ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียเมื่อวันจันทร์(17) ลงนามในกฎหมายรับรองไครเมียในฐานะรัฐเอกราชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังสาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งนี้ลงประชามติแยกตัวออกจากยูเครน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย อันกระพือวิกฤตะวันออก-ตะวันตกครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น เมินคำเตือนของบารัค โอบามา ที่อาจคว่ำบาตรหนักหน่วงยิ่งขึ้น
ประกาศกฎหมายนี้ที่โพสต์อยู่บนเว็บไซต์ของเครมลินและมีผลบังคับใช้ในทันที ถือเป็นก้าวย่างแรกในการรวมไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย ขณะที่มันระบุว่ามอสโกขอรับรองไครเมียในฐานะรัฐเอกราชบนพื้นฐานตามเจตจำนงของประชาชนชาวไครเมีย
ผลอย่างเป็นทางการของการออกเสียงลงประชามติในเครเมียซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (16) ระบุว่า จากจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งสิ้นถึง 83% ผู้ออกเสียง 96.77% ในคาบสมุทรที่คนส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซียแห่งนี้ เลือกแยกตัวจากยูเครน และรัฐสภาไครเมียซึ่งประชุมกันในเช้าวันจันทร์ ก็มีมติยื่นคำร้องขอผนวกรวมกับรัสเซีย ซึ่งเป็นกระบวนการที่คาดว่า ต้องใช้เวลานานนับเดือน ทำให้ประชาชนจำนวนมากกังวลกับความไม่แน่นอน เนื่องจากไครเมียยังคงต้องพึ่งพิงทั้งทางเศรษฐกิจและพลังงานจากยูเครนอย่างมาก
ในส่วนของปูติน มีกำหนดปราศรัยต่อทั้งสองสภาเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ไครเมียในวันอังคาร(18) ตามหลังสหรัฐฯและสหภาพยุโรป(อียู) แถลงมาตรการคว่ำบาตรเหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียและยูเครน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสำหรับการลงประชามติแยกตัวออกจากเคียฟของไครเมีย เช่นเดียวกับกรณีที่กองกำลังฝ่ายฝักใฝ่เครมลินเข้าควบคุมแหลมแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่แถบทะเลดำโดยพฤตินัยมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน
คาดว่า รัฐสภารัสเซียจะเปิดอภิปรายร่างกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกขั้นตอนการผนวกไครเมียในวันศุกร์นี้ (21)
ประกาศกฎหมายนี้ที่โพสต์อยู่บนเว็บไซต์ของเครมลินและมีผลบังคับใช้ในทันที ถือเป็นก้าวย่างแรกในการรวมไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย ขณะที่มันระบุว่ามอสโกขอรับรองไครเมียในฐานะรัฐเอกราชบนพื้นฐานตามเจตจำนงของประชาชนชาวไครเมีย
ผลอย่างเป็นทางการของการออกเสียงลงประชามติในเครเมียซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (16) ระบุว่า จากจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งสิ้นถึง 83% ผู้ออกเสียง 96.77% ในคาบสมุทรที่คนส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซียแห่งนี้ เลือกแยกตัวจากยูเครน และรัฐสภาไครเมียซึ่งประชุมกันในเช้าวันจันทร์ ก็มีมติยื่นคำร้องขอผนวกรวมกับรัสเซีย ซึ่งเป็นกระบวนการที่คาดว่า ต้องใช้เวลานานนับเดือน ทำให้ประชาชนจำนวนมากกังวลกับความไม่แน่นอน เนื่องจากไครเมียยังคงต้องพึ่งพิงทั้งทางเศรษฐกิจและพลังงานจากยูเครนอย่างมาก
ในส่วนของปูติน มีกำหนดปราศรัยต่อทั้งสองสภาเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ไครเมียในวันอังคาร(18) ตามหลังสหรัฐฯและสหภาพยุโรป(อียู) แถลงมาตรการคว่ำบาตรเหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียและยูเครน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสำหรับการลงประชามติแยกตัวออกจากเคียฟของไครเมีย เช่นเดียวกับกรณีที่กองกำลังฝ่ายฝักใฝ่เครมลินเข้าควบคุมแหลมแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่แถบทะเลดำโดยพฤตินัยมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน
คาดว่า รัฐสภารัสเซียจะเปิดอภิปรายร่างกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกขั้นตอนการผนวกไครเมียในวันศุกร์นี้ (21)