“โอบามา” ตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการต่างประเทศของตน โดยประกาศยืนยันในวันพุธ (28 พ.ค.) ว่า อเมริกายังเป็นผู้นำโลก เพียงแต่ต้องหลีกเลี่ยงความผิดพลาดราคาแพงเช่นในอดีต และเน้น “การปฏิบัติการร่วมกัน” กับบรรดาพันธมิตรในต่างแดน พร้อมกันนั้นเขายังยืนยันว่า จากการที่สหรัฐฯพึ่งพาอาศัยการทูตมากกว่าการเข้าแทรกแซงทางทหารเช่นนี้ กำลังบังเกิดผลในการคลี่คลายวิกฤตต่างๆ ของโลกอย่างยูเครนและอิหร่าน อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า ประมุขทำเนียบขาวไม่พาดพิงถึงนโยบาย "ปักหมุดเอเชีย” ที่เคยโหมโฆษณาเมื่อ 3 ปีก่อน เพียงแต่มีการปรามจีนกลายๆ กรณีความก้าวร้าวในทะเลจีนใต้
ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้สำเร็จการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยเวสต์พอยต์ เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตอบโต้เสียงวิจารณ์ที่ว่า นโยบายการต่างประเทศของตนอ่อนแอ โดยระบุว่า อเมริกาสามารถนำอิหร่านเข้าสู่การเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ รวมทั้งรวบรวมการสนับสนุนของนานาชาติในการโดดเดี่ยวรัสเซียกรณีวิกฤตยูเครน
“พวกช่างสงสัยมักดูเบาประสิทธิภาพในการดำเนินการแบบพหุภาคี คนเหล่านั้นมองว่า การดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือการเคารพกฎหมายสากลเป็นสัญญาณความอ่อนแอ ผมว่า พวกเขาคิดผิดแล้ว”
ประธานาธิบดีสหรัฐฯชี้ว่า การปิดภารกิจการสู้รบในอัฟกานิสถานตอนปลายปีนี้ จะทำให้อเมริกาสามารถนำทรัพยากรไปจัดการกับภัยคุกคามใหม่ๆ ในภูมิภาคอื่นแทน พร้อมกันนั้นเขาก็ประกาศการจัดตั้งกองทุนต่อสู้การก่อการร้าย 5,000 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยประเทศต่างๆ รับมือกับกลุ่มหัวรุนแรง
อย่างไรก็ดี ผู้นำสหรัฐฯ มองว่า ความคิดที่จะบุกโจมตีทุกๆ ประเทศซึ่งเป็นที่หลบซ่อนของเครือข่ายก่อการร้าย เป็นยุทธศาสตร์ที่ไร้เดียงสาและไม่ยั่งยืน แต่เขาเชื่อว่า อเมริกาควรมุ่งเน้นการพัฒนาและการให้การศึกษามากกว่า เนื่องจากการใช้ปฏิบัติการด้านความมั่นคงเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะขุดรากถอนโคนภัยคุกคามจากกลุ่มหัวรุนแรง อย่างเช่น กลุ่มโบโก ฮารัม ที่ลักพาเด็กนักเรียนหญิงไนจีเรียกว่า 200 คน ให้สิ้นซากลงได้
มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในสุนทรพจน์ที่เวสต์พอยต์นี้ ผู้นำสหรัฐฯ ไม่ได้พาดพิงถึงนโยบาย “ปักหมุดเอเชีย” ภายใต้แนวคิดในการถอนตัวจากอัฟกานิสถานและอิรัก เพื่อนำทรัพยากรทางทหารและการทูตมาทุ่มให้กับเอเชีย-แปซิฟิกที่ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2011
นักวิเคราะห์หลายรายชี้ว่า สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของสุนทรพจน์นี้คือ เพื่อตอบโต้เสียงวิจารณ์ว่า นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ระมัดระวังเกินไปจนทำให้ศัตรูฮึกเหิมได้ใจ และอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การที่สถานการณ์โลกวันนี้มีหลายเรื่องมาแย่งชิงความสนใจไปจากเอเชีย เป็นต้นว่า สงครามกลางเมืองในซีเรีย เหตุการณ์รุนแรงในอิรักที่ปะทุขึ้นอีกครั้ง การเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน กระบวนการสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และความขัดแย้งในยูเครน
กระนั้น ใช่ว่าเอเชียหลุดไปจาก “โพย” ของโอบามาในคราวนี้โดยสิ้นเชิง
เขากล่าวในตอนหนึ่งว่า “ความก้าวร้าวในภูมิภาคที่ปราศจากการควบคุม เช่น ในตอนใต้ของยูเครนและในทะเลจีนใต้ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อพันธมิตรของเรา และทำให้เราต้องส่งกำลังทหารเข้าไป”
ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้สำเร็จการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยเวสต์พอยต์ เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตอบโต้เสียงวิจารณ์ที่ว่า นโยบายการต่างประเทศของตนอ่อนแอ โดยระบุว่า อเมริกาสามารถนำอิหร่านเข้าสู่การเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ รวมทั้งรวบรวมการสนับสนุนของนานาชาติในการโดดเดี่ยวรัสเซียกรณีวิกฤตยูเครน
“พวกช่างสงสัยมักดูเบาประสิทธิภาพในการดำเนินการแบบพหุภาคี คนเหล่านั้นมองว่า การดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือการเคารพกฎหมายสากลเป็นสัญญาณความอ่อนแอ ผมว่า พวกเขาคิดผิดแล้ว”
ประธานาธิบดีสหรัฐฯชี้ว่า การปิดภารกิจการสู้รบในอัฟกานิสถานตอนปลายปีนี้ จะทำให้อเมริกาสามารถนำทรัพยากรไปจัดการกับภัยคุกคามใหม่ๆ ในภูมิภาคอื่นแทน พร้อมกันนั้นเขาก็ประกาศการจัดตั้งกองทุนต่อสู้การก่อการร้าย 5,000 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยประเทศต่างๆ รับมือกับกลุ่มหัวรุนแรง
อย่างไรก็ดี ผู้นำสหรัฐฯ มองว่า ความคิดที่จะบุกโจมตีทุกๆ ประเทศซึ่งเป็นที่หลบซ่อนของเครือข่ายก่อการร้าย เป็นยุทธศาสตร์ที่ไร้เดียงสาและไม่ยั่งยืน แต่เขาเชื่อว่า อเมริกาควรมุ่งเน้นการพัฒนาและการให้การศึกษามากกว่า เนื่องจากการใช้ปฏิบัติการด้านความมั่นคงเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะขุดรากถอนโคนภัยคุกคามจากกลุ่มหัวรุนแรง อย่างเช่น กลุ่มโบโก ฮารัม ที่ลักพาเด็กนักเรียนหญิงไนจีเรียกว่า 200 คน ให้สิ้นซากลงได้
มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในสุนทรพจน์ที่เวสต์พอยต์นี้ ผู้นำสหรัฐฯ ไม่ได้พาดพิงถึงนโยบาย “ปักหมุดเอเชีย” ภายใต้แนวคิดในการถอนตัวจากอัฟกานิสถานและอิรัก เพื่อนำทรัพยากรทางทหารและการทูตมาทุ่มให้กับเอเชีย-แปซิฟิกที่ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2011
นักวิเคราะห์หลายรายชี้ว่า สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของสุนทรพจน์นี้คือ เพื่อตอบโต้เสียงวิจารณ์ว่า นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ระมัดระวังเกินไปจนทำให้ศัตรูฮึกเหิมได้ใจ และอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การที่สถานการณ์โลกวันนี้มีหลายเรื่องมาแย่งชิงความสนใจไปจากเอเชีย เป็นต้นว่า สงครามกลางเมืองในซีเรีย เหตุการณ์รุนแรงในอิรักที่ปะทุขึ้นอีกครั้ง การเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน กระบวนการสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และความขัดแย้งในยูเครน
กระนั้น ใช่ว่าเอเชียหลุดไปจาก “โพย” ของโอบามาในคราวนี้โดยสิ้นเชิง
เขากล่าวในตอนหนึ่งว่า “ความก้าวร้าวในภูมิภาคที่ปราศจากการควบคุม เช่น ในตอนใต้ของยูเครนและในทะเลจีนใต้ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อพันธมิตรของเรา และทำให้เราต้องส่งกำลังทหารเข้าไป”