วิกฤตการเมืองอียิปต์ใกล้ถึงจุดแตกหัก หลังกองทัพให้เวลาประธานาธิบดี 48 ชั่วโมงเพื่อทำตามเสียงเรียกร้องของประชาชน ด้านประธานาธิบดีมอร์ซี ยันกรานไม่ยอมให้ทหารบงการ ประกาศเดินหน้าแผนปรองดองของตนเองต่อ ขณะที่กลุ่มต่อต้านนัดชุมนุมเดินขบวนเย็นวันอังคารกดดันต่อเนื่องให้ประธานาธิบดีลาออก
คำแถลงของกองทัพที่ถ่ายทอดทางทีวีเมื่อวันจันทร์ (1) ให้เวลาประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี 48 ชั่วโมงในการปฏิบัติตามเสียงเรียกร้องของประชาชน หลังมีผู้ออกมาชุมนุมประท้วงนับล้านๆ คนทั่วประเทศเรียกร้องให้ประมุขประเทศที่มีแนวทางอิสลามิสต์ผู้นี้ลงจากตำแหน่ง เมื่อวันอาทิตย์ (30 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีในการบริหารประเทศของเขา
ปรากฏว่าหลังจากนั้น 9 ชั่วโมงเต็ม มอร์ซีได้ออกคำแถลงในเวลาตีสองของวันอังคาร (2ก.ค.) ซึ่งแม้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ท่าทีประจันหน้ากับฝ่ายทหาร แต่ก็ยืนยันว่าเขาจะยังคงเดินตามแผนการปรองดองแห่งชาติของตนเอง พร้อมระบุว่า ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องฟังคำชี้แนะจากกองทัพ อีกทั้งประณามคำประกาศใดๆ ที่ทำให้สังคมแตกแยกมากขึ้นและคุกคามความสงบสุข
ทางด้านกลุ่มผู้สนับสนุนซึ่งนัดหมายชุมนุมกันเพื่อปกป้องความชอบธรรมของมอร์ซี ได้ออกมาแถลงว่า ความพยายามปลดประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของฝ่ายทหารเช่นนี้ ถือเป็นการก่อรัฐประหาร
ปรากฏว่ากองทัพออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทันที และระบุว่าคำแถลงของพลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาการกองทัพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้กลุ่มการเมืองทั้งหมดหาทางคลี่คลายวิกฤตการณ์โดยเร็ว
สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เตือนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์จะส่งผลต่อประเทศอื่นๆ ที่โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในช่วงระหว่างและหลังการปฏิวัติ “อาหรับสปริง” เมื่อสองปีที่แล้ว
ในส่วนสื่อมวลชนอียิปต์ลงความเห็นว่า เส้นตายในวันพุธ (3) ของกองทัพจะเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์
คำแถลงของกองทัพที่ถ่ายทอดทางทีวีเมื่อวันจันทร์ (1) ให้เวลาประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี 48 ชั่วโมงในการปฏิบัติตามเสียงเรียกร้องของประชาชน หลังมีผู้ออกมาชุมนุมประท้วงนับล้านๆ คนทั่วประเทศเรียกร้องให้ประมุขประเทศที่มีแนวทางอิสลามิสต์ผู้นี้ลงจากตำแหน่ง เมื่อวันอาทิตย์ (30 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีในการบริหารประเทศของเขา
ปรากฏว่าหลังจากนั้น 9 ชั่วโมงเต็ม มอร์ซีได้ออกคำแถลงในเวลาตีสองของวันอังคาร (2ก.ค.) ซึ่งแม้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ท่าทีประจันหน้ากับฝ่ายทหาร แต่ก็ยืนยันว่าเขาจะยังคงเดินตามแผนการปรองดองแห่งชาติของตนเอง พร้อมระบุว่า ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องฟังคำชี้แนะจากกองทัพ อีกทั้งประณามคำประกาศใดๆ ที่ทำให้สังคมแตกแยกมากขึ้นและคุกคามความสงบสุข
ทางด้านกลุ่มผู้สนับสนุนซึ่งนัดหมายชุมนุมกันเพื่อปกป้องความชอบธรรมของมอร์ซี ได้ออกมาแถลงว่า ความพยายามปลดประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของฝ่ายทหารเช่นนี้ ถือเป็นการก่อรัฐประหาร
ปรากฏว่ากองทัพออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทันที และระบุว่าคำแถลงของพลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาการกองทัพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้กลุ่มการเมืองทั้งหมดหาทางคลี่คลายวิกฤตการณ์โดยเร็ว
สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เตือนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์จะส่งผลต่อประเทศอื่นๆ ที่โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในช่วงระหว่างและหลังการปฏิวัติ “อาหรับสปริง” เมื่อสองปีที่แล้ว
ในส่วนสื่อมวลชนอียิปต์ลงความเห็นว่า เส้นตายในวันพุธ (3) ของกองทัพจะเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์