นายพิจิตรพงศ์ สุนทรพิพิธ นักวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยงานวิจัย เรื่อง ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งพบว่ามีการลักลอบจำหน่ายบนหน้าเว็บไซต์มานานกว่า 5 ปี โดยล่าสุด เดือนมีนาคม 2555 ตรวจพบเว็บไซต์ที่ลักลอบขายบุหรี่จำนวน 630 เว็บไซต์ ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ในไทยที่ประกาศขายบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีการแต่งรสและกลิ่นเพื่อจูงใจวัยรุ่น รวมถึงอุปกรณ์ในการสูบ บารากู่ ส่วนใหญ่พบเว็บไซต์ชอปปิงออนไลน์ เว็บไซต์ขายตรง และเว็บไซต์ประเภทโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ลูกค้ากลุ่มหลักเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการทำโปรโมชันลด แลก แจก แถมสินค้า ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย และพบผู้จำหน่ายในเว็บไซต์บางคนที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงนำสินค้ามาจำหน่ายในราคาถูก
ล่าสุด ทีมคณะวิจัยนำข้อมูลดังกล่าวมอบให้กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการเอาผิด ขณะนี้สามารถปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายได้แล้ว 200 เว็บไซต์ จากทั้งหมด 630 เว็บไซต์ หรือร้อยละ 27
นายแพทย์หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การลักลอบขายบุหรี่ในหน้าเว็บไซต์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของไทยเพิ่มสูงขึ้น เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
การจำหน่ายบุหรี่ตามเว็บไซต์เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะไม่มีคำเตือนบนซอง ราคาถูก และไม่ผ่านการเสียภาษี แม้จะมีบทลงโทษรุนแรง ปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่ก็ยังมีการลักลอบซื้อขาย ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุข และการคลังของประเทศ เช่นที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ร้อยละ 93.6 ของเยาวชน สามารถซื้อบุหรี่จากอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สูญเสียภาษีที่พึงได้มากถึงปีละ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการควบคุม จึงเสนอให้มีระบบตรวจสอบเพื่อยึดของกลางและทำลายบุหรี่ที่มีการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ทำข้อตกลงกับบริษัทบัตรเครดิต ไม่รับการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตเพื่อซื้อขายบุหรี่ สั่งให้ไปรษณีย์งดการรับส่งบุหรี่ และออกกฎหมายควบคุมการจำหน่ายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการทำโปรโมชันลด แลก แจก แถมสินค้า ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย และพบผู้จำหน่ายในเว็บไซต์บางคนที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงนำสินค้ามาจำหน่ายในราคาถูก
ล่าสุด ทีมคณะวิจัยนำข้อมูลดังกล่าวมอบให้กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการเอาผิด ขณะนี้สามารถปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายได้แล้ว 200 เว็บไซต์ จากทั้งหมด 630 เว็บไซต์ หรือร้อยละ 27
นายแพทย์หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การลักลอบขายบุหรี่ในหน้าเว็บไซต์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของไทยเพิ่มสูงขึ้น เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
การจำหน่ายบุหรี่ตามเว็บไซต์เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะไม่มีคำเตือนบนซอง ราคาถูก และไม่ผ่านการเสียภาษี แม้จะมีบทลงโทษรุนแรง ปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่ก็ยังมีการลักลอบซื้อขาย ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุข และการคลังของประเทศ เช่นที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ร้อยละ 93.6 ของเยาวชน สามารถซื้อบุหรี่จากอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สูญเสียภาษีที่พึงได้มากถึงปีละ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการควบคุม จึงเสนอให้มีระบบตรวจสอบเพื่อยึดของกลางและทำลายบุหรี่ที่มีการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ทำข้อตกลงกับบริษัทบัตรเครดิต ไม่รับการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตเพื่อซื้อขายบุหรี่ สั่งให้ไปรษณีย์งดการรับส่งบุหรี่ และออกกฎหมายควบคุมการจำหน่ายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม