“ชินภัทร” แนะ สอศ.ปรับลุคอาชีวะใหม่สร้างแรงดึงดูด นร.มาเรียนสายอาชีพ แทนการให้พื้นฐานลดจำนวนรับ ชี้เป็นการสร้างแรงผลักที่อาจส่งผลกระทบต่อเด็ก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ชี้แจงกรณีที่ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ออกมาระบุว่าอยากให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ลดสัดส่วนการรับนักเรียนเข้าศึกษาสายสามัญลง เพื่อให้สัดส่วนการรับนักเรียนสายสามัญและสายอาชีพ อยู่ที่ 30:70 ตามนโยบายรัฐบาลภายในปี 2561 นั้นว่า แม้ สพฐ.จะลดจำนวนการรับนักเรียนสายสามัญลงก็ไม่ได้หมายความว่าจำนวนนักเรียนจะไปเพิ่มในสัดส่วนของสายอาชีพได้แบบอัตโนมัติ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งทำเวลานี้ คือ การปรับโฉมอาชีวศึกษาเสียใหม่ ให้มีภาพลักษณ์ที่โดนใจประชาชน นักเรียน เพื่อสร้างแรงดึงดูดใจให้ผู้ปกครอง นักเรียนตัดสินใจเลือกเรียนที่อาชีวศึกษามากขึ้น ไม่ใช่ในลักษณะว่า สพฐ.ต้องลดจำนวนรับลงเด็กจะได้ไปเรียน ซึ่งจะกลายเป็นการผลักเด็กออกและอาจจะส่งผลให้เด็กรู้สึกเคว้งได้
“ผมเสนอให้ใช้วิธีการปรับโฉมใหม่ ซึ่ง สอศ.อาจจะต้องลงทุนพัฒนาเพิ่มแต่จะเป็นจุดใดบ้างตรงนี้แล้วแต่ทาง สอศ.จะดำเนินการ แต่ให้ สพฐ.ลดจำนวนเพื่อผลักเด็กไปเรียนสายอาชีพแบบนี้อาจจะไม่ได้ผล เราทุกคนต้องดูแลนักเรียนซึ่งเรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบผลีผลามไม่ได้ ที่สำคัญเราต้องให้เด็กนักเรียนเป็นผู้เลือกมากกว่าจะจำกัดสิทธิ์ ซึ่งผมเชื่อหากอาชีวศึกษาปรับใหม่ให้โดนใจ จะเป็นวิธีการใช้แรงดึงดูดคนมาเรียนได้ดีมากกว่าใช้แรงผลัก” นายชินภัทร กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังได้เสนอด้วยว่า ไม่อยากให้ สพฐ.เน้นการเปิดสอนสายอาชีพในโรงเรียน ดังนั้นหลังจากนี้ สพฐ.จะไม่เน้นการเปิดสอนในรูปแบบดังกล่าว แต่หากโรงเรียนใดมีการเปิดสอนอยู่แล้ว ก็จะทำให้ดำเนินการต่อไป
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ชี้แจงกรณีที่ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ออกมาระบุว่าอยากให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ลดสัดส่วนการรับนักเรียนเข้าศึกษาสายสามัญลง เพื่อให้สัดส่วนการรับนักเรียนสายสามัญและสายอาชีพ อยู่ที่ 30:70 ตามนโยบายรัฐบาลภายในปี 2561 นั้นว่า แม้ สพฐ.จะลดจำนวนการรับนักเรียนสายสามัญลงก็ไม่ได้หมายความว่าจำนวนนักเรียนจะไปเพิ่มในสัดส่วนของสายอาชีพได้แบบอัตโนมัติ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งทำเวลานี้ คือ การปรับโฉมอาชีวศึกษาเสียใหม่ ให้มีภาพลักษณ์ที่โดนใจประชาชน นักเรียน เพื่อสร้างแรงดึงดูดใจให้ผู้ปกครอง นักเรียนตัดสินใจเลือกเรียนที่อาชีวศึกษามากขึ้น ไม่ใช่ในลักษณะว่า สพฐ.ต้องลดจำนวนรับลงเด็กจะได้ไปเรียน ซึ่งจะกลายเป็นการผลักเด็กออกและอาจจะส่งผลให้เด็กรู้สึกเคว้งได้
“ผมเสนอให้ใช้วิธีการปรับโฉมใหม่ ซึ่ง สอศ.อาจจะต้องลงทุนพัฒนาเพิ่มแต่จะเป็นจุดใดบ้างตรงนี้แล้วแต่ทาง สอศ.จะดำเนินการ แต่ให้ สพฐ.ลดจำนวนเพื่อผลักเด็กไปเรียนสายอาชีพแบบนี้อาจจะไม่ได้ผล เราทุกคนต้องดูแลนักเรียนซึ่งเรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบผลีผลามไม่ได้ ที่สำคัญเราต้องให้เด็กนักเรียนเป็นผู้เลือกมากกว่าจะจำกัดสิทธิ์ ซึ่งผมเชื่อหากอาชีวศึกษาปรับใหม่ให้โดนใจ จะเป็นวิธีการใช้แรงดึงดูดคนมาเรียนได้ดีมากกว่าใช้แรงผลัก” นายชินภัทร กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังได้เสนอด้วยว่า ไม่อยากให้ สพฐ.เน้นการเปิดสอนสายอาชีพในโรงเรียน ดังนั้นหลังจากนี้ สพฐ.จะไม่เน้นการเปิดสอนในรูปแบบดังกล่าว แต่หากโรงเรียนใดมีการเปิดสอนอยู่แล้ว ก็จะทำให้ดำเนินการต่อไป