ประเด็นหลักที่ศาลปกครองมีมติเสียงส่วนใหญ่ 4 ต่อ 2 เสียง สั่งไม่รับฟ้องคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นขอคำสั่งให้ยกเลิกประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับการจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม เพราะเห็นว่าแม้ผู้ตรวจการฯ จะมีสิทธิยื่นฟ้องศาลปกครอง หากเห็นว่ามีการกระทำใดที่ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ แต่การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้อง กสทช.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายนั้น ไม่มีสิทธิทำได้ เพราะ กสทช.ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ
ประเด็นดังกล่าวเป็นเหตุให้นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภา เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค.) ขอยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัย เพราะเห็นว่า แม้ กสทช.จะมีกฎหมายเฉพาะเพื่อให้อำนาจการพิจารณาออกใบอนุญาต และกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ แต่เมื่อพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 305 จะพบว่า ให้อำนาจคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ของ กสทช.5 คน ที่ดูแลจัดการประมูล เฉพาะการกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ไม่มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งประเด็นนี้เป็นความขัดแย้งของข้อกฎหมาย จึงต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ
นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานตรวจการแผ่นดิน ระบุว่า สัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าผู้ตรวจการแผ่นดินจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ระบุว่า จากนี้จะรอดูว่า หากศาลปกครองสูงสุดไม่รับวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะขอให้ผู้ตรวจการฯ ยื่นตีความไปที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย และสัปดาห์หน้าก็จะประเมินว่าจะเข้าพบกับคณะกรรมการ กสทช.หรือไม่ เพื่อเรียกร้องให้สรุปผลการลดราคาค่าบริการโครงข่าย 3G ให้เรียบร้อย ก่อนให้ใบอนุญาตกับเอกชนในวันที่ 20 ธันวาคมนี้
ขณะที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม นัดประชุมกันภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเดินหน้าแผนต่างๆ หลังจากที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง
ประเด็นดังกล่าวเป็นเหตุให้นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภา เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค.) ขอยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัย เพราะเห็นว่า แม้ กสทช.จะมีกฎหมายเฉพาะเพื่อให้อำนาจการพิจารณาออกใบอนุญาต และกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ แต่เมื่อพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 305 จะพบว่า ให้อำนาจคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ของ กสทช.5 คน ที่ดูแลจัดการประมูล เฉพาะการกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ไม่มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งประเด็นนี้เป็นความขัดแย้งของข้อกฎหมาย จึงต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ
นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานตรวจการแผ่นดิน ระบุว่า สัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าผู้ตรวจการแผ่นดินจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ระบุว่า จากนี้จะรอดูว่า หากศาลปกครองสูงสุดไม่รับวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะขอให้ผู้ตรวจการฯ ยื่นตีความไปที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย และสัปดาห์หน้าก็จะประเมินว่าจะเข้าพบกับคณะกรรมการ กสทช.หรือไม่ เพื่อเรียกร้องให้สรุปผลการลดราคาค่าบริการโครงข่าย 3G ให้เรียบร้อย ก่อนให้ใบอนุญาตกับเอกชนในวันที่ 20 ธันวาคมนี้
ขณะที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม นัดประชุมกันภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเดินหน้าแผนต่างๆ หลังจากที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง