ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองประสิทธิภาพการใช้พลังงานไทยต่ำกว่าคู่แข่งในอาเซียน ควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนส่งทางน้ำและทางราง และมองการผลักดันพลังงานทางเลือกอย่างจริงจังจะเป็นทางออกสำคัญให้ประเทศ
เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคการขนส่งของไทยพึ่งพิงการขนส่งทางถนนเป็นหลัก หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของการขนส่งทั้งระบบ ในขณะที่การขนส่งทางน้ำและทางรางมีเพียง ร้อยละ 18 และ ร้อยละ 2 เท่านั้น จากการศึกษาของกระทรวงคมนาคมชี้ให้เห็นว่า ต้นทุนของการขนส่งทางถนนนั้น สูงถึง 1.72 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร มากกว่าต้นทุนการขนส่งทางน้ำและทางรางถึง 2.7 เท่าและ 1.8 เท่าตามลำดับ
และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยกับประเทศอื่นๆ ผ่านการสำรวจของ World Economic Forum ในปี 2556 จะเห็นได้ว่าอันดับของระบบโครงสร้างพื้นฐานในไทยนั้น ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 61 จาก 148 ประเทศทั่วโลกในด้านคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานโดยรวม จากเดิมที่เคยอยู่ที่อันดับ 46 ในปี 2553 โดยระบบการขนส่งทางรางนับเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงที่สุด ซึ่งประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ที่อันดับ 72 ของโลก แย่กว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย (อันดับ 18) อินโดนีเซีย (อันดับ 44) และเวียดนาม (อันดับ 58) และนำหน้าแค่เพียงฟิลิปปินส์ (อันดับ 89) ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะเท่านั้น
ข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงภาพที่น่าเป็นห่วงว่า นอกจากไทยจะใช้รูปแบบการขนส่งที่มีต้นทุนสูง ซึ่งส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียพลังงานไปกับภาคการขนส่งเป็นอย่างมากแล้ว คุณภาพของระบบการขนส่งยังแย่ลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวถูกสะท้อนผ่านปริมาณการใช้พลังงานของไทยซึ่งปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ไทยไม่มีแหล่งพลังงานของตัวเองให้ใช้ในประเทศได้อย่างเพียงพอ ทำให้ต้องเสียเงินเพื่อนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปีละกว่าล้านล้านบาท
นอกจากนี้ เราพบว่า ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำมันและขนาดเศรษฐกิจของไทยยังขยายตัวในระดับใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ขนาดเศรษฐกิจของไทยในปี 2555 มีขนาดเป็น 1.5 เท่าของขนาดเศรษฐกิจในปี 2545
ส่วนการใช้น้ำมันในปี 2555 มีขนาดเป็น 1.3 เท่า ของปี 2545 หรืออีกนัยหนึ่ง หากเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพิ่มร้อยละ 1 ก็ต้องเพิ่มการใช้น้ำมันในอัตราที่ใกล้กัน ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่แข่งส่วนมากสามารถขยายตัวเร็วได้กว่าการใช้น้ำมัน และ มิหนำซ้ำ ประเทศคู่แข่งในอาเซียนของเรา เช่น ฟิลิปปินส์ มีการใช้น้ำมันลดลง แต่เศรษฐกิจกลับขยายตัวได้มากกว่าไทย หรือ มาเลเซียที่มีปริมาณการใช้น้ำมันขยายตัวเท่ากับไทย แต่เศรษฐกิจของเขากลับขยายตัวได้มากกว่า เพราะฉะนั้น ทำให้
สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของไทยให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจนั้น ยังด้อยกว่าประเทศคู่แข่งหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนัก สิ่งที่น่าสังเกตเพิ่มเติมคือ ประเทศคู่แข่งหลายประเทศนั้น หันไปสนับสนุนพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติของตนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การที่ฟิลิปปินส์หันมาใช้พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนจากใต้โลกอย่างจริงจัง เป็นต้น
เป็นที่แน่นอนว่า ต้นทุนการขนส่งที่อยู่ในระดับสูงจากการพัฒนาการขนส่งไทยที่ให้ความสำคัญทางถนนมากกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ มาตลอด นับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ฉุดรั้งความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว ซึ่งนำไปสู่แผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมด้านอื่นๆ ที่ต้องเร่งให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด อีกทั้ง การวางแผนสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกให้สอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศนับเป็นอีกประเด็นที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว
เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคการขนส่งของไทยพึ่งพิงการขนส่งทางถนนเป็นหลัก หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของการขนส่งทั้งระบบ ในขณะที่การขนส่งทางน้ำและทางรางมีเพียง ร้อยละ 18 และ ร้อยละ 2 เท่านั้น จากการศึกษาของกระทรวงคมนาคมชี้ให้เห็นว่า ต้นทุนของการขนส่งทางถนนนั้น สูงถึง 1.72 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร มากกว่าต้นทุนการขนส่งทางน้ำและทางรางถึง 2.7 เท่าและ 1.8 เท่าตามลำดับ
และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยกับประเทศอื่นๆ ผ่านการสำรวจของ World Economic Forum ในปี 2556 จะเห็นได้ว่าอันดับของระบบโครงสร้างพื้นฐานในไทยนั้น ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 61 จาก 148 ประเทศทั่วโลกในด้านคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานโดยรวม จากเดิมที่เคยอยู่ที่อันดับ 46 ในปี 2553 โดยระบบการขนส่งทางรางนับเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงที่สุด ซึ่งประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ที่อันดับ 72 ของโลก แย่กว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย (อันดับ 18) อินโดนีเซีย (อันดับ 44) และเวียดนาม (อันดับ 58) และนำหน้าแค่เพียงฟิลิปปินส์ (อันดับ 89) ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะเท่านั้น
ข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงภาพที่น่าเป็นห่วงว่า นอกจากไทยจะใช้รูปแบบการขนส่งที่มีต้นทุนสูง ซึ่งส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียพลังงานไปกับภาคการขนส่งเป็นอย่างมากแล้ว คุณภาพของระบบการขนส่งยังแย่ลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวถูกสะท้อนผ่านปริมาณการใช้พลังงานของไทยซึ่งปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ไทยไม่มีแหล่งพลังงานของตัวเองให้ใช้ในประเทศได้อย่างเพียงพอ ทำให้ต้องเสียเงินเพื่อนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปีละกว่าล้านล้านบาท
นอกจากนี้ เราพบว่า ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำมันและขนาดเศรษฐกิจของไทยยังขยายตัวในระดับใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ขนาดเศรษฐกิจของไทยในปี 2555 มีขนาดเป็น 1.5 เท่าของขนาดเศรษฐกิจในปี 2545
ส่วนการใช้น้ำมันในปี 2555 มีขนาดเป็น 1.3 เท่า ของปี 2545 หรืออีกนัยหนึ่ง หากเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพิ่มร้อยละ 1 ก็ต้องเพิ่มการใช้น้ำมันในอัตราที่ใกล้กัน ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่แข่งส่วนมากสามารถขยายตัวเร็วได้กว่าการใช้น้ำมัน และ มิหนำซ้ำ ประเทศคู่แข่งในอาเซียนของเรา เช่น ฟิลิปปินส์ มีการใช้น้ำมันลดลง แต่เศรษฐกิจกลับขยายตัวได้มากกว่าไทย หรือ มาเลเซียที่มีปริมาณการใช้น้ำมันขยายตัวเท่ากับไทย แต่เศรษฐกิจของเขากลับขยายตัวได้มากกว่า เพราะฉะนั้น ทำให้
สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของไทยให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจนั้น ยังด้อยกว่าประเทศคู่แข่งหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนัก สิ่งที่น่าสังเกตเพิ่มเติมคือ ประเทศคู่แข่งหลายประเทศนั้น หันไปสนับสนุนพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติของตนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การที่ฟิลิปปินส์หันมาใช้พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนจากใต้โลกอย่างจริงจัง เป็นต้น
เป็นที่แน่นอนว่า ต้นทุนการขนส่งที่อยู่ในระดับสูงจากการพัฒนาการขนส่งไทยที่ให้ความสำคัญทางถนนมากกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ มาตลอด นับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ฉุดรั้งความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว ซึ่งนำไปสู่แผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมด้านอื่นๆ ที่ต้องเร่งให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด อีกทั้ง การวางแผนสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกให้สอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศนับเป็นอีกประเด็นที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว