นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวในการสัมมนา โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากระบบรถไฟที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค ว่า ไทยมีศักยภาพที่เหมาะสมในด้านความเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเป็นทางออกสู่ทะเลให้กับประเทศลาว และมณฑลจีนตอนใต้ โดยอาศัยไทยเป็นช่องทางผ่านไปท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือหลักที่ประเทศสิงคโปร์
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีแนวคิดจะสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ -เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร มูลค่า 229,000 ล้านบาท กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร มูลค่า 201,000 ล้านบาทกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร มูลค่า 72,000 ล้านบาท และ กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 982 กิโลเมตร มูลค่า 297,000 ล้านบาท
โดยผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอ พบว่า หากมีการลงทุนก่อสร้างแล้ว จะทำให้การค้าระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านผ่านการขนส่งทางบกมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยจะพบว่าการค้าระหว่างไทย-ลาว จะมีสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะด่านหนองคาย มีแนวโน้มที่การค้าจะสูงถึง 150,000 ล้านบาท ในปี 2556 และด่านเชียงแสน ซึ่งเชื่อมต่อมาจากจีนตอนใต้ มีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ในปี 2564 ขณะเดียวกันจะกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเส้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผลการศึกษาจากเส้นทางกรุงเทพฯ- เชียงใหม่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 7 ล้านคนต่อปี หากมีการนำโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงมาใช้ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะสามารถแบ่งสัดส่วนจำนวนผู้โดยสารจากการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ได้ถึงร้อยละ 32.08 รวมถึงต้นทุนการขนส่งจะลดลงร้อยละ 10 -20 ในปี 2564
อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้นจึงต้องศึกษาความเป็นไปได้อย่างละเอียด และต้นทุนการก่อสร้างจะต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ เช่น ในประเทศเกาหลีใต้ รัฐจะเป็นผู้ก่อสร้าง และให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ คือ รูปแบบ PPP โดยเอกชนรับผลประโยชน์จากการลงทุน และรัฐรับประโยชน์จากเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีแนวคิดจะสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ -เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร มูลค่า 229,000 ล้านบาท กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร มูลค่า 201,000 ล้านบาทกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร มูลค่า 72,000 ล้านบาท และ กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 982 กิโลเมตร มูลค่า 297,000 ล้านบาท
โดยผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอ พบว่า หากมีการลงทุนก่อสร้างแล้ว จะทำให้การค้าระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านผ่านการขนส่งทางบกมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยจะพบว่าการค้าระหว่างไทย-ลาว จะมีสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะด่านหนองคาย มีแนวโน้มที่การค้าจะสูงถึง 150,000 ล้านบาท ในปี 2556 และด่านเชียงแสน ซึ่งเชื่อมต่อมาจากจีนตอนใต้ มีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ในปี 2564 ขณะเดียวกันจะกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเส้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผลการศึกษาจากเส้นทางกรุงเทพฯ- เชียงใหม่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 7 ล้านคนต่อปี หากมีการนำโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงมาใช้ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะสามารถแบ่งสัดส่วนจำนวนผู้โดยสารจากการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ได้ถึงร้อยละ 32.08 รวมถึงต้นทุนการขนส่งจะลดลงร้อยละ 10 -20 ในปี 2564
อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้นจึงต้องศึกษาความเป็นไปได้อย่างละเอียด และต้นทุนการก่อสร้างจะต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ เช่น ในประเทศเกาหลีใต้ รัฐจะเป็นผู้ก่อสร้าง และให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ คือ รูปแบบ PPP โดยเอกชนรับผลประโยชน์จากการลงทุน และรัฐรับประโยชน์จากเศรษฐกิจและสังคม