นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึง ความคืบหน้ากรณีที่มีปัญหาการบรรจุยา Isosorbide Dinitrate 10 มิลลิกรัม ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ลงในซองยา Amlodopine 5 มิลลิกรัม สำหรับรักษาโรคความดันโลหิต ล่าสุด ได้เรียกคืนยามาทั้งหมดแล้วพบว่า มียาผู้ป่วยโรคหัวใจปะปนอยู่ 2,565 เม็ด จากการผลิตทั้งหมด 660,000 เม็ด
ภายหลังจากการรายงานผลต่อคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ได้มีมติปิดระบบการผลิตยาทั้งหมด 240 รายการ เพื่อเป็นการปรับปรุง และทบทวนกระบวนการผลิตยา ตั้งแต่วันที่ 25-30 กันยายนนี้ รวม 6 วัน และจะเปิดการผลิตอีกครั้งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ ยอมรับว่า การหยุดการผลิต จะทำให้องค์การเภสัชกรรมเสียหายมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท แต่ยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งมียาสำรองเพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาล
นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมได้วางมาตรการเพิ่มได้แก่ การสำรวจหาจุดบกพร่องอาคารสถานที่ที่ผลิตยาทุกชนิด เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ และเอกสารให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติอย่างถูกต้อง รวมถึงจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานที่ให้เกิดความมั่นใจ อาทิ ถังบรรจุยาที่มีฝาปิดล็อก ที่ไม่สามารถนำเม็ดยาทิ้งกลับออกมาได้ ติดตั้งกล้องวงจรปิดในส่วนไลน์การผลิต และจะมีการจัดอบรมบุคคลากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,200 คน ให้มีความ ให้มีความรู้เข้าใจมากขึ้น
ส่วนบุคคลากรที่อยู่ในแผนกยาเม็ด 3 ที่เกิดปัญหาจำนวน 13 คน ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน และย้ายไปปฏิบัติงานในแผนกอื่นแล้ว นอกจากนี้จะมีการลดการผลิตยาเม็ดในแผนกผลิตยาเม็ด 3 จากเดิมผลิต 14 ราย ลดเหลือเพียง 1 รายการ คือยา Amlodipine เนื่องจากมีปริมาณการผลิตสูงที่สุด ซึ่งการหยุดผลิตจะสูญเสียรายได้กว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรม ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP อย่างเคร่งครัด ซึ่งการหยุดการผลิต เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบมาตรฐานทั้งหมด และสร้างความเชื่อต่อผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม
ภายหลังจากการรายงานผลต่อคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ได้มีมติปิดระบบการผลิตยาทั้งหมด 240 รายการ เพื่อเป็นการปรับปรุง และทบทวนกระบวนการผลิตยา ตั้งแต่วันที่ 25-30 กันยายนนี้ รวม 6 วัน และจะเปิดการผลิตอีกครั้งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ ยอมรับว่า การหยุดการผลิต จะทำให้องค์การเภสัชกรรมเสียหายมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท แต่ยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งมียาสำรองเพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาล
นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมได้วางมาตรการเพิ่มได้แก่ การสำรวจหาจุดบกพร่องอาคารสถานที่ที่ผลิตยาทุกชนิด เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ และเอกสารให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติอย่างถูกต้อง รวมถึงจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานที่ให้เกิดความมั่นใจ อาทิ ถังบรรจุยาที่มีฝาปิดล็อก ที่ไม่สามารถนำเม็ดยาทิ้งกลับออกมาได้ ติดตั้งกล้องวงจรปิดในส่วนไลน์การผลิต และจะมีการจัดอบรมบุคคลากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,200 คน ให้มีความ ให้มีความรู้เข้าใจมากขึ้น
ส่วนบุคคลากรที่อยู่ในแผนกยาเม็ด 3 ที่เกิดปัญหาจำนวน 13 คน ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน และย้ายไปปฏิบัติงานในแผนกอื่นแล้ว นอกจากนี้จะมีการลดการผลิตยาเม็ดในแผนกผลิตยาเม็ด 3 จากเดิมผลิต 14 ราย ลดเหลือเพียง 1 รายการ คือยา Amlodipine เนื่องจากมีปริมาณการผลิตสูงที่สุด ซึ่งการหยุดผลิตจะสูญเสียรายได้กว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรม ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP อย่างเคร่งครัด ซึ่งการหยุดการผลิต เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบมาตรฐานทั้งหมด และสร้างความเชื่อต่อผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม