พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีสหรัฐฯ ประกาศผลการจัดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ โดยให้ประเทศไทยหลุดจากบัญชี 2 ประเทศต้องจับตา ไปอยู่บัญชี 3 ว่า ส่วนตัวรู้สึกผิดหวัง เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพยายามทำงานอย่างเต็มที่ และมองว่าไทยมีพัฒนาการในการปรับตัวอยู่ ดังนั้น การประกาศลดอันดับจึงอาจไม่ตรงกับความรู้สึกของผู้ที่ทำงาน โดยเฉพาะสถิติการจับกุมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา มีเพิ่มขึ้นอย่างเป็นที่น่าพอใจ
อย่างไรก็ตาม ตนยังไม่เห็นข้อสังเกตในรายงานของประเทศสหรัฐฯ แต่มองว่าประเด็นการพิจารณาของสหรัฐฯ อาจมองปัจจัยอื่น เช่น การบังคับใช้กฎหมายกับแรงงานภาคประมง และโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและไปทำงาน ทำให้ถูกมองว่าเป็นการค้ามนุษย์
ส่วนกรณีที่มีเจ้าหน้าที่รับเข้าไปเกี่ยวข้องในขบวนการ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการจับกุมดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐได้เลย ซึ่งประเด็นนี้อยากชี้แจงว่ากฎหมายกำหนดโทษเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ไว้หนักกว่าคนทั่วไป แต่ในการดำเนินคดีต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน เพราะไม่สามารถดำเนินคดีจากความรู้สึกประกอบกับกรณีที่มีการพิจารณาจัดอันดับจากข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน 2556 - 31 มีนาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงคร่อมปี ทำให้ถูกมองว่ายังไม่มีความพยายามเพียงพอในการแก้ไขปัญหา
สำหรับผลกระทบที่ไทยจะได้รับ อาจไม่ถึงขั้นถูกตัดความช่วยเหลือ แต่จะได้รับผลกระทบทางจิตวิทยา ในเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศว่าเป็นประเทศที่โหดร้าย มีการใช้แรงงานค้ามนุษย์ ส่วนสินค้าส่งออกจะถูกมองว่าเป็นสินค้าที่มาจากแรงงานค้ามนุษย์หรือแรงงานทาส หลังจากนี้ทุกฝ่ายในกระบวนการต้องเดินหน้าทำงานให้เต็มที่ ทั้งดีเอสไอ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) และศาล ต้องหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษ ซึ่งการจะปรับเพิ่มอันดับหรือไม่ สหรัฐฯ จะมีการพิจารณาข้อมูลเป็นรายปี ทั้งนี้ ยืนยันว่าทุกรัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาค้ามนุษย์ รวมถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีประกาศคำสั่งชัดเจนในการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์
อย่างไรก็ตาม ตนยังไม่เห็นข้อสังเกตในรายงานของประเทศสหรัฐฯ แต่มองว่าประเด็นการพิจารณาของสหรัฐฯ อาจมองปัจจัยอื่น เช่น การบังคับใช้กฎหมายกับแรงงานภาคประมง และโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและไปทำงาน ทำให้ถูกมองว่าเป็นการค้ามนุษย์
ส่วนกรณีที่มีเจ้าหน้าที่รับเข้าไปเกี่ยวข้องในขบวนการ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการจับกุมดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐได้เลย ซึ่งประเด็นนี้อยากชี้แจงว่ากฎหมายกำหนดโทษเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ไว้หนักกว่าคนทั่วไป แต่ในการดำเนินคดีต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน เพราะไม่สามารถดำเนินคดีจากความรู้สึกประกอบกับกรณีที่มีการพิจารณาจัดอันดับจากข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน 2556 - 31 มีนาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงคร่อมปี ทำให้ถูกมองว่ายังไม่มีความพยายามเพียงพอในการแก้ไขปัญหา
สำหรับผลกระทบที่ไทยจะได้รับ อาจไม่ถึงขั้นถูกตัดความช่วยเหลือ แต่จะได้รับผลกระทบทางจิตวิทยา ในเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศว่าเป็นประเทศที่โหดร้าย มีการใช้แรงงานค้ามนุษย์ ส่วนสินค้าส่งออกจะถูกมองว่าเป็นสินค้าที่มาจากแรงงานค้ามนุษย์หรือแรงงานทาส หลังจากนี้ทุกฝ่ายในกระบวนการต้องเดินหน้าทำงานให้เต็มที่ ทั้งดีเอสไอ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) และศาล ต้องหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษ ซึ่งการจะปรับเพิ่มอันดับหรือไม่ สหรัฐฯ จะมีการพิจารณาข้อมูลเป็นรายปี ทั้งนี้ ยืนยันว่าทุกรัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาค้ามนุษย์ รวมถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีประกาศคำสั่งชัดเจนในการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์