ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เดินหน้าชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ “คิวอี” โดยประกาศในวันพุธ (29 ม.ค.) ลดมูลค่าการรับซื้อสินทรัพย์ลงมาอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ถึงแม้ถูกกล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุความปั่นป่วนในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ดี ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) นัดสุดท้ายในยุคที่มี เบน เบอร์นันกี เป็นประธานคราวนี้ ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ใกล้ 0% ตามเดิม
หลังเสร็จสิ้นการประชุมเอฟโอเอ็มซีในวันพุธ ซึ่งเป็นหนสุดท้ายที่เบอร์นันกีเป็นประธาน ก่อนจะส่งมอบตำแหน่งต่อให้แก่ เจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดคนปัจจุบันที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานเฟดที่เป็นผู้หญิงคนแรกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ เฟดออกคำแถลงโดยตั้งข้อสังเกตว่า แม้ข้อมูลทางเศรษฐกิจหลายๆ ตัวซึ่งออกมานับแต่การประชุมครั้งก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จะบ่งชี้ถึงแนวโน้มทั้งแง่บวกและแง่ลบ แต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีผลประกอบการดีขึ้น
ในการประชุมคราวนี้ เฟดยังกระทำสิ่งซึ่งมีการคาดหมายกันไว้ นั่นคือ ประกาศลดขนาดโครงการซื้อคืนพันธบัตรลงมาเหลือเดือนละ 65,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นี้ ขณะเดียวกัน ก็คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นชั่วข้ามคืน “เฟด ฟันด์ เรต” เอาไว้ที่ 0-0.25% ตามเดิม
เฟดซึ่งตามกฎหมายของสหรัฐฯ มีหน้าที่ทั้งกระตุ้นการจ้างงานและรักษาเสถียรภาพราคา กล่าวอธิบายในคำแถลงว่า เงื่อนไขขณะนี้เอื้ออำนวยสำหรับการลดมาตรการกระตุ้น “อย่างระมัดระวัง”
ทางด้านตลาดหุ้นนิวยอร์กวันพุธขานรับคำแถลงของเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ด้วยการดิ่งลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรคลังสหรัฐฯ ระยะ 10 ปีทำสถิติต่ำสุดนับแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา และดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบยูโร แต่อ่อนลงเมื่อเทียบเยน
ขณะเดียวกัน มติที่ลดขนาดมาตรการ “ผ่อนคลายเชิงปริมาณ” (คิวอี) ลงมาอีกของเอฟโอเอ็มซี ก็ส่งผลกระทบต่อพวกตลาดเกิดใหม่ในทันที โดยในวันพฤหัสบดี (30) สกุลเงินตราทั้งของอินเดีย, แอฟริกาใต้, และตุรกี ต่างไม่อาจขยับขึ้นได้ ทั้งที่ทางการของชาติเหล่านี้พยายามรับมือด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ส่วนราคาหุ้นในตลาดแถบเอเชียก็พากันร่วง
ทางด้านนักวิเคราะห์อย่างเช่น แดเนียล อัลเพิร์ต หุ้นส่วนผู้จัดการเวสต์วูด แคปิตอลในนิวยอร์ก ชี้ว่า คำแถลงล่าสุดนี้สะท้อนว่า เฟดตัดสินใจสานต่อเพื่อยุติโครงการซื้อพันธบัตรภายในปีนี้
ขณะที่ ไรอัน สวีต จากมูดี้ส์ อนาลิติกส์ แสดงความเห็นว่า หากจะมีเรื่องน่าประหลาดใจอยู่บ้างจากคำแถลงครั้งนี้ คงเป็นการที่เฟดไม่เอ่ยถึงความเสี่ยงขาลงในตลาดโลก โดยเฉพาะในหมู่ประเทศตลาดเกิดใหม่ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าพวกผู้วางนโยบายการเงินของสหรัฐฯยังไม่ยอมรับทราบว่า ความปั่นป่วนในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากการตัดสินใจลดการซื้อพันธบัตรของเฟดในเดือนธันวาคม
หลังเสร็จสิ้นการประชุมเอฟโอเอ็มซีในวันพุธ ซึ่งเป็นหนสุดท้ายที่เบอร์นันกีเป็นประธาน ก่อนจะส่งมอบตำแหน่งต่อให้แก่ เจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดคนปัจจุบันที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานเฟดที่เป็นผู้หญิงคนแรกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ เฟดออกคำแถลงโดยตั้งข้อสังเกตว่า แม้ข้อมูลทางเศรษฐกิจหลายๆ ตัวซึ่งออกมานับแต่การประชุมครั้งก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จะบ่งชี้ถึงแนวโน้มทั้งแง่บวกและแง่ลบ แต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีผลประกอบการดีขึ้น
ในการประชุมคราวนี้ เฟดยังกระทำสิ่งซึ่งมีการคาดหมายกันไว้ นั่นคือ ประกาศลดขนาดโครงการซื้อคืนพันธบัตรลงมาเหลือเดือนละ 65,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นี้ ขณะเดียวกัน ก็คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นชั่วข้ามคืน “เฟด ฟันด์ เรต” เอาไว้ที่ 0-0.25% ตามเดิม
เฟดซึ่งตามกฎหมายของสหรัฐฯ มีหน้าที่ทั้งกระตุ้นการจ้างงานและรักษาเสถียรภาพราคา กล่าวอธิบายในคำแถลงว่า เงื่อนไขขณะนี้เอื้ออำนวยสำหรับการลดมาตรการกระตุ้น “อย่างระมัดระวัง”
ทางด้านตลาดหุ้นนิวยอร์กวันพุธขานรับคำแถลงของเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ด้วยการดิ่งลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรคลังสหรัฐฯ ระยะ 10 ปีทำสถิติต่ำสุดนับแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา และดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบยูโร แต่อ่อนลงเมื่อเทียบเยน
ขณะเดียวกัน มติที่ลดขนาดมาตรการ “ผ่อนคลายเชิงปริมาณ” (คิวอี) ลงมาอีกของเอฟโอเอ็มซี ก็ส่งผลกระทบต่อพวกตลาดเกิดใหม่ในทันที โดยในวันพฤหัสบดี (30) สกุลเงินตราทั้งของอินเดีย, แอฟริกาใต้, และตุรกี ต่างไม่อาจขยับขึ้นได้ ทั้งที่ทางการของชาติเหล่านี้พยายามรับมือด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ส่วนราคาหุ้นในตลาดแถบเอเชียก็พากันร่วง
ทางด้านนักวิเคราะห์อย่างเช่น แดเนียล อัลเพิร์ต หุ้นส่วนผู้จัดการเวสต์วูด แคปิตอลในนิวยอร์ก ชี้ว่า คำแถลงล่าสุดนี้สะท้อนว่า เฟดตัดสินใจสานต่อเพื่อยุติโครงการซื้อพันธบัตรภายในปีนี้
ขณะที่ ไรอัน สวีต จากมูดี้ส์ อนาลิติกส์ แสดงความเห็นว่า หากจะมีเรื่องน่าประหลาดใจอยู่บ้างจากคำแถลงครั้งนี้ คงเป็นการที่เฟดไม่เอ่ยถึงความเสี่ยงขาลงในตลาดโลก โดยเฉพาะในหมู่ประเทศตลาดเกิดใหม่ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าพวกผู้วางนโยบายการเงินของสหรัฐฯยังไม่ยอมรับทราบว่า ความปั่นป่วนในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากการตัดสินใจลดการซื้อพันธบัตรของเฟดในเดือนธันวาคม