ชาวบ้านชาวเลราไวย์ จ.ภูเก็ต เตรียมพื้นที่ให้กับนักโบราณคดีจากกรมศิลปากรที่ 15 ทำการตีผัง และขุดหลุม เพื่อขุดหาโครงกระดูกบรรพบุรุษเพิ่มเติม ซึ่งการทำงานวันนี้เป็นวันที่ 2 แล้ว
กระบวนการขุด คือขุดหลุมที่มีความลึกไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร และนำข้อมูลรูปแบบการฝังศพชาวเลมาคำนวณหาทิศทางใหม่ เพื่อหาโครงกระดูก ตามคำร้องขอของกลุ่มชาวเล เพราะหากมีการตรวจพบโครงกระดูก และสามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงกระดูกที่พบ มีความเชื่อมโยงกับชาวเลในหมู่บ้าน ที่มีการให้เก็บดีเอ็นเอไปก่อนหน้านี้ ก็จะเป็นการพิสูจน์ในที่ดินที่อยู่มาก่อน ซึ่งกลุ่มชาวเลอ้างว่า อยู่มาตั้งแต่ปี 2497 ซึ่งเป็นปีก่อนที่กฎหมายที่ดินจะมี และจะถือว่าเป็นหลักฐานที่ทำให้ชาวเลสามารถนำไปสู้ รวมถึงโต้แย้งกับเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่กลุ่มนายทุนมี และพยายามขับไล่ออกจากพื้นที่
สำหรับที่ดินที่เป็นข้อพิพาท มีประมาณ 25 ไร่ โดยทั้งหมดมีชาวเลราไวย์อาศัยอยู่ ซึ่งชาวเลเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ มอแกน มอเกล็น และกลุ่มชาติพันธุ์อูรังลาโว้ย รวม 2,000 คน หรือ 247 ครัวเรือน
กระบวนการขุด คือขุดหลุมที่มีความลึกไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร และนำข้อมูลรูปแบบการฝังศพชาวเลมาคำนวณหาทิศทางใหม่ เพื่อหาโครงกระดูก ตามคำร้องขอของกลุ่มชาวเล เพราะหากมีการตรวจพบโครงกระดูก และสามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงกระดูกที่พบ มีความเชื่อมโยงกับชาวเลในหมู่บ้าน ที่มีการให้เก็บดีเอ็นเอไปก่อนหน้านี้ ก็จะเป็นการพิสูจน์ในที่ดินที่อยู่มาก่อน ซึ่งกลุ่มชาวเลอ้างว่า อยู่มาตั้งแต่ปี 2497 ซึ่งเป็นปีก่อนที่กฎหมายที่ดินจะมี และจะถือว่าเป็นหลักฐานที่ทำให้ชาวเลสามารถนำไปสู้ รวมถึงโต้แย้งกับเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่กลุ่มนายทุนมี และพยายามขับไล่ออกจากพื้นที่
สำหรับที่ดินที่เป็นข้อพิพาท มีประมาณ 25 ไร่ โดยทั้งหมดมีชาวเลราไวย์อาศัยอยู่ ซึ่งชาวเลเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ มอแกน มอเกล็น และกลุ่มชาติพันธุ์อูรังลาโว้ย รวม 2,000 คน หรือ 247 ครัวเรือน