ASTVผู้จัดการรายวัน-นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคมยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง ระงับการประมูล 3G จนกว่าจะแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ ศาลนัดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อพิจารณาคำร้องวันนี้ อีกด้านสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคโดดร่วมฟ้อง ยื่นให้ถอนดีแทคออกจากผู้เข้าร่วมประมูล เหตุเป็นบริษัทต่างด้าว
นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (10 ต.ค.) ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications : IMT) ย่านความถี่ 2.1 GHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค. จนกว่า กสทช.จะมีการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลใหม่
โดยข้อให้เน้นใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การกำหนดพื้นที่ และระยะเวลาที่จะได้รับบริการที่จะต้องครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศในระยะเวลาที่ทัดเทียมกัน โดยไม่สัมพันธ์กับระดับรายได้และปริมาณการใช้บริการ 2.กำหนดคุณภาพในการให้บริการ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมถึงความเสถียรของโครงข่ายและคุณภาพของสัญญาณในระดับสูงสุดที่มาตรฐานทางเทคนิคจะให้บริการได้ 3.การกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงที่ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บได้ และสัญญามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549
ทั้งนี้ ล่าสุดศาลปกครองนัดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อพิจารณาคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีดังกล่าว เวลา 13.00 น.วันนี้ (11 ต.ค.)
วันเดียวกันนี้ สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค นำโดยนายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมฯ ได้ยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G โดยเห็นว่า บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด มีนายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ หรือ นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ สัญชาติอเมริกัน เป็นคนต่างด้าว เป็นกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จึงมีลักษะเป็นการมีอำนาจควบคุมหรือมีอิทธิพลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนดทิศทางการบริหารได้ ดังนั้น จึงขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน และกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว โดยต้องการให้ศาลมีคำสั่งห้ามเปิดการประมูล 3G ที่ กสทช. จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค.
ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้ประกาศรายชื่อ 3 บริษัท ที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลความถี่ 2.1 GHz เมื่อวันที่ 9 ต.ค. คือ 1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัทในเครือเอไอเอส 2. บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือดีแทค และ 3. บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มทรู
นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (10 ต.ค.) ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications : IMT) ย่านความถี่ 2.1 GHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค. จนกว่า กสทช.จะมีการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลใหม่
โดยข้อให้เน้นใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การกำหนดพื้นที่ และระยะเวลาที่จะได้รับบริการที่จะต้องครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศในระยะเวลาที่ทัดเทียมกัน โดยไม่สัมพันธ์กับระดับรายได้และปริมาณการใช้บริการ 2.กำหนดคุณภาพในการให้บริการ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมถึงความเสถียรของโครงข่ายและคุณภาพของสัญญาณในระดับสูงสุดที่มาตรฐานทางเทคนิคจะให้บริการได้ 3.การกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงที่ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บได้ และสัญญามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549
ทั้งนี้ ล่าสุดศาลปกครองนัดไต่สวนฉุกเฉินเพื่อพิจารณาคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีดังกล่าว เวลา 13.00 น.วันนี้ (11 ต.ค.)
วันเดียวกันนี้ สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค นำโดยนายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมฯ ได้ยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G โดยเห็นว่า บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด มีนายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ หรือ นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ สัญชาติอเมริกัน เป็นคนต่างด้าว เป็นกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จึงมีลักษะเป็นการมีอำนาจควบคุมหรือมีอิทธิพลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนดทิศทางการบริหารได้ ดังนั้น จึงขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน และกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว โดยต้องการให้ศาลมีคำสั่งห้ามเปิดการประมูล 3G ที่ กสทช. จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค.
ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้ประกาศรายชื่อ 3 บริษัท ที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลความถี่ 2.1 GHz เมื่อวันที่ 9 ต.ค. คือ 1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัทในเครือเอไอเอส 2. บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือดีแทค และ 3. บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มทรู