นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "การปฏิรูปรถไฟไทย" โดยนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอให้รื้อฟื้นกรมรถไฟกลับคืนมา เพื่อโอนทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ 98,000 ล้านบาท ให้รัฐรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการล้างหนี้ให้ ร.ฟ.ท.โดยกรมรถไฟจะทำหน้าที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้งบประมาณจากรัฐ แล้วแยกทรัพย์สินเรื่องการเดินรถให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้บริหารจัดการ พร้อมทั้งยังเปิดให้เอกชนได้มีส่วนร่วมเดินรถด้วย
ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันเดินรถ อาจทำให้ควบคุมอัตราค่าโดยสารได้ยาก ส่วนการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ซ่อมแซมรางขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้งบประมาณมา 170,000 ล้านบาท ถึงปี 2563 แต่ยังมีปัญหาที่ต้องเร่งประกวดราคาภายใน 2 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกปรับเปลี่ยนตามการเมือง ขณะที่เรื่องหนี้สินยอมรับว่าจะต้องแก้ไข แต่ไม่เห็นด้วยกับการโอนล้างหนี้ เพราะหนี้สินของประเทศก็ยังคงมีอยู่
สำหรับปัญหาของ ร.ฟ.ท.มีหลายเรื่อง เช่น เส้นทางร้อยละ 91 ยังเป็นทางเดียว ทำให้เกิดปัญหาการเดินรถล่าช้า หัวรถจักรส่วนใหญ่มีอายุใช้งานนานถึง 25 ปี และหนี้สินที่เกิดจากการเก็บค่าโดยสารเฉลี่ยต่ำกว่าต้นทุนมาก
ขณะเดียวกัน มีการลดหนี้ โดยพัฒนาที่ดินของรถไฟ เช่น โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ มูลค่ากว่า 296,000 ล้านบาท รวมทั้งที่ดินย่านพหลโยธินกิโลเมตรที่ 11 และย่านสถานีแม่น้ำ ที่สามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ใหญ่ มูลค่ากว่าแสนล้านบาท
ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันเดินรถ อาจทำให้ควบคุมอัตราค่าโดยสารได้ยาก ส่วนการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ซ่อมแซมรางขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้งบประมาณมา 170,000 ล้านบาท ถึงปี 2563 แต่ยังมีปัญหาที่ต้องเร่งประกวดราคาภายใน 2 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกปรับเปลี่ยนตามการเมือง ขณะที่เรื่องหนี้สินยอมรับว่าจะต้องแก้ไข แต่ไม่เห็นด้วยกับการโอนล้างหนี้ เพราะหนี้สินของประเทศก็ยังคงมีอยู่
สำหรับปัญหาของ ร.ฟ.ท.มีหลายเรื่อง เช่น เส้นทางร้อยละ 91 ยังเป็นทางเดียว ทำให้เกิดปัญหาการเดินรถล่าช้า หัวรถจักรส่วนใหญ่มีอายุใช้งานนานถึง 25 ปี และหนี้สินที่เกิดจากการเก็บค่าโดยสารเฉลี่ยต่ำกว่าต้นทุนมาก
ขณะเดียวกัน มีการลดหนี้ โดยพัฒนาที่ดินของรถไฟ เช่น โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ มูลค่ากว่า 296,000 ล้านบาท รวมทั้งที่ดินย่านพหลโยธินกิโลเมตรที่ 11 และย่านสถานีแม่น้ำ ที่สามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ใหญ่ มูลค่ากว่าแสนล้านบาท