รอยเตอร์สอ้างจากร่างเอกสารที่พบเห็นในวันพุธ(18) ระบุสหภาพยุโรปจะชะลอการลงนามข้อตกกระชับความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นขึ้นกับไทย และเรียกร้องให้ประเทศแห่งนี้คืยนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว ตามหลังการรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ผู้บัญชาการทหารบก เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ประกาศคืนความสงบเรียบร้อยและผลักดันปฏิรูป ตามหลัง 6 เดือนแห่งความยุ่งเหยิงทางการเมือง
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานโดยอ้างร่างเอกสารที่คาดหมายว่าทางเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มจะให้การรับรองในวันจันทร์หน้า(23) ระบุว่าทางสหภาพยุโรปจะระงับการเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน และเหล่าชาติสมาชิกจะไม่ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ(Partnership and Cooperation Agreement – PCA) กับไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
"ส่วนข้อตกลงอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม ด้วยชาติสมาชิกอียูได้เริ่มทบทวนความร่วมมือทางทหารกับไทยแล้ว" ร่างเอกสารระบุ อย่างไรก็ตามรอยเตอร์สรายงานว่ามันยังต้องผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าที่อียูและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
กรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ผ่านการรับรอง โดยมันจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การจ้างงาน การศึกษา ปัญหาผู้อพยพ การขนส่งและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับเปิดทางพูดคุยเจรจาทางการเมืองใกล้ชิดขึ้น
อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีจะได้รับผลกระทบหรือไม่
พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ผู้บัญชาการทหารบก เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ประกาศคืนความสงบเรียบร้อยและผลักดันปฏิรูป ตามหลัง 6 เดือนแห่งความยุ่งเหยิงทางการเมือง
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานโดยอ้างร่างเอกสารที่คาดหมายว่าทางเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มจะให้การรับรองในวันจันทร์หน้า(23) ระบุว่าทางสหภาพยุโรปจะระงับการเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน และเหล่าชาติสมาชิกจะไม่ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ(Partnership and Cooperation Agreement – PCA) กับไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
"ส่วนข้อตกลงอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม ด้วยชาติสมาชิกอียูได้เริ่มทบทวนความร่วมมือทางทหารกับไทยแล้ว" ร่างเอกสารระบุ อย่างไรก็ตามรอยเตอร์สรายงานว่ามันยังต้องผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าที่อียูและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
กรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ผ่านการรับรอง โดยมันจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การจ้างงาน การศึกษา ปัญหาผู้อพยพ การขนส่งและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับเปิดทางพูดคุยเจรจาทางการเมืองใกล้ชิดขึ้น
อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีจะได้รับผลกระทบหรือไม่