“ยุโรป” เดินเกมการทูตต่อเนื่องหวังคลายชนวนวิกฤตยูเครน ด้วยการส่งรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีเดินทางไป “เคียฟ” เพื่อผลักดันการเจรจาปรองดองกับกลุ่มกบฏโปรรัสเซีย ควบคู่กับการประกาศมาตรการแซงก์ชันชุดใหม่ที่มีคนใกล้ตัว “ปูติน” ถูกเล่นงานด้วยหลายราย
ภายหลังเข้าพบนายกรัฐมนตรีอาร์เซนีย์ ยัตเซนยุค ของยูเครนในวันอังคาร (13 พ.ค.) รัฐมนตรีต่างประเทศ แฟรงก์-วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ ของเยอรมนี แถลงว่า สถานการณ์ในยูเครนยังล่อแหลมมาก แต่เขาหวังว่า จะมีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างสันติผ่านการเจรจาปรองดองแห่งชาติภายใต้การนำของชาวยูเครน ซึ่งจะทำให้เกิดเงื่อนไขที่นำไปสู่การคืนพื้นที่ที่ถูกยึดครอง, การปลดอาวุธทีละขั้นตอน, และการแต่งตั้งคณะบริหารท้องถิ่นชุดใหม่
สไตนไมเออร์เสริมว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครนในวันที่ 25 นี้ จะช่วยผลักดันให้ประเทศนี้ให้หลุดพ้นจากวิกฤต
ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศเมืองเบียร์มีกำหนดหารือกับโอเลคซานเดอร์ ตูร์ชินอฟ ประธานาธิบดีรักษาการของยูเครนเป็นลำดับถัดไป ก่อนเดินทางไปยังโอเดสซา เมืองท่าทางภาคใต้ของประเทศนี้ ขณะที่ยัตเซนยุคจะบินสู่กรุงบรัสเซลส์เพื่อหารือกับคณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) เกี่ยวกับการสนับสนุนและความพยายามขั้นต่อไปในการคลี่คลายวิกฤตยูเครน ที่กำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตะวันตกกับรัสเซียตกต่ำที่สุดนับจากยุคสงครามเย็น
ส่วนทางด้านกรุงมอสโก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียยังคงออกมาโจมตีกดดันว่า การที่เคียฟปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วมเจรจากับกลุ่มกบฏ เป็นอุปสรรคอันสำคัญในการคลี่คลายวิกฤต โดยที่ กริกอรี คาราซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ย้ำกับ วีกอดัส ยูซักคัส ผู้แทนอียูในมอสโก ว่าการเจรจาดังกล่าวควรมีขึ้นก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน
กระแสความพยายามทางการทูตเหล่านี้มีขึ้น หลังจากกลุ่มกบฏในภาคตะวันออกของยูเครนเรียกร้องขอผนวกกับรัสเซียเมื่อวันจันทร์ (12) ภายหลังผลการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ (11) ออกมาว่า ผู้ออกเสียงใน 2 จังหวัดของยูเครนตะวันออก คือ ลูกันสก์ กับ โดเนตสก์ ลงคะแนนเสียงท่วมท้นให้แยกตัวเป็นรัฐอิสระ โดยที่โดเนตสก์ถึงขั้นเรียกร้องขอผนวกกับรัสเซีย
ภายหลังเข้าพบนายกรัฐมนตรีอาร์เซนีย์ ยัตเซนยุค ของยูเครนในวันอังคาร (13 พ.ค.) รัฐมนตรีต่างประเทศ แฟรงก์-วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ ของเยอรมนี แถลงว่า สถานการณ์ในยูเครนยังล่อแหลมมาก แต่เขาหวังว่า จะมีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างสันติผ่านการเจรจาปรองดองแห่งชาติภายใต้การนำของชาวยูเครน ซึ่งจะทำให้เกิดเงื่อนไขที่นำไปสู่การคืนพื้นที่ที่ถูกยึดครอง, การปลดอาวุธทีละขั้นตอน, และการแต่งตั้งคณะบริหารท้องถิ่นชุดใหม่
สไตนไมเออร์เสริมว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครนในวันที่ 25 นี้ จะช่วยผลักดันให้ประเทศนี้ให้หลุดพ้นจากวิกฤต
ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศเมืองเบียร์มีกำหนดหารือกับโอเลคซานเดอร์ ตูร์ชินอฟ ประธานาธิบดีรักษาการของยูเครนเป็นลำดับถัดไป ก่อนเดินทางไปยังโอเดสซา เมืองท่าทางภาคใต้ของประเทศนี้ ขณะที่ยัตเซนยุคจะบินสู่กรุงบรัสเซลส์เพื่อหารือกับคณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) เกี่ยวกับการสนับสนุนและความพยายามขั้นต่อไปในการคลี่คลายวิกฤตยูเครน ที่กำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตะวันตกกับรัสเซียตกต่ำที่สุดนับจากยุคสงครามเย็น
ส่วนทางด้านกรุงมอสโก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียยังคงออกมาโจมตีกดดันว่า การที่เคียฟปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วมเจรจากับกลุ่มกบฏ เป็นอุปสรรคอันสำคัญในการคลี่คลายวิกฤต โดยที่ กริกอรี คาราซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ย้ำกับ วีกอดัส ยูซักคัส ผู้แทนอียูในมอสโก ว่าการเจรจาดังกล่าวควรมีขึ้นก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน
กระแสความพยายามทางการทูตเหล่านี้มีขึ้น หลังจากกลุ่มกบฏในภาคตะวันออกของยูเครนเรียกร้องขอผนวกกับรัสเซียเมื่อวันจันทร์ (12) ภายหลังผลการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ (11) ออกมาว่า ผู้ออกเสียงใน 2 จังหวัดของยูเครนตะวันออก คือ ลูกันสก์ กับ โดเนตสก์ ลงคะแนนเสียงท่วมท้นให้แยกตัวเป็นรัฐอิสระ โดยที่โดเนตสก์ถึงขั้นเรียกร้องขอผนวกกับรัสเซีย