อาชีวะ เปิดทางจังหวัดเสนอตั้ง วท.ได้ 1 แห่ง พิจารณาตั้งเป็น วท.อำเภอ “ชัยพฤกษ์” แจงอยู่ระหว่างคัดเลือกเน้นตั้งในอำเภอใหญ่คาดตั้งได้ มี.ค.นี้
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่กำหนดว่า ในปีการศึกษา 2559 สัดส่วนนักเรียนในสายอาชีวศึกษากับสายสามัญจะต้องอยู่ที่ 50:50 ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เตรียมแนวทางที่จะเพิ่มจำนวนนักเรียนอาชีวศึกษาให้ได้ตามเป้าหมายหลายโครงการ โดยเฉพาะการจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 อำเภอ 1 แห่ง เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีเด็กสนใจเรียนอยากเรียนต่อสายอาชีพ แต่กลับไม่มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาอยู่ใกล้บ้าน บางพื้นที่วิทยาลัยอยู่ไกลออกไปหลายอำเภอ ขณะที่โรงเรียนสายสามัญมีทุกพื้นที่โดยลงไปถึงระดับตำบล จึงทำให้เด็กหันไปเรียนต่อสายสามัญจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า ขณะนี้มี 500 กว่าอำเภอที่ไม่มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาตั้งอยู่ ดังนั้น สอศ.จึงต้องเร่งเพิ่มให้ครอบคลุมทุกอำเภอ
“ผมได้ให้ทุกจังหวัดเสนอที่ตั้งวิทยาลัยมาจังหวัดละ 1 แห่ง โดยในช่วงแรกอาจจะเป็นอำเภอใหญ่ๆ ก่อน ซึ่งขณะนี้ทุกจังหวัดได้ส่งที่ตั้งมาแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือก โดยในปีแรกจะคัดเลือกให้เหลือประมาณ 30 แห่ง โดยแต่ละแห่งจะได้รับงบประมาณผูกพัน 3 ปี 200 ล้านบาท ทั้งนี้การพิจารณาจะดูว่าในจังหวัดนั้นมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาอยู่หรือไม่ นอกจากนี้จะต้องดูด้วยว่ามีนักเรียนที่สนใจเข้าเรียนในสายอาชีพมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งวิทยาลัยที่จะจัดตั้งต้องอยู่ห่างจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ และเอกชนในจังหวัดเดียวกันค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันในการจัดการเรียนต้องเปิดสอนในสาขาที่สอดคล้อง และเป็นความต้องการของพื้นที่ ทั้งนี้คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จประมาณเดือน มี.ค.นี้ และจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่กำหนดว่า ในปีการศึกษา 2559 สัดส่วนนักเรียนในสายอาชีวศึกษากับสายสามัญจะต้องอยู่ที่ 50:50 ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เตรียมแนวทางที่จะเพิ่มจำนวนนักเรียนอาชีวศึกษาให้ได้ตามเป้าหมายหลายโครงการ โดยเฉพาะการจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 อำเภอ 1 แห่ง เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีเด็กสนใจเรียนอยากเรียนต่อสายอาชีพ แต่กลับไม่มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาอยู่ใกล้บ้าน บางพื้นที่วิทยาลัยอยู่ไกลออกไปหลายอำเภอ ขณะที่โรงเรียนสายสามัญมีทุกพื้นที่โดยลงไปถึงระดับตำบล จึงทำให้เด็กหันไปเรียนต่อสายสามัญจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า ขณะนี้มี 500 กว่าอำเภอที่ไม่มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาตั้งอยู่ ดังนั้น สอศ.จึงต้องเร่งเพิ่มให้ครอบคลุมทุกอำเภอ
“ผมได้ให้ทุกจังหวัดเสนอที่ตั้งวิทยาลัยมาจังหวัดละ 1 แห่ง โดยในช่วงแรกอาจจะเป็นอำเภอใหญ่ๆ ก่อน ซึ่งขณะนี้ทุกจังหวัดได้ส่งที่ตั้งมาแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือก โดยในปีแรกจะคัดเลือกให้เหลือประมาณ 30 แห่ง โดยแต่ละแห่งจะได้รับงบประมาณผูกพัน 3 ปี 200 ล้านบาท ทั้งนี้การพิจารณาจะดูว่าในจังหวัดนั้นมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาอยู่หรือไม่ นอกจากนี้จะต้องดูด้วยว่ามีนักเรียนที่สนใจเข้าเรียนในสายอาชีพมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งวิทยาลัยที่จะจัดตั้งต้องอยู่ห่างจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ และเอกชนในจังหวัดเดียวกันค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันในการจัดการเรียนต้องเปิดสอนในสาขาที่สอดคล้อง และเป็นความต้องการของพื้นที่ ทั้งนี้คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จประมาณเดือน มี.ค.นี้ และจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557” นายชัยพฤกษ์ กล่าว