วานนี้ (15 พ.ย.) ศาลปกครองกลางได้ไต่สวนคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้เพิกถอนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี โดยเป็นการไต่สวนฝ่าย กสทช. หลังจากที่เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ศาลได้ไต่สวนฝ่ายผู้ตรวจการแผ่นดินไปแล้ว ซึ่งเมื่อไต่สวนแล้วศาลจะได้พิจารณาว่า สมควรที่จะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือสั่งระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องขอหรือไม่ และจะรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่
ทั้งนี้ก่อนการไต่สวน พล.อ.อ. ธเรศ ปุณศรี ประธานกสทช. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ทาง กทค. เป็นฝ่ายชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการประมูลใบอนุญาต 3 จี ส่วนตัวเชื่อว่าการดำเนินการจัดประมูลครั้งนี้ มีความมุ่งมั่นเพื่อยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ สร้างความก้าวหน้าให้ภาคประชาชน แต่หากการดำเนินการดังกล่าวต้องชะลอออกไป ก็คิดว่าจะเกิดความเสียหายทำให้ระบบโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพที่ล่าช้ากว่าประเทศอื่น
ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงข้อมูลในทุกประเด็นโดยเตรียมข้อมูลและเอกสารมาอย่างครบถ้วน เชื่อมั่นว่าการดำเนินการทุกอย่างของ กทค. มีการตรวจสอบในแง่กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ประกอบพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุโทรทัศน์ มาตรา 45 มาอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ไม่ว่าศาลปกครองจะมีผลออกมาอย่างไร ก็พร้อมเคารพ และปฏิบัติตาม และยังไม่อยากคาดเดาว่าศาลจะมีคำสั่งให้กระบวนการต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ หรือจะให้เดินหน้าต่อไป หากมีคำสั่งให้ดำเนินตามกระบวนการได้ ก็น่าจะออกใบอนุญาตทันกำหนดระยะเวลา 90 วัน ตามระเบียบข้อบังคับอย่างแน่นอน
ส่วนนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงและให้ความร่วมมือกับศาลปกครองในทุกประเด็น โดยยืนยันว่า คำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นฟ้อง กสทช. ครั้งนี้ มิชอบ เนื่องจากก่อนมีมติ และยื่นคำฟ้องศาลปกครองไม่ได้เปิดโอกาสให้ กสทช. เข้าชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ได้ส่งเอกสารไปชี้แจงแต่อย่างใด ทั้งนี้ขอย้ำว่า การดำเนินการของกสทช. ทำด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากศาลมีคำสั่งชะลอการดำเนินการครั้งนี้ มองว่าจะเกิดความเสียหายมากกว่า การล้มประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา อย่างแน่นอน
** ยันประมูลถูกต้องแต่ไม่ถูกใจคนอื่น
ภายหลังการไต่สวนนานกว่า 4 ชั่วโมง พ.อ. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กสทช. เชื่อว่าระบบกระบวนการยุติธรรม จะเป็นที่พึ่งของประชาชนและกสทช. เนื่องจากการดำเนินการของกสทช. เป็นไปด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยอมรับคำวินิจฉัยที่จะออกมา ไม่ว่าจะออกมาในทางใด
ด้านนายสุทธิพล กล่าวว่า กสทช.ได้นำผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงรวม 8 ปาก โดยชี้แจงครบทุกประเด็นว่าในการออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการประมูลฯ ก็เป็นไปตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมาย ที่ถูกฟ้องเพราะการประมูลไม่ถูกใจคนอื่น ไม่ใช่ไม่ถูกกฎหมาย ส่วนคำฟ้องของผู้ตรวจแผ่นดิน ก็ฟ้องผิดตัว เพราะสำนักงานกสทช. ไมได้มีอำนาจออกประกาศ หรือรับรองผลประมูล อีกทั้งในคำฟ้อง ก็ระบุเพียงว่า ประกาศหลักเกณฑ์ฯ ไม่ชอบ มีการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ แต่ก็ไม่ระบุว่า ไม่ชอบอย่างไร