“หมอประกิต” เตือนผู้ที่สูบบารากู่ อาจติดเชื้อโรคจากกรรมวิธีการสูบที่ใช้อุปกรณ์สูบร่วมกันในเวลาที่จับกลุ่มเวียนเทียนสูบกัน
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า โดยที่ปรากฏว่าขณะนี้วัยรุ่น และหนุ่มสาวนักศึกษาไทยมีการสูบบารากู่กันอย่างแพร่หลาย โดยจะเห็นว่า มีอุปกรณ์สูบบารากู่วางขายอยู่ทั่วไป ทั้งที่ยาเส้นหมักที่ใช้ในการสูบยังเป็นสิ่งที่ห้ามนำเข้าจำหน่ายในประเทศไทย การวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่มพบว่านิสิตที่สูบบารากู่เกือบครึ่งหนึ่งเข้าใจว่าการสูบบารากู่ไม่มีอันตรายหรือมีอันตรายน้อย เนื่องจากเป็นการเผาไหม้กากผลไม้ ควันที่เผาไหม้มีกลิ่นหอมและอุปกรณ์สูบที่ทำให้ควันผ่านกระเปาะน้ำก่อนถูกสูดเข้าสู่ร่างกาย
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การสูบบารากู่ทำให้เกิดการเสพติด และมีอันตรายไม่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ เนื่องจากมียาเส้นเป็นส่วนผสมกับกากผลไม้ ควันจากการสูบบารากู่ จึงมีสารก่อมะเร็งและสารพิษอื่นเช่นเดียวกับควันบุหรี่ และความจริงที่คนทั่วไปต้องรู้คือ การสูดควันที่เผาไหม้จากสิ่งใดๆ ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากสูดเข้าสู่ปอด
“ที่สำคัญ คือ กรรมวิธีการสูบบารากู่ที่นิยมใช้หลอดสูบเดียวร่วมกันหลายๆ คน สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัสและเชื้อวัณโรคจากปากและน้ำลายของผู้สูบคนหนึ่งไปยังผู้สูบอีกหลายๆ คนได้ โดยเฉพาะร้านบริการที่ให้สูบบารากู่ไม่ได้ทำความสะอาดปากหลอดสูบบารากู่อย่างสม่ำเสมอถูกวิธี เชื้อโรคจะสะสมที่ปลายหลอดสูบและแพร่ไปสู่ผู้สูบได้”ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า โดยที่ปรากฏว่าขณะนี้วัยรุ่น และหนุ่มสาวนักศึกษาไทยมีการสูบบารากู่กันอย่างแพร่หลาย โดยจะเห็นว่า มีอุปกรณ์สูบบารากู่วางขายอยู่ทั่วไป ทั้งที่ยาเส้นหมักที่ใช้ในการสูบยังเป็นสิ่งที่ห้ามนำเข้าจำหน่ายในประเทศไทย การวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่มพบว่านิสิตที่สูบบารากู่เกือบครึ่งหนึ่งเข้าใจว่าการสูบบารากู่ไม่มีอันตรายหรือมีอันตรายน้อย เนื่องจากเป็นการเผาไหม้กากผลไม้ ควันที่เผาไหม้มีกลิ่นหอมและอุปกรณ์สูบที่ทำให้ควันผ่านกระเปาะน้ำก่อนถูกสูดเข้าสู่ร่างกาย
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การสูบบารากู่ทำให้เกิดการเสพติด และมีอันตรายไม่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ เนื่องจากมียาเส้นเป็นส่วนผสมกับกากผลไม้ ควันจากการสูบบารากู่ จึงมีสารก่อมะเร็งและสารพิษอื่นเช่นเดียวกับควันบุหรี่ และความจริงที่คนทั่วไปต้องรู้คือ การสูดควันที่เผาไหม้จากสิ่งใดๆ ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากสูดเข้าสู่ปอด
“ที่สำคัญ คือ กรรมวิธีการสูบบารากู่ที่นิยมใช้หลอดสูบเดียวร่วมกันหลายๆ คน สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัสและเชื้อวัณโรคจากปากและน้ำลายของผู้สูบคนหนึ่งไปยังผู้สูบอีกหลายๆ คนได้ โดยเฉพาะร้านบริการที่ให้สูบบารากู่ไม่ได้ทำความสะอาดปากหลอดสูบบารากู่อย่างสม่ำเสมอถูกวิธี เชื้อโรคจะสะสมที่ปลายหลอดสูบและแพร่ไปสู่ผู้สูบได้”ศ.นพ.ประกิต กล่าว