นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีกัมพูชายื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ว่า ล่าสุด ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้กำหนดให้มีการอธิบายทางวาจาเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 2556 หลังจากนั้นคาดว่าศาลจะมีคำพิพากษาดังกล่าวในช่วงปลายปี 2556
ขณะที่การดำเนินการของรัฐบาลไทย จะใช้กลไกของรัฐบาลไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีปราสาทพระวิหาร ประกอบด้วย 4 กลไก ได้แก่ คณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของไทย ซึ่งทำหน้าที่หารือแนวทางการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี กับที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นทนายความของฝ่ายไทย เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบองค์ประกอบของคณะดำเนินคดี ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้แทนจากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กรมแผนที่ทหาร สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีนายวีระชัย พลาศัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก เป็นตัวแทนของไทยในการต่อสู้คดี
คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ ซึ่งเป็นกลไกระดับชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายของไทย ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและกลั่นกรองความเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห้นชอบ
คณะที่ปรึกษากฎหมายกลุ่มเล็ก ตั้งขึ้นโดยนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายเช่นกัน และคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจดับเบิลยูจี (JWG) ซึ่งเป็นกลไกหลักในการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลโลกร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงการต่างประเทศตระหนักดีว่าประเด็นปราสาทพระวิหาร เป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของประชาชน กระทรวงฯ จึงจะดำเนินการเผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านทุกช่องทาง เพื่อไม่ให้ประเด็นปราสาทพระวิหารถูกหยิบยกไปใช้เป็นประเด็นทางการเมืองได้
ทั้งนี้ รัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ เสมอ ส่วนคำตัดสินของศาลนั้น อาจเป็นไปได้หลายแนวทาง
อย่างไรก็ตาม ตัวปราสาทพระวิหารไม่เกี่ยวข้องกับคดีปัจจุบันแต่ประการใด เนื่องจากศาลได้ตัดสินว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2505 ส่วนประเด็นที่ศาลจะพิจารณาในครั้งนี้ คือเรื่องที่กัมพูชาขอให้ตีความด้านบริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหาร หมายถึงพื้นที่ใด
ทั้งนี้ มีความมั่นใจในคณะสู้คดี และข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทย
ขณะที่การดำเนินการของรัฐบาลไทย จะใช้กลไกของรัฐบาลไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีปราสาทพระวิหาร ประกอบด้วย 4 กลไก ได้แก่ คณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของไทย ซึ่งทำหน้าที่หารือแนวทางการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี กับที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นทนายความของฝ่ายไทย เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบองค์ประกอบของคณะดำเนินคดี ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้แทนจากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กรมแผนที่ทหาร สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีนายวีระชัย พลาศัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก เป็นตัวแทนของไทยในการต่อสู้คดี
คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ ซึ่งเป็นกลไกระดับชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายของไทย ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและกลั่นกรองความเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห้นชอบ
คณะที่ปรึกษากฎหมายกลุ่มเล็ก ตั้งขึ้นโดยนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายเช่นกัน และคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจดับเบิลยูจี (JWG) ซึ่งเป็นกลไกหลักในการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลโลกร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงการต่างประเทศตระหนักดีว่าประเด็นปราสาทพระวิหาร เป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของประชาชน กระทรวงฯ จึงจะดำเนินการเผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านทุกช่องทาง เพื่อไม่ให้ประเด็นปราสาทพระวิหารถูกหยิบยกไปใช้เป็นประเด็นทางการเมืองได้
ทั้งนี้ รัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ เสมอ ส่วนคำตัดสินของศาลนั้น อาจเป็นไปได้หลายแนวทาง
อย่างไรก็ตาม ตัวปราสาทพระวิหารไม่เกี่ยวข้องกับคดีปัจจุบันแต่ประการใด เนื่องจากศาลได้ตัดสินว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2505 ส่วนประเด็นที่ศาลจะพิจารณาในครั้งนี้ คือเรื่องที่กัมพูชาขอให้ตีความด้านบริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหาร หมายถึงพื้นที่ใด
ทั้งนี้ มีความมั่นใจในคณะสู้คดี และข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทย