประเทศเพื่อนมิตร” จะได้รับอนุญาตให้บินผ่านน่านฟ้ารัสเซีย
“น่านฟ้ารัสเซียเปิดรับเครื่องบินโดยสารต่างชาติ เพราะเรายึดถือความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อหุ้นส่วนทุกราย แต่หากพวกเขาตั้งข้อจำกัดกับเรามากนัก เราก็จำเป็นต้องตอบโต้”
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของอียู แถลงในตอนเช้าวันจันทร์ (8) ว่า อียูจะเดินหน้าใช้มาตรการลงโทษใหม่ๆ ต่อรัสเซีย ทั้งนี้ตามกระบวนการแล้ว ถ้าหากภายในเวลา 13.00 น. วันจันทร์ ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตรงกับ 20.00 น.เวลาเมืองไทย) ไม่มีรัฐบาลของรัฐสมาชิกอียูรายใดคัดค้านข้อตกลงในเรื่องนี้ซึ่งบรรดาเอกอัครราชทูตของ 28 ชาติสหภาพยุโรปทำกันออกมาตั้งแต่คืนวันศุกร์ (5) แล้ว ก็จะถือว่ามาตรการลงโทษคว่ำบาตรใหม่นี้ได้รับความเห็นชอบ และจะมีผลบังคับใช้หลังจากตีพิมพ์ในเอกสารทางการของอียูแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะทำกันได้ในเวลาเที่ยงคืน
ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศต่างรายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงการทูตของอียูระบุว่า มาตรการลงโทษครั้งใหม่นี้จะมุ่งเล่นงานบริษัทรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตน้ำมันและด้านการบริหารท่อจัดส่งน้ำมันของรัสเซีย 3 ราย ได้แก่ รอสเนฟต์, ทรานสเนฟต์, และ กาซปรอม เนฟต์ โดยที่บริษัทเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ระดมเงินทุนหรือกู้ยืมในตลาดการเงินยุโรป ทว่าการแซงก์ชั่นคราวนี้ยังคงไม่กระทบกระเทือนภาคก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจกาซปรอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ส่งก๊าซไปจำหน่ายใหยุโรปรายใหญ่ที่สุดด้วย