นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ชมรมวิทยากรอิสลามศึกษาพร้อมผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ได้มาพบที่กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ฝากให้ชมรมวิทยากรอิสลามศึกษาซึ่งประกอบด้วยวิทยากรสอนศาสนาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน(สพฐ.) ที่เปิดหลักสูตรอิสลามศึกษา ช่วยเป็นสื่อกลางในการรณรงค์โน้มน้าวให้เด็กในพื้นที่หันมาเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษา เด็กภาคใต้ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ เลือกเรียนต่อสายสามัญโดยเฉพาะเลือกเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนั้นเป็นที่นิยมมาก นักเรียนที่จบชั้นประถมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เลือกเรียนต่อในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพราะต้องการเรียนศาศนาควบคู่ไปด้วย ส่วนที่เหลือกระจายไปตามโรงเรียนรัฐบาล ขณะที่บางส่วนเรียนต่อด้านศาสนาโดยตรง มีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่สมัครใจเรียนสายอาชีพ
อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาลัยอาชีวศึกษาอาจเสียเปรียบตรงที่ไม่ได้เปิดสอนหลักสูตรอิสลามอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เด็กในภาคใต้ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม หันไปเลือกเรียนในโรงเรียนสายสามัญที่มีการเปิดสอนหลักสูตรอิสลามศึกษามากกว่า แต่ สอศ.จะใช้จุดแข็งคือ เรียนสายอาชีพจบแล้วมีงานทำมีรายได้แน่นอน มาเป็นตัวดึงดูดในเด็กมาเรียนสายอาชีพ ขณะเดียวกันจะมีโครงการนำนักศึกษาอาชีวศึกษาในภาคใต้มาฝึกงานในกรุงเทพมหานคร และในภาคอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เด็กได้เปิดหูเปิดตา อีกทั้งเป็นโอกาสให้เด็กเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีของภาคอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้นอกจากการชักจูงให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นแล้ว สอศ.ยังเข้าไปเปิดสอนสายอาชีพในโรงเรียนปอเนาะด้วย หวังผลิตแรงงานให้ได้เพิ่มขึ้น
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษา เด็กภาคใต้ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ เลือกเรียนต่อสายสามัญโดยเฉพาะเลือกเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนั้นเป็นที่นิยมมาก นักเรียนที่จบชั้นประถมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เลือกเรียนต่อในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพราะต้องการเรียนศาศนาควบคู่ไปด้วย ส่วนที่เหลือกระจายไปตามโรงเรียนรัฐบาล ขณะที่บางส่วนเรียนต่อด้านศาสนาโดยตรง มีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่สมัครใจเรียนสายอาชีพ
อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาลัยอาชีวศึกษาอาจเสียเปรียบตรงที่ไม่ได้เปิดสอนหลักสูตรอิสลามอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เด็กในภาคใต้ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม หันไปเลือกเรียนในโรงเรียนสายสามัญที่มีการเปิดสอนหลักสูตรอิสลามศึกษามากกว่า แต่ สอศ.จะใช้จุดแข็งคือ เรียนสายอาชีพจบแล้วมีงานทำมีรายได้แน่นอน มาเป็นตัวดึงดูดในเด็กมาเรียนสายอาชีพ ขณะเดียวกันจะมีโครงการนำนักศึกษาอาชีวศึกษาในภาคใต้มาฝึกงานในกรุงเทพมหานคร และในภาคอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เด็กได้เปิดหูเปิดตา อีกทั้งเป็นโอกาสให้เด็กเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีของภาคอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้นอกจากการชักจูงให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นแล้ว สอศ.ยังเข้าไปเปิดสอนสายอาชีพในโรงเรียนปอเนาะด้วย หวังผลิตแรงงานให้ได้เพิ่มขึ้น