แบงก์คาดประชุม กนง.รอบพุธนี้ ยังคงดอกเบี้ยรอความชัดเจนทางการเมือง เตือนรับมือปีหน้าสภาพคล่องตึงตัวแน่ หลังสหรัฐฯ เบรก QE
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics)ประเมินทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้หมดโอกาสจะได้เห็นดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้น จากเศรษฐกิจซบเซาจากพิษการเมือง ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจไม่ได้เห็นจนกระทั่งไตรมาส 4 รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่ยังต้องการการประคับประคอง ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยยังกลับมาเป็นขาขึ้นไม่ได้ ดังนั้น กนง. น่าจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินไปอีกระยะหนึ่งภายหลังการเมืองมีสัญญาณคลี่คลาย
ส่วนการประชุมวันพุธที่ 23 เม.ย. ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะเลือกลดดอกเบี้ยอีกภายในปีนี้เพื่อช่วยพยุงธุรกิจ หากทิศทางเศรษฐกิจชะลอลงเพิ่มเติม แต่ กนง. ยังไม่น่าจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ เพราะแม้การลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระทางการเงิน แต่ปัญหาหลักของเศรษฐกิจไทยในตอนนี้นั้นไม่ใช่ต้นทุน แต่อยู่ที่รายได้จากการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถขายของได้เหมือนเก่า และกำลังซื้อของผู้บริโภคก็ยังอ่อนแรง
อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 จะมีหลายปัจจัยที่กดดันให้นโยบายการเงินของไทยเข้าสู่ภาวะปกติ (Normalization) จากที่ผ่อนคลายมาเป็นระยะเวลาพอสมควรในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้นตามวัฏจักรเศรษฐกิจโลก โมเมนตัมของการขยายตัวในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วที่จะแข็งแกร่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ซับไพรม์ ส่งผลให้สภาวะสภาพคล่องทั่วโลกกลับสู่แนวโน้มตึงตัว ในสถานการณ์เช่นนี้ หาก กนง. ยังมีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอยู่ นอกจากจะสร้างความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศอาจทะลุกรอบนโยบายแล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนข้ามชาติจะไหลออกจากไทย กระทบเสถียรภาพในตลาดการเงิน สร้างผลลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของไทยอีกต่อหนึ่ง
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในการประชุม กนง.รอบวันที่ 23 เมษายน 2557 นี้ กนง.น่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.00% เพื่อช่วยประคับประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมือง และรอติดตามทิศทางของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าให้ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่าแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยไทยในอนาคตคงจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งปัจจัยทางด้านเสถียรภาพ เช่น สถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือน เงินเฟ้อ และกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นต้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics)ประเมินทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้หมดโอกาสจะได้เห็นดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้น จากเศรษฐกิจซบเซาจากพิษการเมือง ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจไม่ได้เห็นจนกระทั่งไตรมาส 4 รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่ยังต้องการการประคับประคอง ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยยังกลับมาเป็นขาขึ้นไม่ได้ ดังนั้น กนง. น่าจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินไปอีกระยะหนึ่งภายหลังการเมืองมีสัญญาณคลี่คลาย
ส่วนการประชุมวันพุธที่ 23 เม.ย. ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะเลือกลดดอกเบี้ยอีกภายในปีนี้เพื่อช่วยพยุงธุรกิจ หากทิศทางเศรษฐกิจชะลอลงเพิ่มเติม แต่ กนง. ยังไม่น่าจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ เพราะแม้การลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระทางการเงิน แต่ปัญหาหลักของเศรษฐกิจไทยในตอนนี้นั้นไม่ใช่ต้นทุน แต่อยู่ที่รายได้จากการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถขายของได้เหมือนเก่า และกำลังซื้อของผู้บริโภคก็ยังอ่อนแรง
อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 จะมีหลายปัจจัยที่กดดันให้นโยบายการเงินของไทยเข้าสู่ภาวะปกติ (Normalization) จากที่ผ่อนคลายมาเป็นระยะเวลาพอสมควรในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้นตามวัฏจักรเศรษฐกิจโลก โมเมนตัมของการขยายตัวในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วที่จะแข็งแกร่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ซับไพรม์ ส่งผลให้สภาวะสภาพคล่องทั่วโลกกลับสู่แนวโน้มตึงตัว ในสถานการณ์เช่นนี้ หาก กนง. ยังมีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอยู่ นอกจากจะสร้างความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศอาจทะลุกรอบนโยบายแล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนข้ามชาติจะไหลออกจากไทย กระทบเสถียรภาพในตลาดการเงิน สร้างผลลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของไทยอีกต่อหนึ่ง
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในการประชุม กนง.รอบวันที่ 23 เมษายน 2557 นี้ กนง.น่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.00% เพื่อช่วยประคับประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมือง และรอติดตามทิศทางของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าให้ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่าแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยไทยในอนาคตคงจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งปัจจัยทางด้านเสถียรภาพ เช่น สถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือน เงินเฟ้อ และกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นต้น