การเดินเท้า 5 ก้าว แล้วก้มลงกราบพื้นดิน เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กร ให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวโดยสงบ และเคารพต่อแผ่นดิน
ทั้งนี้ตัวแทนเครือข่ายได้เดินเท้าจากลานพระบรมรูปทรงม้า มาปักหลักชุมนุมบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลทบทวนกรอบการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป โดยในวันที่ 6 -7 มีนาคมนี้ รัฐบาลจะเริ่มเจรจากรอบเอฟทีเอ ที่เมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งภาคประชาชนมองว่า กรอบร่างเจรจายังมีข้อบกพร่องทั้งกระบวนการและเนื้อหา อาจส่งผลกระทบต่อประเทศ และทุกภาคส่วนของสังคมในระยะยาว เช่น การเจรจาทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา ซึ่งจะส่งผลให้ยารักษาโรคถูกผูกขาด ราคายาแพงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา
นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จะทำให้บริษัทด้านการเกษตรรายใหญ่ ผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตอาจจะสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการเจรจาครั้งนี้ยังพูดถึงการเปิดเสรีสินค้าที่ทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ จึงถือเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เนื่องจากไทยนำเข้าสุราจากสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าหากมีการทำเอฟทีเอสุราต่างประเทศจะปลอดภาษีมีราคาถูกลง ทำให้คนไทยเข้าถึงสุราต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ภาคประชาชนยังมองด้วยว่า เอฟทีเอเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ ในด้านสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคปกป้องสิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือเกษตรกร โดยเป็นการเห็นประโยชน์ภาคเอกชน มากกว่าประโยชน์ของประชาชน
ผู้ประสานงานเอฟทีเอ กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และ นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป แสดงจุดยืนที่ชัดเจนใน 5 ประเด็น ได้แก่ การไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิบัตรยา การไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืช การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ต้องไม่นำไปสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ถอดการเจรจาสินค้าเหล้า บุหรี่ และจัดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเข้าใจท่าทีของคณะเจรจา โดยต้องรายงานความคืบหน้า พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะอย่างรอบด้าน และในช่วงบ่ายวันนี้ นายโอฬารจะออกมารับข้อเสนอของภาคประชาชน ซึ่งภาคประชาชนระบุว่า หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนจากคณะเจรจา จะชุมนุมยืดเยื้อต่อไป
ทั้งนี้ตัวแทนเครือข่ายได้เดินเท้าจากลานพระบรมรูปทรงม้า มาปักหลักชุมนุมบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลทบทวนกรอบการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป โดยในวันที่ 6 -7 มีนาคมนี้ รัฐบาลจะเริ่มเจรจากรอบเอฟทีเอ ที่เมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งภาคประชาชนมองว่า กรอบร่างเจรจายังมีข้อบกพร่องทั้งกระบวนการและเนื้อหา อาจส่งผลกระทบต่อประเทศ และทุกภาคส่วนของสังคมในระยะยาว เช่น การเจรจาทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา ซึ่งจะส่งผลให้ยารักษาโรคถูกผูกขาด ราคายาแพงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา
นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จะทำให้บริษัทด้านการเกษตรรายใหญ่ ผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตอาจจะสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการเจรจาครั้งนี้ยังพูดถึงการเปิดเสรีสินค้าที่ทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ จึงถือเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เนื่องจากไทยนำเข้าสุราจากสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าหากมีการทำเอฟทีเอสุราต่างประเทศจะปลอดภาษีมีราคาถูกลง ทำให้คนไทยเข้าถึงสุราต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ภาคประชาชนยังมองด้วยว่า เอฟทีเอเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ ในด้านสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคปกป้องสิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือเกษตรกร โดยเป็นการเห็นประโยชน์ภาคเอกชน มากกว่าประโยชน์ของประชาชน
ผู้ประสานงานเอฟทีเอ กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และ นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป แสดงจุดยืนที่ชัดเจนใน 5 ประเด็น ได้แก่ การไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิบัตรยา การไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืช การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ต้องไม่นำไปสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ถอดการเจรจาสินค้าเหล้า บุหรี่ และจัดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเข้าใจท่าทีของคณะเจรจา โดยต้องรายงานความคืบหน้า พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะอย่างรอบด้าน และในช่วงบ่ายวันนี้ นายโอฬารจะออกมารับข้อเสนอของภาคประชาชน ซึ่งภาคประชาชนระบุว่า หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนจากคณะเจรจา จะชุมนุมยืดเยื้อต่อไป