นายสมเถา สุจริตกุล วาทยากร และนักเขียนชื่อดัง ได้เขียนจดหมายแสดงความคิดเห็นถึง จอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่ วันที่ 1 มิ.ย.2557 ที่ผ่านมา โดยเนื้อความในจดหมาย มีดังนี้
"ภายหลังจากที่คุณ (จอห์น แคร์รี) ได้ออกโรงประณามเกี่ยวกับการเข้ายึดอำนาจของกองทัพไทย ผมมั่นใจว่า คุณได้รับจดหมายจำนวนมาก ทั้งที่สนับสนุน และไม่เห็นด้วยจากคนไทยหลายคน ที่มาจากหลายสีทางการเมือง
แม้ว่า ผมจะเกิดในประเทศไทย และถูกมองว่าเป็นคนที่มีบทบาทในกลุ่มบุคคลที่มีการศึกษาในประเทศนี้ ผมไม่ได้เขียนถึงคุณในฐานะคนไทย ทว่า เขียนในฐานะพลเมืองสหรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตและโหวตให้กับหัวหน้าของคุณ (ประธานาธิบดีบารัก โอบามา) 2 ครั้ง และเป็นคนที่เลือกทางเดินที่เป็นเสรีในการลงคะแนนเสียงเกี่ยวการเสนอร่าง กฎหมายของรัฐ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ ผมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของฐานเสียงของคุณ
คุณอาจจะได้รับรู้ว่า ขณะนี้ได้เกิดความรู้สึกต่อต้านคนอเมริกัน ในกรุงเทพนับตั้งแต่ที่คุณออกโรงประณามด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยผมได้ใช้เวลาอย่างมาก ในการอธิบายให้กับคนไทยที่สับสนถึงสาเหตุว่าทำไม สหรัฐต้องแสดงตัวประณามไทย เมื่อมีการเข้ายึดอำนาจของกองทัพ ผมบอกว่า สหรัฐจะไม่เป็นสหรัฐ ถ้าหากแสดงความสนับสนุนการทำรัฐประหารอย่างเปิดเผย และผมยังอธิบายด้วยว่า ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้มาตรการคว่ำบาตร เพราะในสหรัฐ หลักนิติธรรมนั้นไม่ใช่แค่การสรรเสริญแต่ปาก เพราะ คนอเมริกันจะไม่โจมตีกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม โดยการแสดงการต่อต้าน แต่จะทำการล็อบบี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม เห็นได้อย่างชัดเจนจากน้ำเสียงและบทวิจารณ์ที่ค่อนข้างรุนแรงของคุณที่แสดง ว่า คุณยังไม่ได้รับการชี้แจงรายละเอียดของสถานการณ์อย่างถ่องแท้ตั้งแต่ต้น
พันธสัญญาของสหรัฐที่ปราศจากการมองเห็นคุณค่าที่แท้ถูกส่งเสริมให้เป็นค่านิยมหลักไปทั่วโลก ปฏิกิริยาของประชาชนชาวไทยต่อถ้อยแถลงของคุณคงจะเหมือนกับปฏิกิริยาการโกรธ แค้นในสหรัฐ เมื่อมีผู้ได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาขโมยพิซซ่า ตามแนวคิดของกฎหมายที่เรียกว่า “ทรี สไตร์คส ลอว์” ของอเมริกัน (ซึ่งเป็นกฎหมายที่แนวคิดให้ลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดให้หนักขึ้น หากบุคคลนั้นกระทำความผิดซ้ำ) โดยไม่ให้ผู้พิพากษาได้แสดงความคิดเห็นในการตัดสินพิพากษา ในที่สุดก็พิสูจน์ได้ว่ากฎหมายฉบับนั้นเป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น และคุณควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองแบบอัตโนมัติจากสหรัฐเกี่ยวกับการทำรัฐประหารของไทยในครั้งนี้ อาจกลายเป็นจุดยืนที่คุณอาจถูกบังคับให้สหรัฐต้องคืนคำ หากคุณได้รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ไทยเพิ่มเติม
ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องจัดระเบียบพฤติกรรมที่เกินขอบเขตของระบอบการปกครองแบบทักษิณ (Thaksinite administrations) โดยที่ หลายคนส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์โหวกเหวกเกี่ยวกับประเด็นการฆ่าตัดตอน การบิดเบือนกฎหมายหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากสื่อมวลชน และเพิ่มพูนความร่ำรวยให้ตนเองและพวกพ้องด้วยการโกงกิน อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่า การกล่าวอ้างว่า "พวกเราได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นจึงน่าจะสามารถทำสิ่งที่ต้องการได้" นับเป็นความล้มเหลวของพวกเขาในการเข้าใจหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตย
ในเวลาเดียวกัน พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งทำให้การเลือกตั้งล้มครืนไม่เป็นท่าและคุกคามผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนี้ ก็ล้มเหลวในการทำความเข้าใจหลักการในการทำข้อตกลงตามแนวทางประชาธิปไตย ซึ่งก็คือเมื่อพ่ายแพ้การเลือกตั้ง งานที่ต้องทำก็คือพิสูจน์ให้ผู้สิทธิ์ลงคะแนนได้ตระหนักว่าแผนการแนวทางของ พรรคดีกว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ใช่การพยายามโค่นล้มรัฐบาลด้วยพลังมวลชน
ทั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินการเข้ามายึดอำนาจของกลุ่มใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนอกระบบหรือทหาร แต่การพูดว่าการรัฐประหารในครั้งนี้ไร้ซึ่งอำนาจอันชอบธรรมด้วยกฎหมาย ก็ถือเป็นคำที่อันตรายร้ายแรงซึ่งปราศจากการรับข้อมูลหรือตีความสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นผิดแผกไป
ทุกความพยายามของเสียงเรียกร้องของเหตุผลจากทุกภาคส่วนในสังคมที่ต้องการก้าวข้ามผ่านทางตันทางการเมือง
พวกเขาทำได้แค่อดทนในจุดยืนในความขัดแย้งของแต่ละฝ่าย จนกระทั่งมีการพูดถึงการแบ่งแยกดินแดน การเก็บลักลอบเก็บสะสมอาวุธสงครามเพื่อสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน พูดจาสร้างความเกลียดชัง และ ไม่สนใจในหลักนิติธรรมทั้งในส่วนของผู้ประท้วง และรัฐบาล ซึ่งทำจนกลายเป็นเรื่องปกติในประเทศนี้ไป
พูดให้เข้าใจง่ายคือ สิ่งนี้เป็นปมอันยุ่งเหยิง ซึ่งถ้ามีหนทางอื่นที่จะนำมาซึ่งเสถียรภาพ และเริ่มต้นกระบวนการปรองดอง มันคงจะเป็นหนทางที่ล้าเต็มที และต้องการอย่างยิ่ง แม้กระทั่ง 11 ชั่วโมงก่อนมีการรัฐประหารขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงพยายามที่จะให้คู่ขัดแย้งมานั่งลงหาเพื่อเหตุผลแก้ปัญหาร่วมกัน
หลักการสำคัญในวัฒนธรรมไทยคือการรักษาหน้า ประเด็นการรักษาหน้าในสังคมไทยไม่สามารถยอมกันได้ในทางเหตุผล จึงทำให้ยากแก่การทำความเข้าใจในสายตาชาวซีกโลกตะวันตก แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจสำหรับเรา และตอนนี้ ก็ชัดเจนแล้วว่าทั้งสองฝ่ายคู่ขัดแย้งให้ความสำคัญกับการรักษาหน้ามากกว่า ชะตากรรมของประเทศพวกเขา
ผมเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์ กำลังทำสิ่งหนึ่งเพื่อให้กลุ่มผู้ต่อต้านอดีตรัฐบาลสามารถถอยได้โดยไม่เสีย หน้า พลเอกประยุทธ์ เลือกที่จะยอมให้นานาชาติโกรธเกรี้ยวเพื่อรักษาประเทศให้พ้นจากภาวะ สงครามกลางเมือง ณ นาทีที่ พลเอกประยุทธ์ ได้ตัดสินใจ พลเอกประยุทธ์ ได้เริ่มต้นร่างแผนที่น่าเชื่อถือเพื่อนำประเทศไทยกลับสู่การเป็นประเทศที่ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผมไม่ขอให้สหรัฐเว้นการกล่าวประณามประเทศไทยสำหรับการยึดอำนาจของกองทัพ อันที่จริงผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และผมขอชื่นชมสหรัฐสำหรับการแสดงจุดยืนในประเด็นการทำรัฐประหารต่อสาธารณชน อย่างทันท่วงที และจะไม่ขอให้สหรัฐทบทวนการระงับความช่วยเหลือหรือการคว่ำบาตรอื่นๆ เพราะมาตรการของสหรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเราต้องการสิ่งที่จะมากีดขวาง กองทัพ เพื่อไม่ให้พลเอกประยุทธ์ ผิดคำพูด หรือยิ่งไปกว่านั้น คือการปล้นกระบวนการเพื่อตอบสนองความกระหายอำนาจของบุคคลเพียงคนเดียว
