วิกฤตอาหารเมื่อ 5 ปีที่แล้วยังตามหลอกหลอนเอเชีย ส่งผลให้หลายประเทศเดินหน้าสำรองธัญญาหารแม้มีปัญหาในการจัดเก็บและงบประมาณตึงตัว รวมทั้งมีสต็อกรวมกันมากพอเลี้ยงคนจีนทั่วประเทศนานถึง 8 เดือนแล้ว ส่วนสำหรับไทยนั้นเตรียมสต็อกข้าวเพิ่มอีก 10 ล้านตันสิ้นปีนี้ ทั้งที่ยังมีคั่งค้างจากโครงการรับจำนำอยู่ถึง 16 ล้านตัน หรือครึ่งหนึ่งของปริมาณการซื้อขายทั่วโลกในแต่ละปี
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของแนวโน้มนี้ก็คือ ช่วยกระตุ้นราคาให้กระเตื้องขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ทรุดลงเพราะคาดการณ์กันว่าผลผลิตธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
แอ็บโดลีซา แอ็บบัสเซียน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโรม ชี้ว่า พวกประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยเฉพาะในเอเชีย ยังคงลังเลอย่างมากที่จะปล่อยให้ปริมาณธัญญาหารคงคลังลดต่ำลง
“บทเรียนที่ได้มาทั้งจากช่วงทศวรรษ 1990 และช่วงปี 2007-2008 จะโน้มน้าวให้บรรดาผู้วางนโยบายเชื่อว่า ในเรื่องความมั่นคงด้านอาหารนั้น ไม่อาจไว้วางใจตลาดระหว่างประเทศได้ 100%”
ด้วยเหตุนี้ประเทศผู้นำเข้าธัญญาหารในเอเชียจึงพากันกักตุนข้าวรวมกันถึง 100 ล้านตัน และข้าวสาลี 90 ล้านตัน นับตั้งแต่ที่ต้องเผชิญปัญหาราคาราคาธัญพืชพุ่งทะยานในปี 2008 สืบเนื่องจากปัจจัยหลายๆ ประการ ทั้งการที่ราคาน้ำมันแพง สภาพอากาศเลวร้าย และความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพที่เพิ่มขึ้น
ตอนนั้นอินเดียซึ่งหวั่นเกรงการขาดแคลนภายในประเทศ ถึงขั้นประกาศระงับการส่งออกข้าว ขณะที่ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ตันละ 1,050 ดอลลาร์ ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของแดนภารตะ ยังกระตุ้นให้ประเทศผู้ผลิตข้าวอื่นๆ ดำเนินรอยตาม ส่วนประเทศผู้นำเข้าอย่างฟิลิปปินส์ก็เกิดความแตกตื่นเร่งรีบสั่งซื้อ
อย่างไรก็ตาม อินเดียถูกบีบให้ส่งออกธัญญาหารอีกครั้งในปี 2011 หลังจากภาพข้าวสาลีและข้าวเน่ากลางสนามเปิดโล่งถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก แต่ความที่ไม่เต็มใจขายจึงทำให้สต็อกข้าวในโกดังของรัฐยังปักหลักอยู่ที่ 21 ล้านตัน ณ วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา เทียบกับเป้าหมายของทางการซึ่งตั้งไว้ที่ 9.8 ล้านตันเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นผลจากปริมาณฝนที่อุดมสมบูรณ์ 4 ปีติดต่อกัน สำหรับสต็อกข้าวสาลีนั้นอยู่ที่ 38 ล้านตัน จากเป้าหมายที่ต้องการให้ลดเหลือ 17.1 ล้านตัน
นักวิเคระห์ในเมลเบิร์นเชื่อว่า ชาติเอเชียที่มีประชากรหนาแน่นจะไม่ยอมลดสต็อกอาหารจนกว่าจะเห็นปริมาณธัญญาหารคงเหลือในประเทศผู้ส่งออกสำคัญ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย และรัสเซีย เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของแนวโน้มนี้ก็คือ ช่วยกระตุ้นราคาให้กระเตื้องขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ทรุดลงเพราะคาดการณ์กันว่าผลผลิตธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
แอ็บโดลีซา แอ็บบัสเซียน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโรม ชี้ว่า พวกประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยเฉพาะในเอเชีย ยังคงลังเลอย่างมากที่จะปล่อยให้ปริมาณธัญญาหารคงคลังลดต่ำลง
“บทเรียนที่ได้มาทั้งจากช่วงทศวรรษ 1990 และช่วงปี 2007-2008 จะโน้มน้าวให้บรรดาผู้วางนโยบายเชื่อว่า ในเรื่องความมั่นคงด้านอาหารนั้น ไม่อาจไว้วางใจตลาดระหว่างประเทศได้ 100%”
ด้วยเหตุนี้ประเทศผู้นำเข้าธัญญาหารในเอเชียจึงพากันกักตุนข้าวรวมกันถึง 100 ล้านตัน และข้าวสาลี 90 ล้านตัน นับตั้งแต่ที่ต้องเผชิญปัญหาราคาราคาธัญพืชพุ่งทะยานในปี 2008 สืบเนื่องจากปัจจัยหลายๆ ประการ ทั้งการที่ราคาน้ำมันแพง สภาพอากาศเลวร้าย และความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพที่เพิ่มขึ้น
ตอนนั้นอินเดียซึ่งหวั่นเกรงการขาดแคลนภายในประเทศ ถึงขั้นประกาศระงับการส่งออกข้าว ขณะที่ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ตันละ 1,050 ดอลลาร์ ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของแดนภารตะ ยังกระตุ้นให้ประเทศผู้ผลิตข้าวอื่นๆ ดำเนินรอยตาม ส่วนประเทศผู้นำเข้าอย่างฟิลิปปินส์ก็เกิดความแตกตื่นเร่งรีบสั่งซื้อ
อย่างไรก็ตาม อินเดียถูกบีบให้ส่งออกธัญญาหารอีกครั้งในปี 2011 หลังจากภาพข้าวสาลีและข้าวเน่ากลางสนามเปิดโล่งถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก แต่ความที่ไม่เต็มใจขายจึงทำให้สต็อกข้าวในโกดังของรัฐยังปักหลักอยู่ที่ 21 ล้านตัน ณ วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา เทียบกับเป้าหมายของทางการซึ่งตั้งไว้ที่ 9.8 ล้านตันเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นผลจากปริมาณฝนที่อุดมสมบูรณ์ 4 ปีติดต่อกัน สำหรับสต็อกข้าวสาลีนั้นอยู่ที่ 38 ล้านตัน จากเป้าหมายที่ต้องการให้ลดเหลือ 17.1 ล้านตัน
นักวิเคระห์ในเมลเบิร์นเชื่อว่า ชาติเอเชียที่มีประชากรหนาแน่นจะไม่ยอมลดสต็อกอาหารจนกว่าจะเห็นปริมาณธัญญาหารคงเหลือในประเทศผู้ส่งออกสำคัญ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย และรัสเซีย เพิ่มขึ้น