นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี กล่าวว่า ในระยะนี้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และสภาพอากาศเปลี่ยนเเปลง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลายชนิดที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว หากประชาชนดูแลรักษาสุขภาพอนามัยไม่ถูกต้อง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ไข้เลือดออก โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางผิวหนัง โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ อันตรายที่เกิดจากสัตว์มีพิษ รวมทั้งอันตรายจากการจมน้ำและไฟฟ้าดูด
ทั้งนี้ โรคที่มักเกิดการระบาดได้ในช่วงฤดูฝน ที่พบบ่อย ได้แก่ 1.กลุ่มโรคทางเดินหายใจ 5 โรค ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในอากาศ ติดต่อกันง่ายโดยการไอ-จาม หากป่วยเป็นปอดบวมอาจเสียชีวิตได้ อาการคือ มีไข้สูง หายใจเร็วหรือเหนื่อยหอบ 2.โรคติดต่อทางน้ำและอาหารที่พบบ่อยคือ การกินเห็ดพิษ ดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน 3.โรคที่เกิดจากยุงและสัตว์ต่างๆ
4.โรคที่พบบ่อย คือ ไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสในยุงลาย โรคมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องในป่ากัด โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) เกิดจากถูกยุงรำคาญในทุ่งนากัด และโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคไข้ฉี่หนู เชื้อจะปะปนในดินโคลนที่ชื้นแฉะ ทั้ง 4 โรคจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก โดยโรคฉี่หนูจะมีอาการเด่น คือ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องและโคนขาอย่างรุนแรงตาแดง 4.โรคที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากีไวรัส เอนเทอโรไวรัส และ 5.โรคที่มักเกิดในภาวะน้ำท่วมมี 2 โรค ได้แก่ โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกเข้าตา โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา
ดังนั้น ประชาชนควรเร่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ล้างมือ ล้างเท้าให้สะอาดหลังลุยน้ำย่ำโคลน หรือสวมรองเท้าบู๊ต หลีกเลี่ยงการเดินในพื้นที่ชื้นเเฉะ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ป้องกันอย่าให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุงจากพืชธรรมชาติ ทำลายเเหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบบ้าน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำเเละสบู่ เเละดูเเลบ้านเรือนให้สะอาด เพื่อไม่ให้สัตว์นำโรคเเละสัตว์มีพิษหนีน้ำมาอาศัยในบ้าน
ที่สำคัญหากประชาชนเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที และถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0-2590-3333
ทั้งนี้ โรคที่มักเกิดการระบาดได้ในช่วงฤดูฝน ที่พบบ่อย ได้แก่ 1.กลุ่มโรคทางเดินหายใจ 5 โรค ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในอากาศ ติดต่อกันง่ายโดยการไอ-จาม หากป่วยเป็นปอดบวมอาจเสียชีวิตได้ อาการคือ มีไข้สูง หายใจเร็วหรือเหนื่อยหอบ 2.โรคติดต่อทางน้ำและอาหารที่พบบ่อยคือ การกินเห็ดพิษ ดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน 3.โรคที่เกิดจากยุงและสัตว์ต่างๆ
4.โรคที่พบบ่อย คือ ไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสในยุงลาย โรคมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องในป่ากัด โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) เกิดจากถูกยุงรำคาญในทุ่งนากัด และโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคไข้ฉี่หนู เชื้อจะปะปนในดินโคลนที่ชื้นแฉะ ทั้ง 4 โรคจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก โดยโรคฉี่หนูจะมีอาการเด่น คือ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องและโคนขาอย่างรุนแรงตาแดง 4.โรคที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากีไวรัส เอนเทอโรไวรัส และ 5.โรคที่มักเกิดในภาวะน้ำท่วมมี 2 โรค ได้แก่ โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกเข้าตา โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา
ดังนั้น ประชาชนควรเร่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ล้างมือ ล้างเท้าให้สะอาดหลังลุยน้ำย่ำโคลน หรือสวมรองเท้าบู๊ต หลีกเลี่ยงการเดินในพื้นที่ชื้นเเฉะ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ป้องกันอย่าให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุงจากพืชธรรมชาติ ทำลายเเหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบบ้าน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำเเละสบู่ เเละดูเเลบ้านเรือนให้สะอาด เพื่อไม่ให้สัตว์นำโรคเเละสัตว์มีพิษหนีน้ำมาอาศัยในบ้าน
ที่สำคัญหากประชาชนเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที และถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0-2590-3333