นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้ส่งจดหมายด่วนถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ไต่สวนและตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างการปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งอาคารทำเนียบรัฐบาลภายใต้งบประมาณ 252 ล้านบาท ตามที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายกิจการพิเศษ ต้นเรื่อง เสนออนุมัติต่อ คสช. โดยมี ม.ล.ปนัดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ทั้งนี้ การปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งอาคารทำเนียบรัฐบาลดำเนินการอย่างรุกรี้รุกรนจนเกินเหตุ โดยเฉพาะการจัดหาระบบเครื่องเสียงและไมโครโฟนในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีและห้องประชุมต่างๆ ในทำเนียบรัฐบาลประมาณ 192 ตัว โดยการว่าจ้างให้บริษัทเอกชนมาดำเนินการให้นั้น ซึ่งปรากฏว่ามีการจัดหาเครื่องเสียงและไมโครโฟนเพื่อใช้ในที่ประชุมดังกล่าวตัวละกว่า 145,000 บาท ซึ่งถือว่าแพงเกินเหตุ ทั้งๆ ที่ราคาที่โฆษณาขายกันในท้องตลาดในโซเชียลมีเดียของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์มีราคมเพียง 1981.95 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 63,422 บาท เท่านั้น
การจัดซื้อจัดหานอกจากจะยังไม่มีความจำเป็น เพราะเครื่องเสียงและไมโครโฟนเดิมก็ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่ อันขัดต่อหลักความพอเพียง ความประหยัด ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน.คสช.และนายกรัฐมนตรี พูดมาโดยตลอดแล้ว ยังเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหมวด 2 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ประกอบมาตรา 103/7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 โดยชัดแจ้ง และเรื่องดังกล่าวจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่คณะรัฐมนตรีได้ใช้เครื่องเสียงและไมโครโฟนดังกล่าวในการประชุมวันที่ 9 กันยายนนี้ เรื่องดังกล่าวสมาคมฯ ไม่อาจปล่อยให้เรื่องดังกล่าวลอยนวลและหายไปตามกระแสของสังคมได้ จึงต้องร้องเรียนให้ สตง.และ ป.ป.ช.ไต่สวน ตรวจสอบ และเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ การปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งอาคารทำเนียบรัฐบาลดำเนินการอย่างรุกรี้รุกรนจนเกินเหตุ โดยเฉพาะการจัดหาระบบเครื่องเสียงและไมโครโฟนในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีและห้องประชุมต่างๆ ในทำเนียบรัฐบาลประมาณ 192 ตัว โดยการว่าจ้างให้บริษัทเอกชนมาดำเนินการให้นั้น ซึ่งปรากฏว่ามีการจัดหาเครื่องเสียงและไมโครโฟนเพื่อใช้ในที่ประชุมดังกล่าวตัวละกว่า 145,000 บาท ซึ่งถือว่าแพงเกินเหตุ ทั้งๆ ที่ราคาที่โฆษณาขายกันในท้องตลาดในโซเชียลมีเดียของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์มีราคมเพียง 1981.95 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 63,422 บาท เท่านั้น
การจัดซื้อจัดหานอกจากจะยังไม่มีความจำเป็น เพราะเครื่องเสียงและไมโครโฟนเดิมก็ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่ อันขัดต่อหลักความพอเพียง ความประหยัด ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน.คสช.และนายกรัฐมนตรี พูดมาโดยตลอดแล้ว ยังเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหมวด 2 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ประกอบมาตรา 103/7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 โดยชัดแจ้ง และเรื่องดังกล่าวจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่คณะรัฐมนตรีได้ใช้เครื่องเสียงและไมโครโฟนดังกล่าวในการประชุมวันที่ 9 กันยายนนี้ เรื่องดังกล่าวสมาคมฯ ไม่อาจปล่อยให้เรื่องดังกล่าวลอยนวลและหายไปตามกระแสของสังคมได้ จึงต้องร้องเรียนให้ สตง.และ ป.ป.ช.ไต่สวน ตรวจสอบ และเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป