บขส. และ ขสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจสำคัญในกิจการคมนาคมทางบกของรัฐ และเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นแหล่งทำมาหากินสำคัญของนักการเมืองตลอดมา และได้มีการโกงกินรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้จนขาดทุนป่นปี้ยับเยินเหลือแต่ซากดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
แม้มีการยึดอำนาจ 22 พฤษภาคม 2557 และหัวหน้า คสช. ได้ประกาศอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วว่าจะไม่มีการทุจริตในการทำงานของ คสช. และจะไม่ยอมให้มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่พวกขี้โกงประเภทเชื้อชั่วไม่กลัวตายก็ไม่ได้สนใจแต่ประการใด
ยังคงเดินหน้าต่อยอดต่อไป จนกระทั่งหัวหน้า คสช. ได้ออกคำสั่งให้ ขสมก. ทบทวนการจัดซื้อจัดหารถบัสเอ็นจีวีเกือบ 4,000 คันไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เป็นอันปิดฉากโครงการโกงกินข้ามภพข้ามชาติ 7 รัฐบาลไปแล้วเป็นการชั่วคราว แต่มันยังไม่ตายสนิท คงจะหาทางผุดขึ้นมาต่อยอดต่อไป
ก็ต้องบอกให้รู้กันตั้งแต่ต้นนี้ว่า บขส. นั้นเป็นรัฐวิสาหกิจในการขนส่งคนทั่วประเทศ ที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรองรับการทำงานของบรรดาคนไร้อาชีพและอันธพาลในยุคนั้นให้ได้กลับตัวเป็นคนดี และมีที่ทางทำมาหากินทั่วประเทศ
ในขณะที่ ขสมก. นั้นจัดตั้งขึ้นในยุครัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่มาออกพระราชกฤษฎีกาเอาในสมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เพื่อรวบเอาการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาดำเนินงานในรูปของรัฐวิสาหกิจ
ตลอดวิถีดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ ที่ได้กลายเป็นแหล่งทำมาหากินของนักการเมือง และมีการส่งลิ่วล้อบริวารของนักการเมืองไปผสมโรงกับข้าราชการร่วมกันบริหารรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้จนขาดทุนยับเยิน และในที่สุดกิจการก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน
กิจการของทั้งสองแห่งนี้เป็นเหมือนกัน คือตัวรัฐวิสาหกิจไม่สามารถจัดหารถมาบริการประชาชนได้อย่างเพียงพอ ต้องเปิดให้กิจการเอกชนเข้ามาร่วมเดินรถหรือที่เรียกกันว่ารถร่วม โดยเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งประโยชน์ตามอัตราที่กำหนด
ผลจากการดำเนินการแบบนั้น จึงทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้มีฐานะสามอย่างอยู่ในตัว คือ เป็นเจ้าของเส้นทางการเดินรถทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ อย่างหนึ่ง เป็นผู้ประกอบการเดินรถเองอย่างหนึ่ง และเป็นผู้อนุญาตให้เอกชนเดินรถร่วมอีกอย่างหนึ่ง
กิจการแบบนี้ต้องถือว่าเป็นการดำเนินกิจการที่ไม่มีความเป็นธรรม ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นต้นเหตุของการทุจริต
เพราะเมื่อเป็นผู้ที่มีอำนาจในการเดินรถเอง เป็นผู้ประกอบการเดินรถเอง ก็เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในตัว และเมื่อเป็นผู้ประกอบการเดินรถเอง กับการอนุญาตให้เอกชนเดินรถร่วมก็เกิดภาวะผลประโยชน์ขัดแย้งหรือทับซ้อนกัน หากจะไม่ให้ขัดแย้งหรือทับซ้อนกันก็ต้องมีผลประโยชน์นอกระบบเข้ามาเกลี่ย อันเป็นต้นตอของการทุจริตใหญ่ในรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้
การทุจริตและไร้ประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ก่อให้เกิดผลขาดทุนกับรัฐ ก่อให้เกิดภาระค้ำประกันแก่รัฐ ก่อให้เกิดภาวะชะงักงันในกิจการขนส่งทางบกของรัฐ และกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
บัดนี้เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูป ก็ย่อมถึงเวลาที่จะต้องปฏิรูปใหญ่รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ คงเหลือว่าจะปฏิรูปกันอย่างไร
