จีดีพีญี่ปุ่นไตรมาส 2 เติบโตชะลอตัวกว่าที่คาด เนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังคุมเข้มการลงทุนด้วยไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืน คาดข้อมูลล่าสุดกดดันให้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ต้องเร่งเครื่องแผนปฏิรูปเชิงรุกมากขึ้น และอาจรวมถึงทบทวนแผนการขึ้นภาษีการขายต้นปีหน้าเพื่อแก้ปัญหาหนี้สาธารณะที่พุ่งทะลุ 10.4 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
สำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันจันทร์ (12) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ผ่านมาขยับขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ หรือหากคิดเป็นอัตราต่อปีก็จะเท่ากับ 2.6% ต่อปี นับว่าต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าอย่างน้อยจะทำได้ 3% และลดวูบจากไตรมาสแรกซึ่งทำได้ในอัตรา 4.1%
เป็นที่คาดหมายกันว่า อัตราเติบโตซึ่งต่ำลงมาเช่นนี้จะเพิ่มความกดดันให้อาเบะต้องเร่งผลักดันมาตรการปฏิรูปที่สัญญาไว้เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวของประเทศ รวมทั้งอาจกระตุ้นให้รัฐบาลตัดสินใจเลื่อนแผนขึ้นภาษีการขาย (คล้ายๆ ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ออกไปก่อน
อย่างไรก็ดี มาซามิชิ อาดาชิ นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกนในโตเกียว มองว่าการที่การใช้จ่ายสาธารณะระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามที่วางแผนไว้ ส่งผลให้เงินอัดฉีดพิเศษสำหรับโครงการต่างๆ จะมีผลในการกระตุ้นการเติบโตเมื่อถึงช่วงครึ่งหลังของปีนี้แทน กระทั่งสามารถพูดได้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะสามารถรักษาโมเมนตัมที่มั่นคงต่อไป
กระนั้น หากการเติบโตในไตรมาสปัจจุบันจะยังคงชะลอตัวต่อจากไตรมาส 2 ตามที่มีการคาดการณ์กัน ก็มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะถูกกดดันให้ผลักดันมาตรการปฏิรูปเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต่างกำลังเฝ้าดูว่า ยุทธศาสตร์โดยรวมของอาเบะจะสามารถฟื้นการเติบโตอย่างยั่งยืนได้จริงหรือไม่ หลังจากที่ประเทศเจ้าของเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ซบเซาถดถอยมาเป็นสิบปี
สำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันจันทร์ (12) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ผ่านมาขยับขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ หรือหากคิดเป็นอัตราต่อปีก็จะเท่ากับ 2.6% ต่อปี นับว่าต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าอย่างน้อยจะทำได้ 3% และลดวูบจากไตรมาสแรกซึ่งทำได้ในอัตรา 4.1%
เป็นที่คาดหมายกันว่า อัตราเติบโตซึ่งต่ำลงมาเช่นนี้จะเพิ่มความกดดันให้อาเบะต้องเร่งผลักดันมาตรการปฏิรูปที่สัญญาไว้เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวของประเทศ รวมทั้งอาจกระตุ้นให้รัฐบาลตัดสินใจเลื่อนแผนขึ้นภาษีการขาย (คล้ายๆ ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ออกไปก่อน
อย่างไรก็ดี มาซามิชิ อาดาชิ นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกนในโตเกียว มองว่าการที่การใช้จ่ายสาธารณะระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามที่วางแผนไว้ ส่งผลให้เงินอัดฉีดพิเศษสำหรับโครงการต่างๆ จะมีผลในการกระตุ้นการเติบโตเมื่อถึงช่วงครึ่งหลังของปีนี้แทน กระทั่งสามารถพูดได้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะสามารถรักษาโมเมนตัมที่มั่นคงต่อไป
กระนั้น หากการเติบโตในไตรมาสปัจจุบันจะยังคงชะลอตัวต่อจากไตรมาส 2 ตามที่มีการคาดการณ์กัน ก็มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะถูกกดดันให้ผลักดันมาตรการปฏิรูปเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต่างกำลังเฝ้าดูว่า ยุทธศาสตร์โดยรวมของอาเบะจะสามารถฟื้นการเติบโตอย่างยั่งยืนได้จริงหรือไม่ หลังจากที่ประเทศเจ้าของเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ซบเซาถดถอยมาเป็นสิบปี