วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat.pariyawong
“อากง” ที่ตายแล้ว คือ “นายอำพล” แต่ “อากง” ที่ยังไม่ตาย คือ “เหยื่ออยุติธรรม” อีกหลายราย ในสังคมไทย
คำถามที่ต้องไม่ลืม คือ เมื่อ “อากง” ตายแล้ว “อากง” อื่นจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้หรือไม่?
ผู้เขียนขอชักชวนทุกฝ่าย ทั้งที่เป็นทุกข์ เป็นสุข ปล่อยวาง หรือไร้ความรู้สึก ต่อทั้ง “อากง” ที่ตายแล้ว และทั้ง “อากง” ที่อาจกำลังจะตาย ให้ช่วยกันคิดถึงประเด็นต่อไปนี้ร่วมกัน
* * *
1. ภาพ “อากง” ไม่ได้แบนราบ และไม่ได้ฉาบด้วยสีเดียว
การที่ผู้ใด “เศร้าใจ” หรือ “ไม่พอใจ” กับความตายของ “อากง” นั้น มิได้ต้องแปลว่า ผู้นั้นต้องการให้ยกเลิก มาตรา 112 ไปเลย หรือให้ไปบัญญัติใหม่เหมือนที่ใครเสนอ
ในทางตรงกันข้าม ผู้นั้นอาจเพียงอาจไม่พอใจกับ “ความอยุติธรรม” ที่เกิดขึ้น ซึ่งความอยุติธรรมนั้น อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับ มาตรา 112 เลยก็เป็นได้
บางคนอาจไม่ได้รู้สึกอะไรมากไปกว่า “สงสาร” หรือ “เห็นใจ” ชาวไทยคนหนึ่งที่เจ็บป่วยและชรา แล้วต้องมาตายในคุกในขณะสู้คดี และสังเวชกับชะตากรรมของคนไทย ที่แม้จะอยู่ในประเทศที่มีโรงพยาบาลและสปาที่หรูหราขึ้นชื่อมากที่สุดของโลก แต่คนไทยหลายคนเมื่อชราเจ็บป่วย กลับไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ไม่ว่าจะในคุก หรือนอกคุก
บางคนอาจไม่ติดใจอะไรเลยกับ มาตรา 112 (อาจสนับสนุนการคงมาตรา 112 ไว้เสียด้วยซ้ำ) แต่ที่เศร้าก็เพราะเศร้ากับปัญหาการตีความ “สิทธิการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (7) ว่าหลักประกันขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญของประชาชน ได้ถูกลดค่าให้เป็นเพียงข้อยกเว้นในกฎหมายลำดับรองที่ครอบครองโดยดุลพินิจตุลาการหรือไม่?
ยิ่งไปกว่านั้น บางคนอาจอาลัย “อากง” เพราะเศร้าเสียดายจังหวะจุดเปลี่ยนของสังคม โดยรอลุ้นว่าหากคดีอากงไปถึงศาลฎีกา บรรดาผู้พิพากษาจะใช้โอกาสนี้ตีความ มาตรา 112 ให้หลักแหลม ลึกซึ้ง แยบยล และสอดคล้องกับยุคสมัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่สังคม และบรรเทาความลำบากพระราชหฤทัยที่บรรดาตุลาการล้วนทราบชัดแจ้งตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2548 เป็นต้นมา โดยไม่ต้องไปแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 112 เลยได้หรือไม่?
(ผู้เขียนเองเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวทางการยกเลิกแก้ไข มาตรา 112 ที่นิติราษฎร์ คิด และ ครก. 112 ดำเนินการว่า ถูกต้องและรอบคอบดีแล้วหรือไม่ พร้อมเสนอแนวคิดทางเลือกให้ “สถาบันตุลาการ” ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาของสังคมโดยการวางหลักการตีความ มาตรา 112 เสียใหม่ให้สมเจตนารมณ์ รายละเอียดโปรดดูที่ http://on.fb.me/ISKAWY )
ดังนั้น เมื่อความเศร้าต่อ “อากง” คือ ความสลดต่อความอยุติธรรม และเมื่อความอยุติธรรมไม่ได้แบนราบ และไม่ได้ฉาบด้วยสีเดียว เราจึงต้องคิดกันให้หนักว่า จะทำอย่างไร ไม่ให้ใครหลงคิดไปว่า ผู้ที่เศร้าต่อ “อากง” คือผู้ผูกขาดร่างทรงของความดีงามหรือความชั่วร้ายของ มาตรา 112 หรือเรื่องอื่นเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวเสมอไป
2. ผู้ที่ห่วงใย “อากง” ต้องมองให้ไกลไปกว่า ครก. 112 หรือ มาตรา 112
แม้ผู้เขียนอาจมีมุมมองเรื่อง มาตรา 112 ที่ต่างไป แต่ก็ชื่นชมความดีของ ครก. 112 ในฐานะผู้ที่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่เมื่อบัดนี้ระยะเวลา 112 วัน ของการรวบรวมรายชื่อเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายแก้ไข มาตรา 112 ได้ผ่านไปแล้ว และยังไม่ชัดเจนว่าการดำเนินการจะสิ้นสุดลงอย่างไร จึงน่าคิดว่า ยังมีกระบวนการอื่นใดหรือไม่ ที่ประชาชนโดยทั่วไปอาจร่วมผลักดันเพื่อฝากความหวังเรื่อง “อากง” ไว้ได้?
ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวซ้ำถึงความล้มเหลวของรัฐบาล พรรคการเมือง และผู้พิพากษาอีก แต่จะขอชักชวนให้เราช่วยกันคิดถึงหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อกรณี “อากง” ไม่น้อย แต่อาจถูกกล่าวถึงน้อยไปหน่อย ซึ่งก็คือ “คู่แฝดที่ยังไม่ทันเกิด” ของ “คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย” ที่มีชื่อว่า “คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ”
คณะกรรมการดังกล่าว เป็นกลไกสำคัญที่ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 (4) ซึ่งมาตรา 303 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้รัฐบาลของคุณสมัครผู้ล่วงลับต้องตั้งให้มาปฎิรูป “กระบวนการยุติธรรม” ไปตั้งแต่หลายปีที่แล้ว แต่เสียดายคุณสมัครกลับถูก “กระบวนการยุติธรรม” พลิกพจนานุกรมปฏิรูปไปเสียก่อน และรัฐบาลชุดต่อมา ก็ยังตั้งไม่สำเร็จ
“คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ” ที่ว่า หากตั้งสำเร็จแล้ว ย่อมมีบทบาทสำคัญในการเสนอแผนการเพื่อตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง “อากง” อาทิ การพิสูจน์พยานหลักฐานในศาลไทยเป็นธรรมหรือไม่ เหตุใดจึงจำเลยหลายรายจึงไม่ได้รับการประกันตัวไปรักษาอาการเจ็บป่วย และรัฐจะดำเนินการช่วยเหลือ “อากง” คนอื่นๆ ให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร เป็นต้น
สิ่งที่น่าคิดก็คือ ขณะนี้การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ค้างอยู่ในสภา (โปรดดู http://bit.ly/KNZmew) จึงน่าคิดต่อว่า ที่มา โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และวิธีการทำงานของคณะกรรมการที่ว่านั้น จะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ห่วงใยหรือเศร้าใจต่อกรณี “อากง” ได้มีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือคณะกรรมการที่ว่าจะเป็นเพียงท่านผู้ใหญ่กลุ่มเดิมที่เคยได้แต่มอง “อากง” มา แล้วก็ไป?
3. โปรดอย่าลืมนึกถึง “อากง” ในวันเลือกตั้ง
อีกไม่นานเกินลืม เรา ประชาชน คงได้มีโอกาสไปเข้าคูหาหย่อนบัตรเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเราและสื่อมวลชน ต้องช่วยกันทวงถามผู้สมัครที่ขอคะแนนเสียงของเรา ให้ช่วยตอบให้ชัดถ้อยชัดคำว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ใส่ใจกับ “อากง” ในสังคมไทยอย่างไร?
เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญจะเพิ่มบทบัญญัติที่คุ้มครองพวกเราว่า บุคคลไม่อาจถูกจำคุกได้ด้วยเหตุที่ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่ใช้อำนาจสาธารณะในเรื่องการใช้อำนาจที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ว่าในกรณีใด?
(เลิกเสียเถิด นักการเมือง หรือแม้แต่ตุลาการที่ฟ้องคดีแล้วใช้โทษอาญามาบีบบังคับให้ผู้อื่นลงโฆษณาขอขมาต่อตน ทั้งที่เรื่องที่ตนถูกกล่าวหาก็เป็นเรื่องที่สังคมควรได้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเต็มที่ และตนกลับไม่เคยคิดจะแถลงชี้แจงหรือตอบคำถามให้ชัดเจน)
เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญจะมีมาตรการกำหนดให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ต้องนำกฎหมายทั้งหมดที่ตราขึ้นโดยผู้กระทำรัฐประหารในอดีตมาทบทวน ยกเลิก หรือแก้ไขอย่างเป็นระบบ?
เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญจะมีมาตรการกำหนดให้ฝ่ายตุลาการต้องร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูประบบยุติธรรม ต้องร่วมสำรวจปัญหา และร่วมเสนอแนวทางแก้ไข มิใช่ก้มมองกรรมการปฏิรูปแต่ละชุดแล้วเปล่งร้องความเป็นอิสระจากหอคอยที่นับวันประชาชนปีนถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ?
* * *
หากกระแสความเศร้าใจต่อ “อากง” ในวันนี้ ถูกนำเสนออย่างแบนราบไปในโทนเดียว ว่าเป็นเรื่องของคนที่ทุกข์อยู่กลุ่มเดียว ในวาระเดียว และก็ถูกตอบโต้ไปมาเช่นนี้ต่อไป น่ากังวลเหลือเกินว่า “อากง” ทั้งหลายที่ยังไม่ตาย ก็คงจะต้องตายตาม “อากง” ไปในเร็ววัน
อากง is dead, long live อากง (?)
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat.pariyawong
“อากง” ที่ตายแล้ว คือ “นายอำพล” แต่ “อากง” ที่ยังไม่ตาย คือ “เหยื่ออยุติธรรม” อีกหลายราย ในสังคมไทย
คำถามที่ต้องไม่ลืม คือ เมื่อ “อากง” ตายแล้ว “อากง” อื่นจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้หรือไม่?
ผู้เขียนขอชักชวนทุกฝ่าย ทั้งที่เป็นทุกข์ เป็นสุข ปล่อยวาง หรือไร้ความรู้สึก ต่อทั้ง “อากง” ที่ตายแล้ว และทั้ง “อากง” ที่อาจกำลังจะตาย ให้ช่วยกันคิดถึงประเด็นต่อไปนี้ร่วมกัน
* * *
1. ภาพ “อากง” ไม่ได้แบนราบ และไม่ได้ฉาบด้วยสีเดียว
การที่ผู้ใด “เศร้าใจ” หรือ “ไม่พอใจ” กับความตายของ “อากง” นั้น มิได้ต้องแปลว่า ผู้นั้นต้องการให้ยกเลิก มาตรา 112 ไปเลย หรือให้ไปบัญญัติใหม่เหมือนที่ใครเสนอ
ในทางตรงกันข้าม ผู้นั้นอาจเพียงอาจไม่พอใจกับ “ความอยุติธรรม” ที่เกิดขึ้น ซึ่งความอยุติธรรมนั้น อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับ มาตรา 112 เลยก็เป็นได้
บางคนอาจไม่ได้รู้สึกอะไรมากไปกว่า “สงสาร” หรือ “เห็นใจ” ชาวไทยคนหนึ่งที่เจ็บป่วยและชรา แล้วต้องมาตายในคุกในขณะสู้คดี และสังเวชกับชะตากรรมของคนไทย ที่แม้จะอยู่ในประเทศที่มีโรงพยาบาลและสปาที่หรูหราขึ้นชื่อมากที่สุดของโลก แต่คนไทยหลายคนเมื่อชราเจ็บป่วย กลับไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ไม่ว่าจะในคุก หรือนอกคุก
บางคนอาจไม่ติดใจอะไรเลยกับ มาตรา 112 (อาจสนับสนุนการคงมาตรา 112 ไว้เสียด้วยซ้ำ) แต่ที่เศร้าก็เพราะเศร้ากับปัญหาการตีความ “สิทธิการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (7) ว่าหลักประกันขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญของประชาชน ได้ถูกลดค่าให้เป็นเพียงข้อยกเว้นในกฎหมายลำดับรองที่ครอบครองโดยดุลพินิจตุลาการหรือไม่?
ยิ่งไปกว่านั้น บางคนอาจอาลัย “อากง” เพราะเศร้าเสียดายจังหวะจุดเปลี่ยนของสังคม โดยรอลุ้นว่าหากคดีอากงไปถึงศาลฎีกา บรรดาผู้พิพากษาจะใช้โอกาสนี้ตีความ มาตรา 112 ให้หลักแหลม ลึกซึ้ง แยบยล และสอดคล้องกับยุคสมัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่สังคม และบรรเทาความลำบากพระราชหฤทัยที่บรรดาตุลาการล้วนทราบชัดแจ้งตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2548 เป็นต้นมา โดยไม่ต้องไปแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 112 เลยได้หรือไม่?
(ผู้เขียนเองเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวทางการยกเลิกแก้ไข มาตรา 112 ที่นิติราษฎร์ คิด และ ครก. 112 ดำเนินการว่า ถูกต้องและรอบคอบดีแล้วหรือไม่ พร้อมเสนอแนวคิดทางเลือกให้ “สถาบันตุลาการ” ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาของสังคมโดยการวางหลักการตีความ มาตรา 112 เสียใหม่ให้สมเจตนารมณ์ รายละเอียดโปรดดูที่ http://on.fb.me/ISKAWY )
ดังนั้น เมื่อความเศร้าต่อ “อากง” คือ ความสลดต่อความอยุติธรรม และเมื่อความอยุติธรรมไม่ได้แบนราบ และไม่ได้ฉาบด้วยสีเดียว เราจึงต้องคิดกันให้หนักว่า จะทำอย่างไร ไม่ให้ใครหลงคิดไปว่า ผู้ที่เศร้าต่อ “อากง” คือผู้ผูกขาดร่างทรงของความดีงามหรือความชั่วร้ายของ มาตรา 112 หรือเรื่องอื่นเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวเสมอไป
2. ผู้ที่ห่วงใย “อากง” ต้องมองให้ไกลไปกว่า ครก. 112 หรือ มาตรา 112
แม้ผู้เขียนอาจมีมุมมองเรื่อง มาตรา 112 ที่ต่างไป แต่ก็ชื่นชมความดีของ ครก. 112 ในฐานะผู้ที่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่เมื่อบัดนี้ระยะเวลา 112 วัน ของการรวบรวมรายชื่อเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายแก้ไข มาตรา 112 ได้ผ่านไปแล้ว และยังไม่ชัดเจนว่าการดำเนินการจะสิ้นสุดลงอย่างไร จึงน่าคิดว่า ยังมีกระบวนการอื่นใดหรือไม่ ที่ประชาชนโดยทั่วไปอาจร่วมผลักดันเพื่อฝากความหวังเรื่อง “อากง” ไว้ได้?
ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวซ้ำถึงความล้มเหลวของรัฐบาล พรรคการเมือง และผู้พิพากษาอีก แต่จะขอชักชวนให้เราช่วยกันคิดถึงหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อกรณี “อากง” ไม่น้อย แต่อาจถูกกล่าวถึงน้อยไปหน่อย ซึ่งก็คือ “คู่แฝดที่ยังไม่ทันเกิด” ของ “คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย” ที่มีชื่อว่า “คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ”
คณะกรรมการดังกล่าว เป็นกลไกสำคัญที่ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 (4) ซึ่งมาตรา 303 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้รัฐบาลของคุณสมัครผู้ล่วงลับต้องตั้งให้มาปฎิรูป “กระบวนการยุติธรรม” ไปตั้งแต่หลายปีที่แล้ว แต่เสียดายคุณสมัครกลับถูก “กระบวนการยุติธรรม” พลิกพจนานุกรมปฏิรูปไปเสียก่อน และรัฐบาลชุดต่อมา ก็ยังตั้งไม่สำเร็จ
“คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ” ที่ว่า หากตั้งสำเร็จแล้ว ย่อมมีบทบาทสำคัญในการเสนอแผนการเพื่อตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง “อากง” อาทิ การพิสูจน์พยานหลักฐานในศาลไทยเป็นธรรมหรือไม่ เหตุใดจึงจำเลยหลายรายจึงไม่ได้รับการประกันตัวไปรักษาอาการเจ็บป่วย และรัฐจะดำเนินการช่วยเหลือ “อากง” คนอื่นๆ ให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร เป็นต้น
สิ่งที่น่าคิดก็คือ ขณะนี้การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ค้างอยู่ในสภา (โปรดดู http://bit.ly/KNZmew) จึงน่าคิดต่อว่า ที่มา โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และวิธีการทำงานของคณะกรรมการที่ว่านั้น จะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ห่วงใยหรือเศร้าใจต่อกรณี “อากง” ได้มีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือคณะกรรมการที่ว่าจะเป็นเพียงท่านผู้ใหญ่กลุ่มเดิมที่เคยได้แต่มอง “อากง” มา แล้วก็ไป?
3. โปรดอย่าลืมนึกถึง “อากง” ในวันเลือกตั้ง
อีกไม่นานเกินลืม เรา ประชาชน คงได้มีโอกาสไปเข้าคูหาหย่อนบัตรเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเราและสื่อมวลชน ต้องช่วยกันทวงถามผู้สมัครที่ขอคะแนนเสียงของเรา ให้ช่วยตอบให้ชัดถ้อยชัดคำว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ใส่ใจกับ “อากง” ในสังคมไทยอย่างไร?
เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญจะเพิ่มบทบัญญัติที่คุ้มครองพวกเราว่า บุคคลไม่อาจถูกจำคุกได้ด้วยเหตุที่ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่ใช้อำนาจสาธารณะในเรื่องการใช้อำนาจที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ว่าในกรณีใด?
(เลิกเสียเถิด นักการเมือง หรือแม้แต่ตุลาการที่ฟ้องคดีแล้วใช้โทษอาญามาบีบบังคับให้ผู้อื่นลงโฆษณาขอขมาต่อตน ทั้งที่เรื่องที่ตนถูกกล่าวหาก็เป็นเรื่องที่สังคมควรได้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเต็มที่ และตนกลับไม่เคยคิดจะแถลงชี้แจงหรือตอบคำถามให้ชัดเจน)
เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญจะมีมาตรการกำหนดให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ต้องนำกฎหมายทั้งหมดที่ตราขึ้นโดยผู้กระทำรัฐประหารในอดีตมาทบทวน ยกเลิก หรือแก้ไขอย่างเป็นระบบ?
เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญจะมีมาตรการกำหนดให้ฝ่ายตุลาการต้องร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูประบบยุติธรรม ต้องร่วมสำรวจปัญหา และร่วมเสนอแนวทางแก้ไข มิใช่ก้มมองกรรมการปฏิรูปแต่ละชุดแล้วเปล่งร้องความเป็นอิสระจากหอคอยที่นับวันประชาชนปีนถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ?
* * *
หากกระแสความเศร้าใจต่อ “อากง” ในวันนี้ ถูกนำเสนออย่างแบนราบไปในโทนเดียว ว่าเป็นเรื่องของคนที่ทุกข์อยู่กลุ่มเดียว ในวาระเดียว และก็ถูกตอบโต้ไปมาเช่นนี้ต่อไป น่ากังวลเหลือเกินว่า “อากง” ทั้งหลายที่ยังไม่ตาย ก็คงจะต้องตายตาม “อากง” ไปในเร็ววัน
อากง is dead, long live อากง (?)