พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธาน คปต. เป็นประธานประชุมว่า ที่ประชุมรับทราบการรายงานสถานการณ์ด้านการข่าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 98/2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 96/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรับทราบมติ คสช. อนุมัติการก่อสร้างถนนที่มีส่วนผสมยางพารา จำนวน 37 เส้นทาง ในส่วนสถิติเหตุการณ์ด้านความมั่นคงที่ภาครัฐกับภาคประชาสังคมมีข้อสรุปไม่ตรงกัน อันจะส่งผลถึงการรับรู้ขององค์การระหว่างประเทศด้วย จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเสริมสร้างความเข้าใจตั้งแต่ระดับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ โดยยึดถือตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกลุ่มภารกิจงานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยที่ประชุมเห็นชอบมาตรการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ การปรับปรุงระบบทะเบียนบุคคลและยานพาหนะ การอนุโลมไม่สวมใส่หมวกป้องกันศีรษะในเขตเมือง เสริมด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษ
ทั้งนี้ ขอให้เชิญภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ด้วย โดยเฉพาะในเขต Safety Zone เพื่อให้เกิดการยอมรับข้อจำกัดในการสัญจรตามปกติ
พ.อ.บรรพต กล่าวต่อไปว่า กลุ่มภารกิจงานอำนวยความยุติธรรมและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้การอำนวยความสะดวกภายใต้ความเป็นธรรม กระบวนการยุติธรรมทางเลือก การสืบพยานผ่าน Teleconference การเยี่ยมผู้ต้องขังทางไกลผ่านจอภาพ มาตรการคุ้มครองพยาน รวมถึงแนวทางการบูรณาการงานด้านนิติวิทยาศาสตร์กลุ่มภารกิจงานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และการขับเคลื่อนนโยบาย เป็นกลุ่มงานที่กำหนดขึ้นมาใหม่ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 โดยมี สมช.เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก เพื่อเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ก่อนการปฏิบัติงาน การสนับสนุนหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และการพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐกลุ่มภารกิจงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี
ทั้งนี้ กอ.รมน.ได้นำเสนอการจัดตั้งคณะทำงาน จำนวน 4 คณะทำงาน เพื่อให้ครอบคลุมสาระสำคัญของงาน ซึ่ง สมช.จะได้นำไปรวบรวมเร่งรัดจัดทำแผนการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ ในภาพรวมทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยขอให้มาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกต่อไป และไม่นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนหรือเขตปกครองพิเศษ ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนดำเนินการไว้ 3 ขั้นตอนคือ การเตรียมความพร้อมในพื้นที่ การลงสัตยาบันเมื่อการพูดคุย สามารถตกลงกันได้ในระดับที่สมควร และการจัดทำ Road map ร่วมกันอย่างไรก็ตาม การบูรณาการแผนงาน โครงการ ตามกรอบคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2558 ให้สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายของ กอ.รมน.ภาค 4ส่วนหน้าที่ประชุมให้ยึดถือกรอบแนวทางตามแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558-2560 กำหนดความเร่งด่วน 4 เรื่องคือ เรื่องสังคม จังหวัดชายแดนใต้มีความปลอดภัยและปกติสุข เรื่องการอำนวยความยุติธรรม เรื่องการเสริมสร้างความเข้าใจและการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง และเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ขอให้เชิญภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ด้วย โดยเฉพาะในเขต Safety Zone เพื่อให้เกิดการยอมรับข้อจำกัดในการสัญจรตามปกติ
พ.อ.บรรพต กล่าวต่อไปว่า กลุ่มภารกิจงานอำนวยความยุติธรรมและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้การอำนวยความสะดวกภายใต้ความเป็นธรรม กระบวนการยุติธรรมทางเลือก การสืบพยานผ่าน Teleconference การเยี่ยมผู้ต้องขังทางไกลผ่านจอภาพ มาตรการคุ้มครองพยาน รวมถึงแนวทางการบูรณาการงานด้านนิติวิทยาศาสตร์กลุ่มภารกิจงานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และการขับเคลื่อนนโยบาย เป็นกลุ่มงานที่กำหนดขึ้นมาใหม่ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 โดยมี สมช.เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก เพื่อเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ก่อนการปฏิบัติงาน การสนับสนุนหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และการพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐกลุ่มภารกิจงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี
ทั้งนี้ กอ.รมน.ได้นำเสนอการจัดตั้งคณะทำงาน จำนวน 4 คณะทำงาน เพื่อให้ครอบคลุมสาระสำคัญของงาน ซึ่ง สมช.จะได้นำไปรวบรวมเร่งรัดจัดทำแผนการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ ในภาพรวมทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยขอให้มาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกต่อไป และไม่นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนหรือเขตปกครองพิเศษ ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนดำเนินการไว้ 3 ขั้นตอนคือ การเตรียมความพร้อมในพื้นที่ การลงสัตยาบันเมื่อการพูดคุย สามารถตกลงกันได้ในระดับที่สมควร และการจัดทำ Road map ร่วมกันอย่างไรก็ตาม การบูรณาการแผนงาน โครงการ ตามกรอบคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2558 ให้สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายของ กอ.รมน.ภาค 4ส่วนหน้าที่ประชุมให้ยึดถือกรอบแนวทางตามแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558-2560 กำหนดความเร่งด่วน 4 เรื่องคือ เรื่องสังคม จังหวัดชายแดนใต้มีความปลอดภัยและปกติสุข เรื่องการอำนวยความยุติธรรม เรื่องการเสริมสร้างความเข้าใจและการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง และเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต