นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ของโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27กิโลเมตร อยู่ระหว่างเร่งจัดทำเอกสารขอบเขตงานการประกวดราคา (ทีโออาร์) ในสัญญาที่ 6 คือ งานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ และการบริหารจัดการเดินรถ กรอบวงเงินประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้
หลังจากนั้น จะประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประมูลงานระบบรถไฟฟ้าฯ ในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยกระบวนการจัดทำเอกสารประกวดราคาน่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน คาดว่าจะเปิดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หรือราวๆ เดือนกันยายน โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะใช้รูปแบบสัญญาสัมปทานเป็นแบบ PPP Gross Cost คือรัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และจัดเก็บค่าโดยสาร โดยให้เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้าทำหน้าที่เดินรถแล้วจ่ายเป็นเงินค่าจ้างแบบกำหนดราคาคงที่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กับสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
ทั้งนี้ แม้จะรูปแบบสัมปทานจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับสายสีม่วง แต่จะมีการกำหนดรายละเอียดในทีโออาร์แตกต่างกัน ซึ่งจะมีความรัดกุมในการกำหนดวิธีการประมูลเพื่อเปิดให้มีการแข่งขันที่เปิดกว้างมากที่สุด ทำให้ราคางานลดลง เช่น อยากให้มีคู่แข่งมากขึ้น จากประสบการณ์ของสายสีม่วงที่มีคู่แข่งงานระบบรถไฟฟ้าแค่ 2 ราย ทำให้ราคางานสูง การต่อรองมีไม่มาก และใช้เวลานาน แต่ครั้งนี้จะมีการปรับรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เข้าร่วมประมูลใหม่ จากที่ต้องเคยมีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นเคยเดินรถไฟฟ้าที่ใดก็ได้ เพราะตอนเปิดประมูลหาคนเดินรถไฟฟ้าของบีทีเอสกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ก็ไม่เห็นว่าต้องกำหนดว่าเคยเดินรถในไทย เพราะไม่เคยมีมาก่อนแต่ก็ยังให้บริการมาได้ ซึ่งการปรับตรงนี้จะทำให้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังให้มีการกำหนดเดทไลน์การเจรจา คือกำหนดกรอบวันเจรจาที่ชัดเจน หากถึงกำหนดแล้วการเจรจายังไม่เป็นที่น่าพอใจ สามารถเรียกรายอื่นมาเจรจาแทนได้ทันที คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่เริ่มประกาศประกวดราคาจนถึงขั้นเจรจาเสร็จสิ้นประมาณ 10-12 เดือน ซึ่งจะทำให้การดำเนินการทำได้รวดเร็วตามแผน ไม่ล่าช้าเหมือนสายสีม่วงที่ใช้เวลาเจรจานานถึง 2 ปี
หลังจากนั้น จะประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประมูลงานระบบรถไฟฟ้าฯ ในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยกระบวนการจัดทำเอกสารประกวดราคาน่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน คาดว่าจะเปิดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หรือราวๆ เดือนกันยายน โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะใช้รูปแบบสัญญาสัมปทานเป็นแบบ PPP Gross Cost คือรัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และจัดเก็บค่าโดยสาร โดยให้เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้าทำหน้าที่เดินรถแล้วจ่ายเป็นเงินค่าจ้างแบบกำหนดราคาคงที่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กับสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
ทั้งนี้ แม้จะรูปแบบสัมปทานจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับสายสีม่วง แต่จะมีการกำหนดรายละเอียดในทีโออาร์แตกต่างกัน ซึ่งจะมีความรัดกุมในการกำหนดวิธีการประมูลเพื่อเปิดให้มีการแข่งขันที่เปิดกว้างมากที่สุด ทำให้ราคางานลดลง เช่น อยากให้มีคู่แข่งมากขึ้น จากประสบการณ์ของสายสีม่วงที่มีคู่แข่งงานระบบรถไฟฟ้าแค่ 2 ราย ทำให้ราคางานสูง การต่อรองมีไม่มาก และใช้เวลานาน แต่ครั้งนี้จะมีการปรับรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เข้าร่วมประมูลใหม่ จากที่ต้องเคยมีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นเคยเดินรถไฟฟ้าที่ใดก็ได้ เพราะตอนเปิดประมูลหาคนเดินรถไฟฟ้าของบีทีเอสกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ก็ไม่เห็นว่าต้องกำหนดว่าเคยเดินรถในไทย เพราะไม่เคยมีมาก่อนแต่ก็ยังให้บริการมาได้ ซึ่งการปรับตรงนี้จะทำให้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังให้มีการกำหนดเดทไลน์การเจรจา คือกำหนดกรอบวันเจรจาที่ชัดเจน หากถึงกำหนดแล้วการเจรจายังไม่เป็นที่น่าพอใจ สามารถเรียกรายอื่นมาเจรจาแทนได้ทันที คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่เริ่มประกาศประกวดราคาจนถึงขั้นเจรจาเสร็จสิ้นประมาณ 10-12 เดือน ซึ่งจะทำให้การดำเนินการทำได้รวดเร็วตามแผน ไม่ล่าช้าเหมือนสายสีม่วงที่ใช้เวลาเจรจานานถึง 2 ปี