ประการแรก จะให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ยังคงดำเนินกิจการต่างคนต่างทำกันต่อไป หรือว่าจะรวบเข้ากับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ จัดตั้งเป็นสำนักงานลงทุนแห่งชาติเหมือนกับที่อารยประเทศทั้งหลายเขาทำกัน
หรือว่าจะยุบเลิกคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด รวมทั้งสองแห่งนี้ แล้วให้เป็นอำนาจหน้าที่ของซูเปอร์บอร์ดเป็นผู้ใช้อำนาจคณะกรรมการแทน ซึ่งจะประหยัดและมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการขจัดไม่ให้เอารัฐวิสาหกิจไปแบ่งกันทำมาหากินตามกระทรวงต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา
ประการที่สอง ทั้ง บขส. และ ขสมก. ควรจะรับการปฏิรูปบทบาทตัวเองให้มีฐานะเป็นเพียงผู้ถือกฎ หรือ Ruler โดยยุติบทบาทในฐานะผู้ให้บริการขนส่ง หรือบทบาท Operator โดยให้เป็นภาระหน้าที่ของเอกชนในการที่จะขอรับบริการขนส่งตามเส้นทางต่างๆ ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวจะได้อนุญาต บนพื้นฐานของความสุจริต โปร่งใส อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนและรัฐอย่างเป็นธรรม
ประการที่สาม การชำระสะสางภาระหนี้สินและภาระค้ำประกัน ตลอดจนบุคลากรที่มีมากเกิน เพราะเต็มไปด้วยเด็กฝาก ลิ่วล้อบริวารนักการเมืองที่ส่งเข้ามารับเงินเดือนและค่าตอบแทนกันเป็นจำนวนมาก และมากจนกระทั่งรัฐวิสาหกิจแบกรับไม่ไหว
ทั้งสามประการนี้แหละคือแนวทางใหญ่ที่จะต้องตัดสินใจในการปฏิรูป เพราะหากปล่อยให้เป็นไปดังที่เป็นอยู่ก็จะเป็นปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ต้องเรื่องใหญ่โตอะไรมาก แค่เรื่องจัดซื้อจัดหารถบัสเอ็นจีวีของ ขสมก. ก็เป็นตัวอย่างที่กล่าวได้ว่าเป็นมหากาพย์แห่งการโกงข้ามภพข้ามชาติ 7 รัฐบาลให้เห็นมาแล้ว
โครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในรัฐบาลพรรคไทยรักไทยตั้งโครงการจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวี 6,000 คัน ตั้งราคากันถึงคันละ 12 ล้านบาท ในขณะที่ราคาตลาดเพียงประมาณคันละ 3 ล้านบาทเท่านั้น เป็นโครงการโคตรโกงมหาโกงที่ยิ่งใหญ่แห่งยุค
การผลักดันโครงการเกือบจะเสร็จสิ้น แต่มีการยึดอำนาจปี 2549 เสียก่อน แม้กระนั้นก็ยังมีการผลักดันโครงการในยุค คมช. อีก แต่ก็ไม่สำเร็จ จากนั้นก็มาผลักดันกันต่อในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่สำเร็จ ถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ยังไม่สำเร็จอยู่นั่นเอง
ครั้นมาถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังมีความดิ้นรนที่จะผลักดันโครงการนี้ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนล่วงมาถึงรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ปรับปรุงโครงการมาผลักดันกันใหม่ คือลดจำนวนลงเหลือเพียงเกือบ 4,000 คัน และลดราคาลงเหลือคันละประมาณ 6 ล้านบาท ผลักดันกันร่วมสามปีแต่ก็ไม่สำเร็จ
จนกระทั่งมีการยึดอำนาจ ขบวนการเชื้อชั่วไม่กลัวตายก็ยังคงต่อยอดเดินหน้าโครงการนี้ต่อ แล้วหวังว่าจะเป็นยาอายุวัฒนะให้กับผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ก็มีคำสั่งให้ระงับโครงการดังกล่าวทันที
และให้ทบทวนโครงการนี้เสียใหม่ ให้เกิดความโปร่งใส ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และ ขสมก. และให้มีจำนวนรถที่เพียงพอในการให้บริการแก่ประชาชนด้วย
ไม่ใช่แอบกินคำเล็ก แต่จะกินหลายๆ คำ ตามแผนที่วางกันไว้
เนื่องเพราะโครงการนี้ดำเนินงานมาช้านานถึง 7 รัฐบาลแล้ว จำนวนรถที่ให้บริการประชาชนก็ขาดแคลนมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ผู้ใช้บริการก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้า หากใช้วิธีการธรรมดาเหมือนที่ผ่านมา ขบวนการเชื้อชั่วไม่กลัวตายก็คงจะเข้าไปแทรกแซงจนไม่เป็นอันทำสิ่งที่ถูกต้องอยู่นั่นเอง
เรื่องนี้จึงต้องทำให้เป็นแบบอย่างสักเรื่องหนึ่ง นั่นคือ คสช. ควรจัดคณะกรรมการพิเศษเจรจาจัดหารถดังกล่าวจากผู้ผลิตรายที่กำลังเจรจากันอยู่นี้แหละ ก็จะได้ราคาเพียงคันละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น.
แม้มีการยึดอำนาจ 22 พฤษภาคม 2557 และหัวหน้า คสช. ได้ประกาศอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วว่าจะไม่มีการทุจริตในการทำงานของ คสช. และจะไม่ยอมให้มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่พวกขี้โกงประเภทเชื้อชั่วไม่กลัวตายก็ไม่ได้สนใจแต่ประการใด
ยังคงเดินหน้าต่อยอดต่อไป จนกระทั่งหัวหน้า คสช. ได้ออกคำสั่งให้ ขสมก. ทบทวนการจัดซื้อจัดหารถบัสเอ็นจีวีเกือบ 4,000 คันไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เป็นอันปิดฉากโครงการโกงกินข้ามภพข้ามชาติ 7 รัฐบาลไปแล้วเป็นการชั่วคราว แต่มันยังไม่ตายสนิท คงจะหาทางผุดขึ้นมาต่อยอดต่อไป
ก็ต้องบอกให้รู้กันตั้งแต่ต้นนี้ว่า บขส. นั้นเป็นรัฐวิสาหกิจในการขนส่งคนทั่วประเทศ ที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรองรับการทำงานของบรรดาคนไร้อาชีพและอันธพาลในยุคนั้นให้ได้กลับตัวเป็นคนดี และมีที่ทางทำมาหากินทั่วประเทศ
ในขณะที่ ขสมก. นั้นจัดตั้งขึ้นในยุครัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่มาออกพระราชกฤษฎีกาเอาในสมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เพื่อรวบเอาการขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาดำเนินงานในรูปของรัฐวิสาหกิจ
ตลอดวิถีดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ ที่ได้กลายเป็นแหล่งทำมาหากินของนักการเมือง และมีการส่งลิ่วล้อบริวารของนักการเมืองไปผสมโรงกับข้าราชการร่วมกันบริหารรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้จนขาดทุนยับเยิน และในที่สุดกิจการก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน
กิจการของทั้งสองแห่งนี้เป็นเหมือนกัน คือตัวรัฐวิสาหกิจไม่สามารถจัดหารถมาบริการประชาชนได้อย่างเพียงพอ ต้องเปิดให้กิจการเอกชนเข้ามาร่วมเดินรถหรือที่เรียกกันว่ารถร่วม โดยเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งประโยชน์ตามอัตราที่กำหนด
ผลจากการดำเนินการแบบนั้น จึงทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้มีฐานะสามอย่างอยู่ในตัว คือ เป็นเจ้าของเส้นทางการเดินรถทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ อย่างหนึ่ง เป็นผู้ประกอบการเดินรถเองอย่างหนึ่ง และเป็นผู้อนุญาตให้เอกชนเดินรถร่วมอีกอย่างหนึ่ง
กิจการแบบนี้ต้องถือว่าเป็นการดำเนินกิจการที่ไม่มีความเป็นธรรม ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นต้นเหตุของการทุจริต
เพราะเมื่อเป็นผู้ที่มีอำนาจในการเดินรถเอง เป็นผู้ประกอบการเดินรถเอง ก็เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในตัว และเมื่อเป็นผู้ประกอบการเดินรถเอง กับการอนุญาตให้เอกชนเดินรถร่วมก็เกิดภาวะผลประโยชน์ขัดแย้งหรือทับซ้อนกัน หากจะไม่ให้ขัดแย้งหรือทับซ้อนกันก็ต้องมีผลประโยชน์นอกระบบเข้ามาเกลี่ย อันเป็นต้นตอของการทุจริตใหญ่ในรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้
การทุจริตและไร้ประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ก่อให้เกิดผลขาดทุนกับรัฐ ก่อให้เกิดภาระค้ำประกันแก่รัฐ ก่อให้เกิดภาวะชะงักงันในกิจการขนส่งทางบกของรัฐ และกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
บัดนี้เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูป ก็ย่อมถึงเวลาที่จะต้องปฏิรูปใหญ่รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ คงเหลือว่าจะปฏิรูปกันอย่างไร
ประการแรก จะให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ยังคงดำเนินกิจการต่างคนต่างทำกันต่อไป หรือว่าจะรวบเข้ากับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ จัดตั้งเป็นสำนักงานลงทุนแห่งชาติเหมือนกับที่อารยประเทศทั้งหลายเขาทำกัน
