นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ว่า ขณะนี้ในส่วนของกระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ มีความพร้อมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว โดยเป็นแผนโครงการลงทุนระบบราง เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง/ รถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้า 10 สาย โดยมีรายงานว่า กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ จะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว 7 ปี ตั้งแต่ปีนี้ ไปจนถึงปี 2563 ทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ รวมทั้งแผนรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังส่งร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว โดยคาดว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้น่าจะมีการพิจารณา โดยโครงการหลักยังอยู่ในวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ส่วนโครงการสำรองที่เตรียมไว้จะอยู่ในวงเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับ หากโครงการหลักไม่สามารถดำเนินการได้ทัน สำหรับรายละเอียดแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นแผนลงทุนระบบขนส่งคมนาคม อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 4 ภูมิภาค จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ / นครราชสีมา/ ระยอง และหัวหิน มูลค่าลงทุน 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีส่วนโครงการอื่นๆ ได้แก่ การขยายรถไฟรางคู่ทุกเส้นทางทั่วประเทศ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา รวมถึงโครงการรถไฟฟ้า 10 สายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการลงทุนท่าเรือขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง เช่น ท่าเรือสงขลา ท่าเรือปากบารา รวมทั้งโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพด่านศุลกากรประมาณ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังส่งร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว โดยคาดว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้น่าจะมีการพิจารณา โดยโครงการหลักยังอยู่ในวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ส่วนโครงการสำรองที่เตรียมไว้จะอยู่ในวงเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับ หากโครงการหลักไม่สามารถดำเนินการได้ทัน สำหรับรายละเอียดแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นแผนลงทุนระบบขนส่งคมนาคม อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 4 ภูมิภาค จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ / นครราชสีมา/ ระยอง และหัวหิน มูลค่าลงทุน 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีส่วนโครงการอื่นๆ ได้แก่ การขยายรถไฟรางคู่ทุกเส้นทางทั่วประเทศ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา รวมถึงโครงการรถไฟฟ้า 10 สายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการลงทุนท่าเรือขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง เช่น ท่าเรือสงขลา ท่าเรือปากบารา รวมทั้งโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพด่านศุลกากรประมาณ