กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ วางแผนสร้างเครื่องบินขับไล่รุ่น เอฟ-35 เพื่อให้เป็นอากาศยานสุดยอดเทคโนโลยีซึ่งมีระดับราคาที่พอจะจ่ายกันไหว จุดโดดเด่นที่สุดและทะเยอทะยานที่สุดของแผนการนี้ก็คือ มันจะเป็นเครื่องบินรบที่กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, และกองทัพนาวิกโยธินอเมริกัน สามารถนำไปใช้งานได้หมด และฝูงบินสู้รบของสหรัฐฯส่วนใหญ่ จะเปลี่ยนไปเป็น เอฟ-35 เวอร์ชั่นต่างๆ ภายในสิ้นทศวรรษนี้ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคกลับถาโถมเข้ามามากมายและแสนสาหัส ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนักหน่วงทางวิศวกรรม, ความล่าช้าในการลงมือผลิต, และราคาที่พุ่งโด่งโลดลิ่ว
เอฟ-35เครื่องบินขับไล่ชนิดเครื่องยนต์เดี่ยว ถือเป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ 5 เนื่องจากมีระบบซอฟต์แวร์อันล้ำสมัย บวกกับเทคโนโลยี “สเตลท์” ที่สามารถหลบหลีกเรดาร์ในดินแดนของศัตรูได้
แสนยานุภาพทางทหารของจีนเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ มักใช้เป็นเหตุสนับสนุนการจัดซื้ออากาศยานไฮเทค ขณะที่ปักกิ่งเองก็กำลังซุ่มพัฒนาเครื่องบินรบสเตลท์รุ่นที่ 5 ของตนอยู่เช่นกัน
โครงการพัฒนา เอฟ-35 มีเป้าหมายที่จะผลิตเครื่องบินรบสำหรับกองทัพสหรัฐฯจำนวน 2,443 ลำ และอีกหลายร้อยลำสำหรับอีก 8 ชาติที่ร่วมลงทุน รวมถึงลูกค้าอีก 2 ราย คือ ญี่ปุ่น กับ อิสราเอล
8 ประเทศ ที่ร่วมลงขันพัฒนา เอฟ-35 ได้แก่ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, แคนาดา, เดนมาร์ก, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์ และตุรกี
เอฟ-35เครื่องบินขับไล่ชนิดเครื่องยนต์เดี่ยว ถือเป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ 5 เนื่องจากมีระบบซอฟต์แวร์อันล้ำสมัย บวกกับเทคโนโลยี “สเตลท์” ที่สามารถหลบหลีกเรดาร์ในดินแดนของศัตรูได้
แสนยานุภาพทางทหารของจีนเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ มักใช้เป็นเหตุสนับสนุนการจัดซื้ออากาศยานไฮเทค ขณะที่ปักกิ่งเองก็กำลังซุ่มพัฒนาเครื่องบินรบสเตลท์รุ่นที่ 5 ของตนอยู่เช่นกัน
โครงการพัฒนา เอฟ-35 มีเป้าหมายที่จะผลิตเครื่องบินรบสำหรับกองทัพสหรัฐฯจำนวน 2,443 ลำ และอีกหลายร้อยลำสำหรับอีก 8 ชาติที่ร่วมลงทุน รวมถึงลูกค้าอีก 2 ราย คือ ญี่ปุ่น กับ อิสราเอล
8 ประเทศ ที่ร่วมลงขันพัฒนา เอฟ-35 ได้แก่ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, แคนาดา, เดนมาร์ก, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์ และตุรกี