หรือว่าจะยุบเลิกคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด รวมทั้งสองแห่งนี้ แล้วให้เป็นอำนาจหน้าที่ของซูเปอร์บอร์ดเป็นผู้ใช้อำนาจคณะกรรมการแทน ซึ่งจะประหยัดและมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการขจัดไม่ให้เอารัฐวิสาหกิจไปแบ่งกันทำมาหากินตามกระทรวงต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา
ประการที่สอง ทั้ง บขส. และ ขสมก. ควรจะรับการปฏิรูปบทบาทตัวเองให้มีฐานะเป็นเพียงผู้ถือกฎ หรือ Ruler โดยยุติบทบาทในฐานะผู้ให้บริการขนส่ง หรือบทบาท Operator โดยให้เป็นภาระหน้าที่ของเอกชนในการที่จะขอรับบริการขนส่งตามเส้นทางต่างๆ ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวจะได้อนุญาต บนพื้นฐานของความสุจริต โปร่งใส อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนและรัฐอย่างเป็นธรรม
ประการที่สาม การชำระสะสางภาระหนี้สินและภาระค้ำประกัน ตลอดจนบุคลากรที่มีมากเกิน เพราะเต็มไปด้วยเด็กฝาก ลิ่วล้อบริวารนักการเมืองที่ส่งเข้ามารับเงินเดือนและค่าตอบแทนกันเป็นจำนวนมาก และมากจนกระทั่งรัฐวิสาหกิจแบกรับไม่ไหว
ทั้งสามประการนี้แหละคือแนวทางใหญ่ที่จะต้องตัดสินใจในการปฏิรูป เพราะหากปล่อยให้เป็นไปดังที่เป็นอยู่ก็จะเป็นปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ต้องเรื่องใหญ่โตอะไรมาก แค่เรื่องจัดซื้อจัดหารถบัสเอ็นจีวีของ ขสมก. ก็เป็นตัวอย่างที่กล่าวได้ว่าเป็นมหากาพย์แห่งการโกงข้ามภพข้ามชาติ 7 รัฐบาลให้เห็นมาแล้ว
โครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในรัฐบาลพรรคไทยรักไทยตั้งโครงการจัดหารถบัสใช้ก๊าซเอ็นจีวี 6,000 คัน ตั้งราคากันถึงคันละ 12 ล้านบาท ในขณะที่ราคาตลาดเพียงประมาณคันละ 3 ล้านบาทเท่านั้น เป็นโครงการโคตรโกงมหาโกงที่ยิ่งใหญ่แห่งยุค
การผลักดันโครงการเกือบจะเสร็จสิ้น แต่มีการยึดอำนาจปี 2549 เสียก่อน แม้กระนั้นก็ยังมีการผลักดันโครงการในยุค คมช. อีก แต่ก็ไม่สำเร็จ จากนั้นก็มาผลักดันกันต่อในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่สำเร็จ ถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ยังไม่สำเร็จอยู่นั่นเอง
ครั้นมาถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังมีความดิ้นรนที่จะผลักดันโครงการนี้ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนล่วงมาถึงรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ปรับปรุงโครงการมาผลักดันกันใหม่ คือลดจำนวนลงเหลือเพียงเกือบ 4,000 คัน และลดราคาลงเหลือคันละประมาณ 6 ล้านบาท ผลักดันกันร่วมสามปีแต่ก็ไม่สำเร็จ
จนกระทั่งมีการยึดอำนาจ ขบวนการเชื้อชั่วไม่กลัวตายก็ยังคงต่อยอดเดินหน้าโครงการนี้ต่อ แล้วหวังว่าจะเป็นยาอายุวัฒนะให้กับผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ก็มีคำสั่งให้ระงับโครงการดังกล่าวทันที
และให้ทบทวนโครงการนี้เสียใหม่ ให้เกิดความโปร่งใส ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และ ขสมก. และให้มีจำนวนรถที่เพียงพอในการให้บริการแก่ประชาชนด้วย
ไม่ใช่แอบกินคำเล็ก แต่จะกินหลายๆ คำ ตามแผนที่วางกันไว้
เนื่องเพราะโครงการนี้ดำเนินงานมาช้านานถึง 7 รัฐบาลแล้ว จำนวนรถที่ให้บริการประชาชนก็ขาดแคลนมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว ผู้ใช้บริการก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้า หากใช้วิธีการธรรมดาเหมือนที่ผ่านมา ขบวนการเชื้อชั่วไม่กลัวตายก็คงจะเข้าไปแทรกแซงจนไม่เป็นอันทำสิ่งที่ถูกต้องอยู่นั่นเอง
เรื่องนี้จึงต้องทำให้เป็นแบบอย่างสักเรื่องหนึ่ง นั่นคือ คสช. ควรจัดคณะกรรมการพิเศษเจรจาจัดหารถดังกล่าวจากผู้ผลิตรายที่กำลังเจรจากันอยู่นี้แหละ ก็จะได้ราคาเพียงคันละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น.