ซึ่งกสทช. ก็ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการที่เห็นว่าควรมีการเดินหน้าในการออกใบอนุญาตมาให้กับศาล พร้อมกับยกคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดง ที่ 80 /47 ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกำกับยา ที่มีการระบุว่า กรณีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ศาลปกครองจะไม่เข้าไปก้าวล่วงในการวินิจฉัย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรที่มีความชำนาญพิเศษ จะต้องเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ตรงนี้เมื่อเทียบกับกรณีนี้แล้ว ถือว่ากสทช. เป็นผู้ที่มีความชำนาญพิเศษในเรื่องกิจการโทรคมนาคม ย่อมรู้ดีว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 47 บัญญัติ
"ในเรื่องที่ผู้ตรวจอ้างว่าไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมนั้น กสทช. ก็ได้ชี้แจงศาลว่าการจะดูว่าเสรีเป็นธรรมหรือไม่ ไม่สามารถมองเฉพาะเวลาประมูลได้ แต่ต้องดูทั้งระบบ คือคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล ประโยชน์ของผู้เข้าประมูล อีกทั้งก่อนหน้านี้กสทช. ก็ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮริตซ์ ให้กับบริษัททีโอที จำกัด มหาชนไปแล้ว 15 เมกะเฮริตซ์ ตามกฎหมายเก่า ฉะนั้นเมื่อมีผู้ประกอบอีก 3 รายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การใช้คลื่นมีผู้ประกอบการถึง 4 ราย ที่จะแข่งขันให้บริการกับประชาชน"
** ชี้ระงับ3จี เสียหายวันละกว่า210ล.
นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า ได้ให้เหตุผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อนว่าจะเสียหายยิ่งกว่าการประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะครั้งที่แล้วการประมูลยังไม่เกิดขึ้น ก็มีความเสียหายวันละ 210.8 ล้านบาทต่อวัน แต่ในครั้งนี้มีการประมูลเกิดขึ้นแล้ว มีการรับรอง เอกชนก็ไปกู้เงินเตรียมลงทุนในเรื่องของโครงข่าย ประชาชนก็คาดหวัง ถ้าการออกใบอนุญาตถูกระงับ หรือการประมูลต้องล้มไป เอกชนและประชาชนที่คาดหวังก็อาจฟ้องกลับกสทช. ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรทางกสทช. ก็เตรียมแนวทางในการดำเนินการรับมือไว้ทุกด้านแล้ว
ทั้งนี้ก่อนการไต่สวน พล.อ.อ. ธเรศ ปุณศรี ประธานกสทช. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ทาง กทค. เป็นฝ่ายชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการประมูลใบอนุญาต 3 จี ส่วนตัวเชื่อว่าการดำเนินการจัดประมูลครั้งนี้ มีความมุ่งมั่นเพื่อยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ สร้างความก้าวหน้าให้ภาคประชาชน แต่หากการดำเนินการดังกล่าวต้องชะลอออกไป ก็คิดว่าจะเกิดความเสียหายทำให้ระบบโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพที่ล่าช้ากว่าประเทศอื่น
ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงข้อมูลในทุกประเด็นโดยเตรียมข้อมูลและเอกสารมาอย่างครบถ้วน เชื่อมั่นว่าการดำเนินการทุกอย่างของ กทค. มีการตรวจสอบในแง่กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ประกอบพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุโทรทัศน์ มาตรา 45 มาอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ไม่ว่าศาลปกครองจะมีผลออกมาอย่างไร ก็พร้อมเคารพ และปฏิบัติตาม และยังไม่อยากคาดเดาว่าศาลจะมีคำสั่งให้กระบวนการต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ หรือจะให้เดินหน้าต่อไป หากมีคำสั่งให้ดำเนินตามกระบวนการได้ ก็น่าจะออกใบอนุญาตทันกำหนดระยะเวลา 90 วัน ตามระเบียบข้อบังคับอย่างแน่นอน