ท่านรัฐมนตรี เราได้เห็นบทลงโทษแล้ว และตอนนี้เราต้องการเห็นการให้รางวัล
สิ่งที่ผมจะร้องขอ คือคุณควรแสวงหาข้อมูล ทำความเข้าใจและดำเนินการตามข้อมูลต้นตอของสถานการณ์ในไทย ผมร้องขอให้ใช้อำนาจและอิทธิพลของสหรัฐในทางที่จะช่วยประเทศไทย มุ่งไปสู่การมีระบบการบริหารประเทศที่ดีขึ้นกว่านี้ และร้องขอให้รัฐบาลสหรัฐดำเนินการผ่านการใช้นักการทูตที่เข้าใจสถานการณ์ใน ประเทศไทยอย่างถ่องแท้และได้รับการถ่ายทอดข้อมูลอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ และสหรัฐอาจพยายามให้ความช่วยเหลือไทย(อยู่เบื้องหลังหากจำเป็น) มากกว่าขัดขวางอนาคตของประเทศ
คำว่า "รัฐประหาร" ถือเป็นคำที่มีความหมายรุนแรงในภาษาอังกฤษ เมื่อฟังแล้วทำให้นึกถึงภาพลักษณ์ของผู้ที่มีอำนาจสูงสุด ค่ายกักกันนักโทษ การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ และการละเมิดเสรีภาพของพลเมือง
บางคนอาจคาดหวังให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลือกใช้คำอื่นที่ดีกว่านี้ แต่สิ่งที่ปรากฏนี้ นับเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นแล้วว่า แม้แต่ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีคำศัพท์จำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถหาคำมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
เนื่องจากในภาษาอังกฤษ ไม่มีคำสำหรับอธิบายถึง "การเริ่มต้นใหม่ด้วยวิถีทางการทหารที่มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งระบอบ ประชาธิปไตยแบบถาวร" ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ "กลุ่มคณะรัฐประหาร" (อีกหนึ่งคำที่มีความหมายรุนแรง) มีอยู่ในใจ
เราอาจเข้าใจผิดก็ได้ นี่อาจเป็นเพียงกลลวง เป็นที่แน่ชัดว่ากองทัพก็ประสบปัญหาล้มลุกคลุกคลาน เห็นได้จากความพยายามที่จะเซ็นเซอร์สื่อ การ "เชิญ" กลุ่มผู้คัดค้านเข้าพบ ซึ่งมีความหมายไม่ต่างอะไรกับการคุมขังโดยไม่สมัครใจแม้เป็นเพียงระยะเวลา สั้นๆก็ตาม ตลอดจนถึงการจัดการกับสื่อสังคมออนไลน์อย่างทุลักทุเล นั้นล้วนเป็นจุดด่างพร้อย
อย่างไรก็ตาม ก็มีสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกัน เห็นได้จากเหตุรุนแรงทางการเมืองซึ่งรังควานประเทศมายาวนานหลายเดือน ในที่สุดก็จบลง กลุ่มที่มีความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันถูกบังคับให้มานั่งอยู่ในห้อง เดียวกัน ช่องโทรทัศน์ที่เลือกข้างถูกระงับการถ่ายทอดไว้ชั่วคราว และเป็นครั้งแรกในรอบปี ที่ประชาชนในกรุงเทพเริ่มรู้สึกปลอดภัย
สหรัฐไม่จำเป็นต้องฟังเสียงคนจากประเทศอื่น แต่ในฐานะที่เป็นคนลงคะแนนเสียงเลือกรัฐบาลนี้เข้ามาทำงาน ผมมีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถามและท้าท้ายคุณ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลลดการเสแสร้งลง เช่นสถานการณ์ในอียิปต์ เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอเมริกาสามารถแสดงปฏิกิริยาที่แตกต่างเล็กน้อยกว่า ท่าทีที่มีต่อสถานการณ์ในไทย ผมแนะนำให้คุณหาข้อมูลที่จำเป็นให้พร้อมเสียก่อนที่จะแสดงปฏิกิริยาเช่นนี้
หากต้องการเรียกใช้ตัวผม ผมก็ยินดีจะช่วยชี้แจงในทุกแง่มุมเกี่ยวกับสถานการณ์ หรือความคิดอ่านของคนไทยจากมุมของคนที่มีพื้นเพจากทั้งสองวัฒนธรรม
ด้วยความปรารถนาดี
สมเถา สุจริตกุล
"ภายหลังจากที่คุณ (จอห์น แคร์รี) ได้ออกโรงประณามเกี่ยวกับการเข้ายึดอำนาจของกองทัพไทย ผมมั่นใจว่า คุณได้รับจดหมายจำนวนมาก ทั้งที่สนับสนุน และไม่เห็นด้วยจากคนไทยหลายคน ที่มาจากหลายสีทางการเมือง
แม้ว่า ผมจะเกิดในประเทศไทย และถูกมองว่าเป็นคนที่มีบทบาทในกลุ่มบุคคลที่มีการศึกษาในประเทศนี้ ผมไม่ได้เขียนถึงคุณในฐานะคนไทย ทว่า เขียนในฐานะพลเมืองสหรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตและโหวตให้กับหัวหน้าของคุณ (ประธานาธิบดีบารัก โอบามา) 2 ครั้ง และเป็นคนที่เลือกทางเดินที่เป็นเสรีในการลงคะแนนเสียงเกี่ยวการเสนอร่าง กฎหมายของรัฐ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ ผมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของฐานเสียงของคุณ
คุณอาจจะได้รับรู้ว่า ขณะนี้ได้เกิดความรู้สึกต่อต้านคนอเมริกัน ในกรุงเทพนับตั้งแต่ที่คุณออกโรงประณามด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยผมได้ใช้เวลาอย่างมาก ในการอธิบายให้กับคนไทยที่สับสนถึงสาเหตุว่าทำไม สหรัฐต้องแสดงตัวประณามไทย เมื่อมีการเข้ายึดอำนาจของกองทัพ ผมบอกว่า สหรัฐจะไม่เป็นสหรัฐ ถ้าหากแสดงความสนับสนุนการทำรัฐประหารอย่างเปิดเผย และผมยังอธิบายด้วยว่า ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้มาตรการคว่ำบาตร เพราะในสหรัฐ หลักนิติธรรมนั้นไม่ใช่แค่การสรรเสริญแต่ปาก เพราะ คนอเมริกันจะไม่โจมตีกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม โดยการแสดงการต่อต้าน แต่จะทำการล็อบบี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม เห็นได้อย่างชัดเจนจากน้ำเสียงและบทวิจารณ์ที่ค่อนข้างรุนแรงของคุณที่แสดง ว่า คุณยังไม่ได้รับการชี้แจงรายละเอียดของสถานการณ์อย่างถ่องแท้ตั้งแต่ต้น
พันธสัญญาของสหรัฐที่ปราศจากการมองเห็นคุณค่าที่แท้ถูกส่งเสริมให้เป็นค่านิยมหลักไปทั่วโลก ปฏิกิริยาของประชาชนชาวไทยต่อถ้อยแถลงของคุณคงจะเหมือนกับปฏิกิริยาการโกรธ แค้นในสหรัฐ เมื่อมีผู้ได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาขโมยพิซซ่า ตามแนวคิดของกฎหมายที่เรียกว่า “ทรี สไตร์คส ลอว์” ของอเมริกัน (ซึ่งเป็นกฎหมายที่แนวคิดให้ลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดให้หนักขึ้น หากบุคคลนั้นกระทำความผิดซ้ำ) โดยไม่ให้ผู้พิพากษาได้แสดงความคิดเห็นในการตัดสินพิพากษา ในที่สุดก็พิสูจน์ได้ว่ากฎหมายฉบับนั้นเป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น และคุณควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองแบบอัตโนมัติจากสหรัฐเกี่ยวกับการทำรัฐประหารของไทยในครั้งนี้ อาจกลายเป็นจุดยืนที่คุณอาจถูกบังคับให้สหรัฐต้องคืนคำ หากคุณได้รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ไทยเพิ่มเติม
ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องจัดระเบียบพฤติกรรมที่เกินขอบเขตของระบอบการปกครองแบบทักษิณ (Thaksinite administrations) โดยที่ หลายคนส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์โหวกเหวกเกี่ยวกับประเด็นการฆ่าตัดตอน การบิดเบือนกฎหมายหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากสื่อมวลชน และเพิ่มพูนความร่ำรวยให้ตนเองและพวกพ้องด้วยการโกงกิน อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่า การกล่าวอ้างว่า "พวกเราได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นจึงน่าจะสามารถทำสิ่งที่ต้องการได้" นับเป็นความล้มเหลวของพวกเขาในการเข้าใจหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตย
ในเวลาเดียวกัน พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งทำให้การเลือกตั้งล้มครืนไม่เป็นท่าและคุกคามผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนี้ ก็ล้มเหลวในการทำความเข้าใจหลักการในการทำข้อตกลงตามแนวทางประชาธิปไตย ซึ่งก็คือเมื่อพ่ายแพ้การเลือกตั้ง งานที่ต้องทำก็คือพิสูจน์ให้ผู้สิทธิ์ลงคะแนนได้ตระหนักว่าแผนการแนวทางของ พรรคดีกว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ใช่การพยายามโค่นล้มรัฐบาลด้วยพลังมวลชน
ทั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินการเข้ามายึดอำนาจของกลุ่มใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนอกระบบหรือทหาร แต่การพูดว่าการรัฐประหารในครั้งนี้ไร้ซึ่งอำนาจอันชอบธรรมด้วยกฎหมาย ก็ถือเป็นคำที่อันตรายร้ายแรงซึ่งปราศจากการรับข้อมูลหรือตีความสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นผิดแผกไป
ทุกความพยายามของเสียงเรียกร้องของเหตุผลจากทุกภาคส่วนในสังคมที่ต้องการก้าวข้ามผ่านทางตันทางการเมือง
พวกเขาทำได้แค่อดทนในจุดยืนในความขัดแย้งของแต่ละฝ่าย จนกระทั่งมีการพูดถึงการแบ่งแยกดินแดน การเก็บลักลอบเก็บสะสมอาวุธสงครามเพื่อสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน พูดจาสร้างความเกลียดชัง และ ไม่สนใจในหลักนิติธรรมทั้งในส่วนของผู้ประท้วง และรัฐบาล ซึ่งทำจนกลายเป็นเรื่องปกติในประเทศนี้ไป
พูดให้เข้าใจง่ายคือ สิ่งนี้เป็นปมอันยุ่งเหยิง ซึ่งถ้ามีหนทางอื่นที่จะนำมาซึ่งเสถียรภาพ และเริ่มต้นกระบวนการปรองดอง มันคงจะเป็นหนทางที่ล้าเต็มที และต้องการอย่างยิ่ง แม้กระทั่ง 11 ชั่วโมงก่อนมีการรัฐประหารขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงพยายามที่จะให้คู่ขัดแย้งมานั่งลงหาเพื่อเหตุผลแก้ปัญหาร่วมกัน
หลักการสำคัญในวัฒนธรรมไทยคือการรักษาหน้า ประเด็นการรักษาหน้าในสังคมไทยไม่สามารถยอมกันได้ในทางเหตุผล จึงทำให้ยากแก่การทำความเข้าใจในสายตาชาวซีกโลกตะวันตก แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจสำหรับเรา และตอนนี้ ก็ชัดเจนแล้วว่าทั้งสองฝ่ายคู่ขัดแย้งให้ความสำคัญกับการรักษาหน้ามากกว่า ชะตากรรมของประเทศพวกเขา
ผมเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์ กำลังทำสิ่งหนึ่งเพื่อให้กลุ่มผู้ต่อต้านอดีตรัฐบาลสามารถถอยได้โดยไม่เสีย หน้า พลเอกประยุทธ์ เลือกที่จะยอมให้นานาชาติโกรธเกรี้ยวเพื่อรักษาประเทศให้พ้นจากภาวะ สงครามกลางเมือง ณ นาทีที่ พลเอกประยุทธ์ ได้ตัดสินใจ พลเอกประยุทธ์ ได้เริ่มต้นร่างแผนที่น่าเชื่อถือเพื่อนำประเทศไทยกลับสู่การเป็นประเทศที่ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผมไม่ขอให้สหรัฐเว้นการกล่าวประณามประเทศไทยสำหรับการยึดอำนาจของกองทัพ อันที่จริงผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และผมขอชื่นชมสหรัฐสำหรับการแสดงจุดยืนในประเด็นการทำรัฐประหารต่อสาธารณชน อย่างทันท่วงที และจะไม่ขอให้สหรัฐทบทวนการระงับความช่วยเหลือหรือการคว่ำบาตรอื่นๆ เพราะมาตรการของสหรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเราต้องการสิ่งที่จะมากีดขวาง กองทัพ เพื่อไม่ให้พลเอกประยุทธ์ ผิดคำพูด หรือยิ่งไปกว่านั้น คือการปล้นกระบวนการเพื่อตอบสนองความกระหายอำนาจของบุคคลเพียงคนเดียว
ท่านรัฐมนตรี เราได้เห็นบทลงโทษแล้ว และตอนนี้เราต้องการเห็นการให้รางวัล
สิ่งที่ผมจะร้องขอ คือคุณควรแสวงหาข้อมูล ทำความเข้าใจและดำเนินการตามข้อมูลต้นตอของสถานการณ์ในไทย ผมร้องขอให้ใช้อำนาจและอิทธิพลของสหรัฐในทางที่จะช่วยประเทศไทย มุ่งไปสู่การมีระบบการบริหารประเทศที่ดีขึ้นกว่านี้ และร้องขอให้รัฐบาลสหรัฐดำเนินการผ่านการใช้นักการทูตที่เข้าใจสถานการณ์ใน ประเทศไทยอย่างถ่องแท้และได้รับการถ่ายทอดข้อมูลอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ และสหรัฐอาจพยายามให้ความช่วยเหลือไทย(อยู่เบื้องหลังหากจำเป็น) มากกว่าขัดขวางอนาคตของประเทศ
คำว่า "รัฐประหาร" ถือเป็นคำที่มีความหมายรุนแรงในภาษาอังกฤษ เมื่อฟังแล้วทำให้นึกถึงภาพลักษณ์ของผู้ที่มีอำนาจสูงสุด ค่ายกักกันนักโทษ การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ และการละเมิดเสรีภาพของพลเมือง
บางคนอาจคาดหวังให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลือกใช้คำอื่นที่ดีกว่านี้ แต่สิ่งที่ปรากฏนี้ นับเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นแล้วว่า แม้แต่ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีคำศัพท์จำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถหาคำมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
เนื่องจากในภาษาอังกฤษ ไม่มีคำสำหรับอธิบายถึง "การเริ่มต้นใหม่ด้วยวิถีทางการทหารที่มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งระบอบ ประชาธิปไตยแบบถาวร" ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ "กลุ่มคณะรัฐประหาร" (อีกหนึ่งคำที่มีความหมายรุนแรง) มีอยู่ในใจ
เราอาจเข้าใจผิดก็ได้ นี่อาจเป็นเพียงกลลวง เป็นที่แน่ชัดว่ากองทัพก็ประสบปัญหาล้มลุกคลุกคลาน เห็นได้จากความพยายามที่จะเซ็นเซอร์สื่อ การ "เชิญ" กลุ่มผู้คัดค้านเข้าพบ ซึ่งมีความหมายไม่ต่างอะไรกับการคุมขังโดยไม่สมัครใจแม้เป็นเพียงระยะเวลา สั้นๆก็ตาม ตลอดจนถึงการจัดการกับสื่อสังคมออนไลน์อย่างทุลักทุเล นั้นล้วนเป็นจุดด่างพร้อย
อย่างไรก็ตาม ก็มีสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกัน เห็นได้จากเหตุรุนแรงทางการเมืองซึ่งรังควานประเทศมายาวนานหลายเดือน ในที่สุดก็จบลง กลุ่มที่มีความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันถูกบังคับให้มานั่งอยู่ในห้อง เดียวกัน ช่องโทรทัศน์ที่เลือกข้างถูกระงับการถ่ายทอดไว้ชั่วคราว และเป็นครั้งแรกในรอบปี ที่ประชาชนในกรุงเทพเริ่มรู้สึกปลอดภัย
สหรัฐไม่จำเป็นต้องฟังเสียงคนจากประเทศอื่น แต่ในฐานะที่เป็นคนลงคะแนนเสียงเลือกรัฐบาลนี้เข้ามาทำงาน ผมมีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถามและท้าท้ายคุณ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลลดการเสแสร้งลง เช่นสถานการณ์ในอียิปต์ เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอเมริกาสามารถแสดงปฏิกิริยาที่แตกต่างเล็กน้อยกว่า ท่าทีที่มีต่อสถานการณ์ในไทย ผมแนะนำให้คุณหาข้อมูลที่จำเป็นให้พร้อมเสียก่อนที่จะแสดงปฏิกิริยาเช่นนี้
หากต้องการเรียกใช้ตัวผม ผมก็ยินดีจะช่วยชี้แจงในทุกแง่มุมเกี่ยวกับสถานการณ์ หรือความคิดอ่านของคนไทยจากมุมของคนที่มีพื้นเพจากทั้งสองวัฒนธรรม
ด้วยความปรารถนาดี
สมเถา สุจริตกุล