คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พร้อมตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน ซึ่งที่ประชุมเห็นว่ากฎหมายสิทธิชุมชนที่มีรองรับในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 แต่ที่ผ่านมากว่า 15 ปี สิทธิชุมชนยังไม่มีบทบาทและได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม นำไปสู่ความขัดแย้งในหลายประเด็น เช่น กฎหมายอุทยานแห่งชาติ ขณะเดียวกัน ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ยาก โครงการต่างๆ ของภาครัฐ รับฟังความเห็นประชาชนอย่างจำกัด
ประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กฎหมายสิทธิชุมชนถูกมองจากหน่วยงานภาครัฐว่าไม่มีสถานะเทียบเท่ากับกฎหมายอื่นๆ จึงต้องเร่งผลักดันกฎหมายลูกว่าด้วยสิทธิชุมชน ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ประชาชนได้ใช้สิทธิตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการรับฟังความเห็นกลไกแก้ไขปัญหาต่างๆ จากที่ประชุมในวันนี้ จะถูกจัดทำเป็นข้อเสนอทางกฎหมาย เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ภายในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้น ข้อสรุปทั้งหมดจะถูกจัดทำเพื่อเสนอร่างกฎหมายใน 3 แนวทาง คือ เสนอในนามประชาชนผ่านการเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เสนอต่อรัฐบาล และเสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาออกกฎหมายต่อไป
ประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กฎหมายสิทธิชุมชนถูกมองจากหน่วยงานภาครัฐว่าไม่มีสถานะเทียบเท่ากับกฎหมายอื่นๆ จึงต้องเร่งผลักดันกฎหมายลูกว่าด้วยสิทธิชุมชน ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ประชาชนได้ใช้สิทธิตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการรับฟังความเห็นกลไกแก้ไขปัญหาต่างๆ จากที่ประชุมในวันนี้ จะถูกจัดทำเป็นข้อเสนอทางกฎหมาย เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ภายในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้น ข้อสรุปทั้งหมดจะถูกจัดทำเพื่อเสนอร่างกฎหมายใน 3 แนวทาง คือ เสนอในนามประชาชนผ่านการเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เสนอต่อรัฐบาล และเสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาออกกฎหมายต่อไป