ส่วนนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงและให้ความร่วมมือกับศาลปกครองในทุกประเด็น โดยยืนยันว่า คำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นฟ้อง กสทช. ครั้งนี้ มิชอบ เนื่องจากก่อนมีมติ และยื่นคำฟ้องศาลปกครองไม่ได้เปิดโอกาสให้ กสทช. เข้าชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ได้ส่งเอกสารไปชี้แจงแต่อย่างใด ทั้งนี้ขอย้ำว่า การดำเนินการของกสทช. ทำด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากศาลมีคำสั่งชะลอการดำเนินการครั้งนี้ มองว่าจะเกิดความเสียหายมากกว่า การล้มประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา อย่างแน่นอน
** ยันประมูลถูกต้องแต่ไม่ถูกใจคนอื่น
ภายหลังการไต่สวนนานกว่า 4 ชั่วโมง พ.อ. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กสทช. เชื่อว่าระบบกระบวนการยุติธรรม จะเป็นที่พึ่งของประชาชนและกสทช. เนื่องจากการดำเนินการของกสทช. เป็นไปด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยอมรับคำวินิจฉัยที่จะออกมา ไม่ว่าจะออกมาในทางใด
ด้านนายสุทธิพล กล่าวว่า กสทช.ได้นำผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงรวม 8 ปาก โดยชี้แจงครบทุกประเด็นว่าในการออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการประมูลฯ ก็เป็นไปตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมาย ที่ถูกฟ้องเพราะการประมูลไม่ถูกใจคนอื่น ไม่ใช่ไม่ถูกกฎหมาย ส่วนคำฟ้องของผู้ตรวจแผ่นดิน ก็ฟ้องผิดตัว เพราะสำนักงานกสทช. ไมได้มีอำนาจออกประกาศ หรือรับรองผลประมูล อีกทั้งในคำฟ้อง ก็ระบุเพียงว่า ประกาศหลักเกณฑ์ฯ ไม่ชอบ มีการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ แต่ก็ไม่ระบุว่า ไม่ชอบอย่างไร ซึ่งกสทช. ก็ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการที่เห็นว่าควรมีการเดินหน้าในการออกใบอนุญาตมาให้กับศาล พร้อมกับยกคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดง ที่ 80 /47 ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกำกับยา ที่มีการระบุว่า กรณีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ศาลปกครองจะไม่เข้าไปก้าวล่วงในการวินิจฉัย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรที่มีความชำนาญพิเศษ จะต้องเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ตรงนี้เมื่อเทียบกับกรณีนี้แล้ว ถือว่ากสทช. เป็นผู้ที่มีความชำนาญพิเศษในเรื่องกิจการโทรคมนาคม ย่อมรู้ดีว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 47 บัญญัติ
"ในเรื่องที่ผู้ตรวจอ้างว่าไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมนั้น กสทช. ก็ได้ชี้แจงศาลว่าการจะดูว่าเสรีเป็นธรรมหรือไม่ ไม่สามารถมองเฉพาะเวลาประมูลได้ แต่ต้องดูทั้งระบบ คือคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล ประโยชน์ของผู้เข้าประมูล อีกทั้งก่อนหน้านี้กสทช. ก็ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮริตซ์ ให้กับบริษัททีโอที จำกัด มหาชนไปแล้ว 15 เมกะเฮริตซ์ ตามกฎหมายเก่า ฉะนั้นเมื่อมีผู้ประกอบอีก 3 รายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การใช้คลื่นมีผู้ประกอบการถึง 4 ราย ที่จะแข่งขันให้บริการกับประชาชน"
** ชี้ระงับ3จี เสียหายวันละกว่า210ล.
นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า ได้ให้เหตุผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อนว่าจะเสียหายยิ่งกว่าการประมูลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะครั้งที่แล้วการประมูลยังไม่เกิดขึ้น ก็มีความเสียหายวันละ 210.8 ล้านบาทต่อวัน แต่ในครั้งนี้มีการประมูลเกิดขึ้นแล้ว มีการรับรอง เอกชนก็ไปกู้เงินเตรียมลงทุนในเรื่องของโครงข่าย ประชาชนก็คาดหวัง ถ้าการออกใบอนุญาตถูกระงับ หรือการประมูลต้องล้มไป เอกชนและประชาชนที่คาดหวังก็อาจฟ้องกลับกสทช. ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรทางกสทช. ก็เตรียมแนวทางในการดำเนินการรับมือไว้ทุกด้านแล้ว