น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแนวทางการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือภัยแล้งปี 2556 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดย นายปลอดประสพ รายงานสถานการณ์ภัยแล้งว่า ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชน 29 จังหวัด จำนวน 22,223 หมู่บ้าน ได้รับความเดือดร้อน เบื้องต้นขอให้เกษตรกรในบางพื้นที่ยกเว้นการปลูกพืชเป็นเวลา 3-4 เดือน เพราะคาดว่าระยะเวลาภัยแล้งจะกินเวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากนี้จะมีฝนตก ซึ่งเบื้องต้นได้ให้งบช่วยเหลือแล้วจำนวน 738 ล้านบาท ส่วนการประชุมวันนี้จะกำหนดมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 สำหรับนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือภัยแล้งที่เกิดขึ้นให้ทุกหน่วยงานถือปฏิบัติ 4 ข้อคือ บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นให้ความสำคัญกับการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก ประชาชนต้องเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง ทุกหน่วยงานต้องช่วยเหลือจัดหาน้ำ ทั้งการจัดส่งน้ำและการเจาะบ่อบาดาล ระดับปฏิบัติการให้ยึดแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติแบบ 2 พี 2 อาร์ และในพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบหลัก การสั่งการให้ยึดหลักซิงเกิล คอมมานด์ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และมีประสิทธิภาพรวมถึงจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าควบคู่ด้วย
นายปลอดประสพ กล่าวว่า จากการมอบหมายให้รัฐมนตรีลงพื้นที่ และกำหนดแนวทางแก้ไข ได้เสนอโครงการประกอบด้วยการจัดหาภาชนะบรรจุน้ำขนาด 2,000-3,000 ลิตรประจำหมู่บ้าน จัดตั้งคลังเครื่องมือ อาทิ รถบรรทุกน้ำและรถผลิตน้ำดื่ม
นอกจากนี้ยังให้จัดเตรียมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 9 หน่วย มีการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ด้วยการเจาะบ่อบาดาลจำนวน 2,311 โครงการ งบประมาณ 571 ล้านบาท ซึ่งโครงการต่างๆ สามารถดำเนินการได้ทันที โดยใช้ช่วงระยะเวลา 90 วัน ดำเนินการตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 15 พฤษภาคม
โดย นายปลอดประสพ รายงานสถานการณ์ภัยแล้งว่า ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชน 29 จังหวัด จำนวน 22,223 หมู่บ้าน ได้รับความเดือดร้อน เบื้องต้นขอให้เกษตรกรในบางพื้นที่ยกเว้นการปลูกพืชเป็นเวลา 3-4 เดือน เพราะคาดว่าระยะเวลาภัยแล้งจะกินเวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากนี้จะมีฝนตก ซึ่งเบื้องต้นได้ให้งบช่วยเหลือแล้วจำนวน 738 ล้านบาท ส่วนการประชุมวันนี้จะกำหนดมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 สำหรับนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือภัยแล้งที่เกิดขึ้นให้ทุกหน่วยงานถือปฏิบัติ 4 ข้อคือ บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นให้ความสำคัญกับการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก ประชาชนต้องเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง ทุกหน่วยงานต้องช่วยเหลือจัดหาน้ำ ทั้งการจัดส่งน้ำและการเจาะบ่อบาดาล ระดับปฏิบัติการให้ยึดแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติแบบ 2 พี 2 อาร์ และในพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบหลัก การสั่งการให้ยึดหลักซิงเกิล คอมมานด์ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และมีประสิทธิภาพรวมถึงจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าควบคู่ด้วย
นายปลอดประสพ กล่าวว่า จากการมอบหมายให้รัฐมนตรีลงพื้นที่ และกำหนดแนวทางแก้ไข ได้เสนอโครงการประกอบด้วยการจัดหาภาชนะบรรจุน้ำขนาด 2,000-3,000 ลิตรประจำหมู่บ้าน จัดตั้งคลังเครื่องมือ อาทิ รถบรรทุกน้ำและรถผลิตน้ำดื่ม
นอกจากนี้ยังให้จัดเตรียมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 9 หน่วย มีการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ด้วยการเจาะบ่อบาดาลจำนวน 2,311 โครงการ งบประมาณ 571 ล้านบาท ซึ่งโครงการต่างๆ สามารถดำเนินการได้ทันที โดยใช้ช่วงระยะเวลา 90 วัน ดำเนินการตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 15 พฤษภาคม