ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจแดนอาทิตย์อุทัยถอยหลังเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน อันเป็นผลจากการขึ้นภาษีการขายในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดคำถามเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่า อนาคตช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจกลับมาสดใสอีกครั้ง
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เมื่อวันอังคาร (1 ก.ค.) เผยแพร่ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ หรือ “ดัชนีตังกัง” ประจำไตรมาส 2 ซึ่งพบว่า ความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ +12 ต่ำกว่ามากจากการคาดการณ์ในตลาด หลังจากที่ไตรมาสก่อนหน้าทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 6 ปีที่ +17
นอกจากนั้น ยังถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2002 พร้อมคำมั่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น อีกทั้งยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวของแดนอาทิตย์อุทัย
สำหรับความเชื่อมั่นในหมู่บริษัทขนาดใหญ่นอกภาคการผลิต ได้ลดลงอยู่ที่ +19 จาก +24 ในไตรมาสแรก ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสเช่นเดียวกัน
ดัชนีตังกังมุ่งที่จะชี้ความแตกต่างระหว่างจำนวนบริษัทที่มีความเชื่อมั่น กับบริษัทที่มองว่าสภาพแวดล้อมธุรกิจไม่เอื้ออำนวย โดยค่าบวกหมายความว่า พวกผู้จัดการธุรกิจที่มองแนวโน้มแง่บวกนั้น มีจำนวนมากกว่าพวกผู้จัดการธุรกิจที่มองแง่ลบ
การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทญี่ปุ่นกว่า 1,000 แห่งในทุกๆ ไตรมาสที่ดำเนินการโดยแบงก์ชาตินี้ เห็นกันว่าครอบคลุมและน่าเชื่อถือที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสำรวจในคราวนี้ ซึ่งดัชนีนี้กลายเป็นตัวบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจญี่ปุ่นรับมืออย่างไรกับผลกระทบจากการขึ้นภาษีการขายครั้งแรกในรอบ 17 ปี
ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดฮวบนับตั้งแต่รัฐบาลขึ้นภาษีการขายจาก 5% เป็น 8% เมื่อวันที่ 1 เมษายน โดยอุตสาหกรรมที่เจ็บตัวมากที่สุดคือรถยนต์และค้าปลีก
ถึงแม้เป็นที่ยอมรับกันว่า มาตรการนี้มีความจำเป็นสำหรับการลดหนี้สินภาคสาธารณะจำนวนมหาศาลของญี่ปุ่น แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความกังวลกันว่า อาจทำให้การเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจหยุดชะงัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศึกษาจากบทเรียนในอดีต กล่าวคือครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่นขึ้นภาษีการขายในปี 1997 นั้น ได้นำไปสู่ภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจเติบโตแบบเซื่องซึมนานหลายปี
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เมื่อวันอังคาร (1 ก.ค.) เผยแพร่ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ หรือ “ดัชนีตังกัง” ประจำไตรมาส 2 ซึ่งพบว่า ความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ +12 ต่ำกว่ามากจากการคาดการณ์ในตลาด หลังจากที่ไตรมาสก่อนหน้าทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 6 ปีที่ +17
นอกจากนั้น ยังถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2002 พร้อมคำมั่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น อีกทั้งยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวของแดนอาทิตย์อุทัย
สำหรับความเชื่อมั่นในหมู่บริษัทขนาดใหญ่นอกภาคการผลิต ได้ลดลงอยู่ที่ +19 จาก +24 ในไตรมาสแรก ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสเช่นเดียวกัน
ดัชนีตังกังมุ่งที่จะชี้ความแตกต่างระหว่างจำนวนบริษัทที่มีความเชื่อมั่น กับบริษัทที่มองว่าสภาพแวดล้อมธุรกิจไม่เอื้ออำนวย โดยค่าบวกหมายความว่า พวกผู้จัดการธุรกิจที่มองแนวโน้มแง่บวกนั้น มีจำนวนมากกว่าพวกผู้จัดการธุรกิจที่มองแง่ลบ
การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทญี่ปุ่นกว่า 1,000 แห่งในทุกๆ ไตรมาสที่ดำเนินการโดยแบงก์ชาตินี้ เห็นกันว่าครอบคลุมและน่าเชื่อถือที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสำรวจในคราวนี้ ซึ่งดัชนีนี้กลายเป็นตัวบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจญี่ปุ่นรับมืออย่างไรกับผลกระทบจากการขึ้นภาษีการขายครั้งแรกในรอบ 17 ปี
ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดฮวบนับตั้งแต่รัฐบาลขึ้นภาษีการขายจาก 5% เป็น 8% เมื่อวันที่ 1 เมษายน โดยอุตสาหกรรมที่เจ็บตัวมากที่สุดคือรถยนต์และค้าปลีก
ถึงแม้เป็นที่ยอมรับกันว่า มาตรการนี้มีความจำเป็นสำหรับการลดหนี้สินภาคสาธารณะจำนวนมหาศาลของญี่ปุ่น แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความกังวลกันว่า อาจทำให้การเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจหยุดชะงัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศึกษาจากบทเรียนในอดีต กล่าวคือครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่นขึ้นภาษีการขายในปี 1997 นั้น ได้นำไปสู่ภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจเติบโตแบบเซื่องซึมนานหลายปี