ผู้นำยูเครนชงเรื่องเข้าสภาขออนุมัติการซ้อมรบร่วมกับพันธมิตรนาโต ปูทางกองกำลังอเมริกันเข้าประชิดทหารรัสเซียในไครเมียโดยตรง พร้อมกับที่มอสโกประกาศว่า กองกำลังหมีขาวเข้าควบคุมฐานทัพและที่ตั้งทางทหารทั้งหมดของยูเครนบนคาบสมุทรทะเลดำแล้ว อย่างไรก็ดี ตะวันตก-เครมลินมีท่าทีประนีประนอมมากขึ้น
วันพุธที่ผ่านมา (26) โอเล็กซานเดอร์ ตูร์ชินอฟ รักษาการประธานาธิบดียูเครนแถลงต่อรัฐสภาว่า ยูเครนต้องการเข้าร่วมกับสมาชิกองค์การสนธิสัญญาปกป้องแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ในการซ้อมรบตอนช่วงฤดูร้อนนี้ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า “ราปิด ไทรเดนต์” และ “ซีบรีซ” รวมทั้งยังกำลังวางแผนร่วมซ้อมรบอีกสองครั้งกับโปแลนด์ ซึ่งก็เป็นสมาชกนาโต ตลอดจนซ้อมปฏิบัติการภาคพื้นดินกับมอลโดวาและโรมาเนีย ทั้งนี้โรมาเนีย เป็นสมาชิกนาโตเช่นเดียวกัน
เป็นที่คาดว่า การซ้อมรบซีบรีซจะรบกวนจิตใจมอสโกอย่างมาก เนื่องจากหลายครั้งที่ผ่านมาเคยจัดขึ้นในไครเมีย ก่อนย้ายไปซ้อมบริเวณเมืองโอเดสซาในทะเลดำ ที่ฐานทัพเรือของยูเครนตั้งอยู่
ย้อนกลับไปวันอังคาร (25) กองทหารของเครมลินได้บุกยึดเรือรบยูเครนลำสุดท้ายในไครเมีย และประกาศว่า สามารถควบคุมทางทหารโดยสิ้นเชิงบนคาบสมุทรแห่งนี้ที่มีประชากร 2 ล้านคน และส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย
ทั้งนี้ วันที่ 1 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้รับอนุมัติจากรัฐสภารัสเซียให้ส่งกำลังทหารเข้าสู่ไครเมีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเขตปกครองตนเองภายใต้ยูเครน หลังจากการประท้วงยืดเยื้อ 3 เดือนในเคียฟนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลยูเครนที่ภักดีต่อเครมลิน และแต่งตั้งกลุ่มผู้นำใหม่ที่สนับสนุนตะวันตก
วิกฤตความมั่นคงนี้ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าครั้งร้ายแรงที่สุดหลังยุคสงครามเย็น และกระตุ้นให้สหภาพยุโรป (อียู) เร่งหาทางลดการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
วันพุธที่ผ่านมา (26) โอเล็กซานเดอร์ ตูร์ชินอฟ รักษาการประธานาธิบดียูเครนแถลงต่อรัฐสภาว่า ยูเครนต้องการเข้าร่วมกับสมาชิกองค์การสนธิสัญญาปกป้องแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ในการซ้อมรบตอนช่วงฤดูร้อนนี้ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า “ราปิด ไทรเดนต์” และ “ซีบรีซ” รวมทั้งยังกำลังวางแผนร่วมซ้อมรบอีกสองครั้งกับโปแลนด์ ซึ่งก็เป็นสมาชกนาโต ตลอดจนซ้อมปฏิบัติการภาคพื้นดินกับมอลโดวาและโรมาเนีย ทั้งนี้โรมาเนีย เป็นสมาชิกนาโตเช่นเดียวกัน
เป็นที่คาดว่า การซ้อมรบซีบรีซจะรบกวนจิตใจมอสโกอย่างมาก เนื่องจากหลายครั้งที่ผ่านมาเคยจัดขึ้นในไครเมีย ก่อนย้ายไปซ้อมบริเวณเมืองโอเดสซาในทะเลดำ ที่ฐานทัพเรือของยูเครนตั้งอยู่
ย้อนกลับไปวันอังคาร (25) กองทหารของเครมลินได้บุกยึดเรือรบยูเครนลำสุดท้ายในไครเมีย และประกาศว่า สามารถควบคุมทางทหารโดยสิ้นเชิงบนคาบสมุทรแห่งนี้ที่มีประชากร 2 ล้านคน และส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย
ทั้งนี้ วันที่ 1 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้รับอนุมัติจากรัฐสภารัสเซียให้ส่งกำลังทหารเข้าสู่ไครเมีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเขตปกครองตนเองภายใต้ยูเครน หลังจากการประท้วงยืดเยื้อ 3 เดือนในเคียฟนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลยูเครนที่ภักดีต่อเครมลิน และแต่งตั้งกลุ่มผู้นำใหม่ที่สนับสนุนตะวันตก
วิกฤตความมั่นคงนี้ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าครั้งร้ายแรงที่สุดหลังยุคสงครามเย็น และกระตุ้นให้สหภาพยุโรป (อียู) เร่งหาทางลดการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย